บริษัท เอนเนอยี รีคอฟเวอรี่ ยูนิต จำกัด
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
บริษัท เอนเนอยี รีคอฟเวอรี่ ยูนิต จำกัด
   โรงไฟฟ้าศรีราชา
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าศรีราชา
   ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 1
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง ประเทศไทย
ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 1
   ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 2
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
บริเวณใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล จังหวัดระยอง ประเทศไทย
ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 2
   ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 3
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง ประเทศไทย
ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 3
   ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 4
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยอง ประเทศไทย
ศูนย์ผลิตสาธารณูปการแห่งที่ 4
   โรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี
   โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน
   โรงงานผลิตไอน้ำและน้ำโกลว์ พลังงาน โครงการระยะที่ 1
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย
โรงงานผลิตไอน้ำและน้ำโกลว์ พลังงานโครงการระยะที่ 1

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่น บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC หนึ่งในผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม และสาธารณูปโภคอื่น ๆให้กับหน่วยงานภาครัฐและลูกค้าอุตสาหกรรม ซึ่งโรงไฟฟ้าของเราเป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานร่วมที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าควบคู่กับการผลิตพลังงานความร้อน อาทิ ไอน้ำ น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยการผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนนั้นจะอาศัยแหล่งเชื้อเพลิงแหล่งเดียวกัน ทำให้ GPSC สามารถยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานและลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน GPSC มีโรงงานไฟฟ้าความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังงานความร้อนที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า 4,467 เมกะวัตต์ต่อปี ไอน้ำ 2,946 ตันต่อชั่วโมง น้ำเย็น 15,400 ตันความเย็นต่อชั่วโมง และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม 7,372 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อนำพลังงานและผลผลิตที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าประเภทพลังความร้อนร่วมนี้ไปจำหน่ายให้แก่คู่ค้าและคู่สัญญาที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญาไว้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งในแรงขับเคลื่อนและสนับสนุนสำคัญสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่นในประเทศไทย

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่น

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่น เป็นการทำงานของระบบสองระบบร่วมกัน คือ การนำเทคโนโลยีของระบบของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซมาใช้ร่วมกับระบบของโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยมีหลักการทำงาน คือ การนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ (Gas Turbine) ซึ่งมีความร้อนสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียสไปผ่านหม้อน้ำ (Heat Recovery Steam Generator: HRSG) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ และสามารถขับกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) ที่ต่อตรงไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้า ด้วยการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีทั้งสองระบบจึงทำให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่นมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้อย่างมาก และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

รูปแบบของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่น

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่นมีระบบและความสามารถในผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับระบบพลังงานอื่น ๆ ตามประเภทของโรงไฟฟ้าดังนี้

  • ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)

    ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดกังหันไอน้ำประกอบไปด้วยหม้อไอน้ำและเครื่องกังหันไอน้ำ โดยใช้เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลิงแข็ง หรือก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต โดยที่เชื้อเพลิงจะถูกนำเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อให้เกิดความร้อนแก่น้ำที่อยู่ในหม้อไอน้ำ ซึ่งจะทำให้ได้ไอน้ำยวดยิ่ง (Superheat Steam) ที่มีอุณหภูมิและความดันสูง โดยไอน้ำเหล่านี้จะไปขับเคลื่อนเพลาของเครื่องกังหันไอน้ำ ทำให้สามารถนำไปขับเคลื่อนเครื่องมือกลต่าง ๆ หรือขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า และไอน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตก็ยังสามารถนำไปใช้ในขบวนการผลิตต่อไปได้อีก
  • ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดกังหันก๊าซ (Gas Turbine)

    ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดกังหันก๊าซเป็นระบบที่ใช้คอมเพรสเซอร์อัดอากาศจากภายนอกและนำเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยเชื้อเพลิงที่ถูกฉีดเข้ามาจะผสมกับอากาศและจุดระเบิด ทำให้เกิดก๊าซร้อนจากการเผาไหม้ที่จะขยายตัวผ่านเครื่องกังหันก๊าซ ทำให้กังหันก๊าซหมุน และแกนของเครื่องกังหันก๊าซจะไปขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับก๊าซที่ปล่อยออกจากกังหันก๊าซจะมีอุณหภูมิประมาณ 450–550 องศาเซลเซียส ซึ่งก๊าซร้อนเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งให้ความร้อนต่อไปได้
  • ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine)

    ระบบผลิตพลังงานร่วมชนิดเครื่องยนต์สันดาปภายในแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามประเภทของเครื่องยนต์ คือ เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ (Spark-Ignition Engine) และเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดตัว (Compression Ignition Engine) ความแตกต่างของเครื่องยนต์ทั้ง 2 ชนิดนี้คือประเภทของเชื้อเพลิง โดยเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟนั้นใช้ของเหลวหรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ส่วนเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดตัวใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง และจะได้พลังงานความร้อนออกมาในรูปแบบของก๊าซไอเสีย ซึ่งการนำพลังงานความร้อนไปใช้อาจใช้คู่กับหม้อไอน้ำความร้อนทิ้ง (Waste Heat Boiler) ในการผลิตไอน้ำหรือน้ำร้อนสำหรับขับกังหันก๊าซเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่น GPSC

ปัจจุบัน GPSC มีการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โคเจนเนอเรชั่นในเชิงพาณิชย์ ดังนี้

Ref: