แนวทางการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
GRI 3-3, 203-1, 203-2

จีพีเอสซี ตระหนักถึงแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีและพลังงานตามหลัก 4D1E ซึ่งประกอบด้วย Decentralization Decarbonization Digitalization Deregulation และ Electrification ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบรวมศูนย์ (Centralized Power System) ให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวไม่รวมศูนย์ (Decentralized Power System) มากขึ้นในอนาคต ประกอบกับแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ที่เพิ่มขึ้นสูง จีพีเอสซี เตรียมความพร้อมและวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ โดยตั้งงบประมาณการลงทุนที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสร้างผลตอบแทนจากธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต โดยมีกลยุทธ์ “S-Curve” ที่เป็นกลยุทธ์หลักในการสนับสนุนให้องค์กรขับเคลื่อนผ่านนวัตกรรมไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานตลอดจนการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจมากขึ้นในอนาคต

Decentralization
Decarbonization
Digitalization
Convergence

Decentralization

การกระจายศูนย์รวมของระบบผลิตพลังงานจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่สู่ขนาดเล็ก สามารถซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันได้ ส่งผลให้เกิดการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวมากขึ้นในรูปแบบของ Microgrid เพื่อใช้งานในระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) เกิดการเปลี่ยนผ่านจาก Consumer เป็น Prosumer ซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยสามารถเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไปด้วยในตัว โดยการผลิตไฟฟ้าจะใช้พลังงานหมุนเวียน และอาจจะควบคู่ไปกับ Energy Storage ด้วย โดยการสามารประยุกต์การใช้พลังงานหมุนเวียนมาใช้เพิ่มเติม อาทิ การใช้โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop)

Decarbonization

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานสู่การใช้พลังงานสะอาดและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ หรือชีวมวล ล้วนสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) และ Hydrogen เป็นต้น ทั้งยังสนับสนุนความตกลงปารีสและเจตนารมณ์ของประเทศจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงภายในปี 2573 ให้บรรลุ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

Digitalization

การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในระบบการผลิตและจำหน่าย ลดระยะเวลาและต้นทุน การซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to Peer Trading หรือการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างอาคารได้ รวมไปถึงการพัฒนา Smart Buildings เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รวมถึงสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเทคโนโลยี เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

Convergence

การลดข้อจำกัดของการเข้าสู่ธุรกิจไฟฟ้า โดยเปิดการซื้อขายเสรีด้านพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจไฟฟ้าทั้งจากผู้ประกอบการรายเดิม รวมถึงผู้ประกอบการรายใหม่ ทำให้การกระจายการผลิตและการซื้อขายไฟฟ้าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ 4S (4S strategy) ประกอบด้วย กลยุทธ์ S1 (Strengthen and Expand the Core) ที่ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักของบริษัทฯ กลยุทธ์ S2 (Scale-up Green Energy) ที่มุ่งเน้นการขยายการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด กลยุทธ์ S3 (S-curve & Batteries) ที่มุ่งเน้นการลงทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่และธุรกิจเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลยุทธ์ S4 (Shift to Customer-Centric Solutions) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานตามบริบทของลูกค้า โดยกลยุทธ์ S3 และ S4 นั้น เป็นกลไกหลักที่ขับเคลื่อนบริษัทฯ สู่การเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าชั้นนำด้านนวัตกรรมและยังสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางนวัตกรรม เทคโนโลยีและพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ S3: S-Curve & Batteries

คือการพัฒนานวัตกรรมพลังงานและธุรกิจแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน การพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าและยานพาหนะอื่นๆ รวมถึงการต่อยอดธุรกิจเชิงนวัตกรรม ที่จะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมพลังงานของบริษัทฯ กลยุทธ์นี้ส่งเสริมการสร้างรายได้จากธุรกิจที่เป็น New S-curve ที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมกับพันธมิตรในการผลักดันธุรกิจหน่วยกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) รวมไปถึงการเป็นผู้ให้บริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจแบตเตอรี่

นอกจากนี้บริษัทฯยังให้ความสำคัญกับธุรกิจ New S-curve อื่น ๆ ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อภาคการผลิตไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต ได้แก่ ธุรกิจพลังงานดิจิทัล ธุรกิจพลังงานไฮโดรเจน และ การกักเก็บและใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage) เป็นต้น

การร่วมมือเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม
GRI 203-1

บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงพาณิชย์จากนวัตกรรม และเล็งเห็นโอกาสของนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ที่จะเป็นช่องทางในการเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด รวมถึงประสบการณ์จากภายนอกองค์กร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันและยกระดับนวัตกรรมพลังงาน บริษัทฯ มุ่งเน้นการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมผ่านความร่วมมือต่าง ๆ โดยมีโครงการดังนี้

การพัฒนาโซล่าลอยน้ำทะเลแห่งแรกในประเทศไทย (G-Float)

การร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงการนำร่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล (Floating Solar) หรือ G-Float โดยร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มปตท.และบริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) ซึ่งเป็นนวัตกรรมทุ่นโซลาร์ลอยน้ำเชิงพาณิชย์ที่รองรับกลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนในองค์กร

G-Float ถูกออกแบบให้มีจุดเด่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้นวัตกรรมเม็ดพลาสติก (High Density Polyethylene หรือ โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง) ที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาทิ ความยืดหยุ่น แข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังลดการสะสมของเพรียงทะเล และไม่เป็นพิษต่อสัตว์ทะเล G-Float สามารถติดตั้งได้สะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการบำรุงรักษา รองรับการติดตั้งแผงโซลาร์ขนาดมาตรฐานจนถึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากขึ้น และมีอายุการใช้งานของวัสดุยาวนานถึง 25 ปี ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

ประโยชน์เชิงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • เพิ่มอายุการใช้งานเป็น 25 ปี
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าผ่านการใช้วัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีขึ้น
ประโยชน์เชิงการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่าย
  • ประหยัดค่าไฟฟ้าลง 390,000 บาท (ติดตั้ง 100 กิโลวัตต์)
  • สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ตลอดอายุการใช้งานเท่ากับ 7.8 ล้านบาท
ประโยชน์เชิงทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม
  • สร้างโอกาสให้พนักงานของบริษัทฯ ขยายขีดความสามารถ เพิ่มทักษะ และประสบการณ์ด้านระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำทะเล
ประโยชน์อื่นๆ
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 36 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และกว่า 725 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าตลอดอายุการใช้งาน
  • เม็ดพลาสติกที่นำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล (ได้รับการยืนยันโดยสำนักงานอาหาร และยาประเทศสหรัฐอเมริกา)
  • สามารถเป็นตัวอย่างกรณีศึกษา เพื่อการเรียนรู้สำหรับชุมชนที่สนใจเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์
โครงการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อเป็นชุมชนต้นแบบในสถาบันวิทยสิริเมธี(Smart Energy Community at Vidyasirimedhi Institute Of Science And Technology; VISTEC)

การร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการการศึกษาพัฒนาระบบจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดที่ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ณ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) โดยบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางพลังงานใหม่ๆ เพื่อใช้ศึกษาเป็นแนวทางในการต่อยอดและใช้งานได้จริงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอย่างมีเสถียรภาพ (Solar Rooftop และ Solar Floating) การใช้ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบพลังงานหมุนเวียน การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาวิเคราะห์การผลิต จัดเก็บ และส่งกระแสไฟฟ้า ตลอดจนการประยุกต์ใช้ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ (Blockchain) เพื่อให้แต่ละอาคารสามารถซื้อขายไฟแบบเชื่อมต่อโครงข่ายโดยตรง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (Peer - to - Peer: P2P) ซึ่งสามารถทำธุรกรรมแบบดิจิทัล ที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าแบบอัตโนมัติ (Smart Contract) โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและแสดงผลการทำงานแบบตอบสนองทันที (Real Time) เป็นต้น

ประโยชน์เชิงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนภายในอาคารกว่าร้อยละ 38.5
ประโยชน์เชิงการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่าย
  • ได้รับรายได้จากการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 1.75 ล้านบาท ในระยะแรก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.16 ล้านบาทในปี 2564 รวมเป็น 5.8 ล้านบาท
ประโยชน์เชิงทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม
  • เสริมทักษะความรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ต่อยอดลงทุนในอนาคต
  • พนักงานบริษัทฯ สามารถเข้าถึงรูปแบบเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนดาดฟ้าอาคารและลอยน้ำ รวมถึงการใช้งานระบบกักเก็บไฟฟ้า
  • ตอบสนองนโยบายหลักของบริษัทฯ ที่ต้องการผลักดันการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง
  • ใช้เป็นกรณีศึกษาด้านนวัตกรรมของกลุ่มธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงการต่อยอดแนวทางการจัดการพลังงานที่หลากหลายในอนาคต
ประโยชน์อื่นๆ
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,211,306 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
  • จัดตั้งเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนสำหรับชุมชน
  • สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯ และชุมชนบริเวณใกล้เคียง
  • สนับสนุนให้นักศึกษาในสถาบัน VISTEC เข้าร่วมศึกษาเรียบรู้และทดลองใช้นวัตกรรม
นวัตกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต G-Cell Battery

บริษัทฯ ร่วมมือกับบริษัท 24M Technologies, Inc ที่มีความเชียวชาญด้านแบตเตอรี่ประเภทลิเทียม-ไอออน (Lithium-Ion) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ชนิด Semi-Solid ที่มีชื่อว่า G-Cell เพื่อรองรับการขยายตัวเชิงพาณิชย์ โดยมีความโดดเด่น คือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหรือมีวัฏจักรในการชาร์จใหม่ได้มากถึง 1000-10,000 ครั้ง และมีระยะเวลากักเก็บพลังงานไฟฟ้านานถึง 350 วันซึ่งมากกว่าแบตเตอรี่ลิเที่ยมทั่วไปถึง 1.2 เท่า แบตเตอรี่ นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมอุณหภูมิของตัวเองได้แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงเพื่อลดโอกาสการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในแบตเตอรี่ รวมถึงมีน้ำหนักเบาและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้สารยึดเกาะ (No binder) ส่งผลให้เซลล์แบตเตอรี่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ

G-Cell สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งแบบอยู่กับที่ (Stationary) และแบบเคลื่อนที่ (Mobile) ผ่านการดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ G-Pack และ G-Box รวมถึงรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เช่น ระบบสถานีชาร์จ ระบบโทรคมนาคมและ Data Center ที่ต้องการเสถียรภาพของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า

ประโยชน์เชิงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • สามารถลดเวลาในการผลิต และลดต้นทุนลงได้ร้อยละ 50
  • ลดการใช้สารเคลือบในชิ้นส่วนแบตเตอรี่ลงร้อยละ 30 ส่งผลให้แบตเตอรี่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น
ประโยชน์เชิงการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่าย
  • คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 2,500 ล้านบาทต่อปีจากผลิตภัณฑ์ G-Cell จากการคาดการณ์กำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์-ชั่วโมง
  • สร้างรายได้ประมาณ 3,000 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ในปี 2568
  • ลดค่าภาษีนำเข้าของระบบกักเก็บพลังงานจากต่างประเทศลง ร้อยละ 23
ประโยชน์เชิงทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม
  • สร้างทักษะให้พนักงานจากการร่วมศึกษาวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบกักเก็บพลังงานในระดับสากล
  • ยกระดับการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์อื่นๆ
  • แบตเตอรี่มีความปลอดภัยสูง สามารถควบคุมอุณหภูมิภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ผลิตโดยชิ้นส่วนที่ใช้สารเคลือบน้อยกว่าปกติร้อยละ 40 ส่งผลให้แบตเตอรี่สามารถนำไปรีไซเคิลง่ายขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
การร่วมมือเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ
นวัตกรรมและ
การจัดการ
ประเภทความร่วมมือ
ด้านนวัตกรรม
รายละเอียด กลยุทธ์ที่สอดคล้อง
Advanced Semi-Solid Battery Technology
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)
การร่วมมือเพื่อนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและวัสดุศาสตร์ของประเทศมาพัฒนาแบตเตอรี่ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้เป็นระบบกักเก็บพลังงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการของบริษัทฯ
  • S3: S-curve & Batteries
Application and Market Development
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
การสร้างความร่วมมือเพื่อนำแบตเตอรี่ต้นแบบไปทดสอบใช้งานในผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในอนาคต
  • S3: S-curve & Batteries
Smart Energy Campus
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในการพัฒนาโมเดลเมืองพลังงาน Micro Grid อัจฉริยะผ่านการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน กักเก็บ และจำหน่ายรวมถึงการซื้อขายระหว่างผู้ใช้งานรูปแบบเอกชนกับเอกชน (Private PPA)
  • S3: S-curve & Batteries
  • S4: Shift to Customer-Centric Solutions
Academic Resource Collaboration
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากภาคการศึกษามาร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมและบุคลากรของประเทศในการผลิตแบตเตอรี่ ลิเธียม-ไออนที่ยังขาดแคลน
  • S3: S-curve & Batteries
Battery Manufacturing Process Development
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
การร่วมมือเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตแบตเตอรี่ที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ต้นทุนต่ำ และมีระยะเวลาการผลิตสั้นเพื่อรองรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต
  • S3: S-curve & Batteries
Carbon Capture, Storage and Utilization (CCUS) Technology Development
ศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรมเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ อุตสาหกรรม และหน่วยงานรัฐ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ อันได้แก่
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานรัฐ
  • ตอบสนองต่อความกังวลสาธารณะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เร่งการพัฒนาเทคโนโลยี CCUS
ขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้งานจริง
  • S2: Scale-up Green energy
Carbon Capture and Storage (CCS) Technology Development
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
การศึกษาความเป็นไปได้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage, CCS) สำหรับสนับสนุนการลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ระยองและชลบุรี ซึ่งจะเป็นตัวแบบสำคัญต่อการขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS ในระดับประเทศ สู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
  • S2: Scale-up Green energy
การศึกษาวิจัยการจัดการแบตเตอรี่และแผงโซลาร์เซลล์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

จากแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานสู่โลกอนาคต เป็นพลังงานสะอาดร่วมกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบกักเก็บพลังงานจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในระบบนิเวศ (Eco-system) ทางพลังงาน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้แบตเตอรี่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวหากไม่มีการศึกษาและการจัดการภายหลังการใช้งานที่ดีเพียงพอ บริษัทฯ ในฐานะผู้ผลิตและให้บริการระบบกักเก็บพลังงานเล็งเห็นโอกาสและแนวทางการลดผลกระทบของการใช้แบตเตอรี่ โดยวางแผนศึกษาวิจัยการผลิต ประสิทธิภาพในการใช้งาน ตลอดจนกระบวนการรีไซเคิลภายหลังการใช้งาน

จากความสำเร็จในการสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ระยะที่หนึ่ง บริษัทฯ วางแผนจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม (R&D Center) ในพื้นที่เดียวกับโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ คือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC รวมวงเงินกว่า 230 ล้านบาท เพื่อใช้งานเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยแบตเตอรี่ของบริษัทฯ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การทดสอบความปลอดภัย การใช้งานจริง รวมไปถึงกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกหลักวิศวกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำด้านระบบกักเก็บพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การศึกษาวิจัยโครงการรีไซเคิลขยะประเภทแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่

บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการด้านพลังงาน ที่เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนเป้าหมายของประเทศ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ที่มีแบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบ อย่างไรก็ดี หากการบริการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่ เมื่อครบอายุการใช้งานไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จะก่อให้เกิดขยะอันตรายปริมาณมาก ที่ส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงร่วมมือกับ INSEE Ecocycle ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอุตสาหกรรมโดยการเปลี่ยนสภาพให้เป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียน ผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ RDF และโครงการโรงงานรีไซเคิลขยะจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษารูปแบบวิธีการบริหารจัดการด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน ตามกลยุทธ์องค์กร S3 (S-curve & Batteries) และ S4 (Shift to Customer-Centric Solutions)

โดย บริษัทฯ มีความพร้อมในการจัดทำระบบและเทคนิคการรีไซเคิล เพื่อนำโลหะที่มีมูลค่าจากแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ที่ครบอายุการใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำเศษซากที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่วน INSEE Ecocycle ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจัดการของเสียและบริการภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้และบุคคลากร เพื่อพัฒนาแนวทางและโซลูชั่นใหม่ๆ สำหรับการยกระดับประสิทธิภาพของการจัดการของเสีย สู่แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างต่อเนื่อง

สำหรับโครงการระยะแรกจะเป็นมุ่นเน้นไปที่การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาทั้ง 2 โครงการ เพื่อนำสู่ไปการพัฒนารูปแบบการลงทุนร่วมกันในอนาคต โดยโครงการระยะแรกมีแผนการดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2565-2568

การขับเคลื่อนสู่ตลาดความยั่งยืนแห่งอนาคต

กลยุทธ์ S4: Shift to Customer-Centric Solutions

คือ การบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค โดยใช้นวัตกรรมในโรงไฟฟ้าหลักและโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงเสนอบริการที่สามารถบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการพัฒนา Platform ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน

กลยุทธ์นี้ยังมุ่งสู่ธุรกิจการบริหารจัดการพลังงานโดยใช้นวัตกรรมใหม่ (Energy Management Solutions) โดยมีเป้าหมายในการให้บริการทางพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านลดค่าใช้จ่าย เพิ่มเสถียรภาพทางพลังงาน และเสนอผู้ให้บริการเงินทุนแก่ลูกค้า ในกลุ่มผู้ประกอบการพาณิชย์ (Commercial) และอุตสาหกรรม (Industrial) ซึ่งจะเน้นการผลิตไฟฟ้ากระจายตามจุดใช้งาน (Distributed Generation) ผ่านการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และสาธารณูปโภคอื่น เช่น พลังงานความเย็น (District Cooling System) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายตัว (Distributed generation)
    การให้บริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์รูฟท็อป ระบบไมโครกริด (Micro-grid) โครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) และการผสานการใช้งานระบบกักเก็บพลังงาน สำหรับลูกค้ากลุ่มพาณิชย์และอุตสาหกรรม เพื่อใช้เองในองค์กร เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ (District cooling)
    การให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนา ออกแบบ ติดตั้งระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ที่เหมาะสมกับความต้องการผู้ใช้ รวมถึงการบริการจัดการและซ่อมบำรุงระบบตลอดอายุสัญญาแก่ลูกค้ากลุ่มพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่ต้องการระบบทำความเย็นในสถานประกอบการ
  • การบริการจัดการพลังงานอัจฉริยะครบวงจร (Energy management services)
    การให้บริการจัดการทางพลังงานอัจฉริยะครบวงจร ที่สามารถยกระดับการใช้พลังงานของลูกค้าผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ต่อความต้องการ ผ่านการให้คำปรึกษา ตรวจสอบ วิเคราะห์การใช้พลังงาน การตรวจวัดการใช้พลังงานผ่านระบบเรียลไทม์ (Real-time) การจัดการพลังงานผ่านระบบควบคุมทางไกล (Remote Management) การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงาน แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนซื้อขายพลังงาน (Energy Trading Platform) รวมถึงการเชื่อมต่อและการเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดการพลังงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต
GRI 203-1

บริษัทฯ เตรียมความพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานในอนาคตโดยการผนวกเทคโนโลยีใหม่เข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และขยายรูปแบบการทำธุรกิจสู่ผู้บริโภคที่ครอบคลุมการใช้พลังงานจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนี้

Upstream Business
Midstream Business
Downstream
ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream)

การให้บริการตั้งแต่กระบวนการออกแบบ จำหน่าย จัดหา ก่อสร้าง และติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งในรูปแบบการออกแบบทางวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้าง (EPC) และแบบโครงการจ้างเหมา (Turn-Key) ที่ครอบคลุมการใช้พลังงานทั้งในรูปแบบการเชื่อมต่อกับระบบสายส่ง (On-grid) และแบบที่ไม่เชื่อมกับระบบสายส่ง (Off-grid) รวมถึงระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid)

ธุรกิจกลางน้ำ (Midstream)

การผลิตพลังงานแบบกระจายตัว (Distributed Generation)

การผลิตพลังงานโดยผู้ใช้รายย่อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วไป โดยให้บริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการผลิตพลังงานเพื่อใช้เองในองค์กร ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทำระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid)

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • โซลาร์รูฟท็อป (Photovoltaic: PV)
  • โซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar)
  • ระบบโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm)
  • ระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid)
  • ระบบทำความเย็นแบบกระจายศูนย์ (District Cooling)
  • การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบ (Behind-the-Meter Energy Storage System: BTM ESS)
การกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)

การผนวกรวมระบบการกักเก็บและผลิตพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งการใช้งานในอุปกรณ์แบบอยู่กับที่ (Stationary) และแบบเคลื่อนที่ (Mobility) นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นช่องทางในการเจาะทั้งตลาดธุรกิจกลุ่มระบบศูนย์รวมข้อมูล โทรคมนาคม และไฟฟ้าทั้งใน และต่างประเทศ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • ระบบกักเก็บพลังงานขนาดเล็ก (<100 kwh)
  • ระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ (>100 kwh)
  • สถานีชาร์จไฟฟ้า (Charging Station)
  • System Integrator
  • แบตเตอรี่ Lead-acid Replacement
  • ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถกอล์ฟไฟฟ้า
  • ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น รถบัสไฟฟ้า
การบริหารจัดการ (Energy Management)

การบริการจัดการพลังงานอัจฉริยะครบวงจร (Energy management services) ผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงาน แพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน และเทคโนโลยีดิจิทัล

การให้บริการที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจสอบระบบการใช้พลังงาน (Energy Audit)
  • การตรวจวัดผลการดำเนินการระบบพลังงานตามเวลาจริง (Real Time Energy Monitoring)
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Equipment Supply)
  • การพัฒนาระบบการใช้พลังงาน (Energy Management & Solution Provider)
  • การดำเนินการข้อตกลงการซื้อขายพลังงาน (Power Purchase Agreement: PPA) และใบอนุญาตทางกฏหมาย (Regulatory Certification)
  • การควบคุมระบบจัดการพลังงานระยะไกล (Remote Management)
  • การบริการจัดการพลังงานอัจฉริยะครบวงจรผ่านแอพพลิเคชัน
  • การพัฒนาแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนซื้อขายพลังงาน (Energy Trading Platform)
  • เทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ อาทิ System Interconnecting & Optimization for Future Technology
ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream)

การดำเนินงานและการบำรุงรักษา (Operation and Maintenance) ที่ครอบคลุมบริการหลังการขายแก่ลูกค้าโดยผู้เชียวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ของบริษัทในกลุ่ม อาทิ

  • การดำเนินงานและการบำรุงรักษาระบบผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์รูฟท็อป
  • การดำเนินงานและการบำรุงรักษาระบบทำความเย็น (District Cooling)
ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)