GRI 2-23, 2-24, 3-3
จรรยาบรรณว่าด้วยการรักษาความลับ การเก็บรักษาข้อมูล และการใช้ข้อมูลภายใน

จรรยาบรรณดังกล่าวครอบคลุมถึงการปกปิดข้อมูลลูกค้าและความลับทางการค้าไว้เป็นความลับ โดยบริษัทฯ มีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลที่ชัดเจน และวิธีการที่บุคลากรของบริษัทฯ ต้องทำความเข้าใจถึงความลับในแต่ระดับชั้น รวมถึงการปฏิบัติเพื่อรักษาความลับดังกล่าวในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ โดยรายละเอียดของจรรยาบรรณว่าด้วยการรักษาความลับ การเก็บรักษาข้อมูลและการใช้ข้อมูลภายในสามารถสืบค้นได้ที่คู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ หน้าที่ 68 ทั้งนี้ กระบวนการจัดเก็บและรักษาข้อมูลของบริษัทฯ ถูกบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยงองค์กรและข้อกำหนดที่พนักงานต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยบริษัทฯ มีบทลงโทษในกรณีที่มีการละเมิดตามหลักการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ

สามารถศึกษาการผลประเมินผลกระทบของประเด็นสำคัญได้ที่ Link
คู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

บริษัทฯ มีการกำกับดูแลป้องกันและรักษาข้อมูลของลูกค้าอย่างเข้มงวด โดยเป็นหนึ่งในข้อตกลงเงื่อนไขสัญญาซื้อขายสาธารณูปโภค และแนวปฏิบัติในการดูแลและเก็บรักษาข้อมูลสัญญา ข้อตกลง ซื้อขายในนโยบายการจัดการทรัพย์สิน การรักษาความลับและการใช้ข้อมูลบริษัทฯ นอกจากนี้ สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของกรรมการผู้บริหารหรือ พนักงานของบริษัทลูกค้า บริษัทฯ ได้ประกาศใช้นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ครอบคลุมถึงบริษัทฯ ในกลุ่มและคู่ค้า เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยเพื่อการดำเนินกิจการของบริษัท รวมถึงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) สำหรับกระบวนการการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีขอบเขตการตรวจสอบครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. กระบวนการประเมินและจัดการความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Processing Risk Assessment)
  2. กระบวนการกำกับดูแลธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) และกระบวนการบริหารเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Management) ได้แก่ การกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน การวางแผนและสื่อความนโยบาย การกำหนดกระบวนการและมาตรการในการดำเนินกฏหมาย
  3. กระบวนการจัดการเมื่อมีเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Breach Response)

ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่พบกรณีการละเมิดข้อมูลของลูกค้าและไม่มีข้อร้องเรียนด้านการรักษาข้อมูลลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ไม่ได้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัว ในปี 2566

นโยบายความเป็นส่วนตัว
GRI 2-26

บริษัทฯ มีการพัฒนาช่องทางหลักที่ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสาร ร้องเรียนด้านข้อมูล เสนอแนะข้อคิดเห็น ตลอดจนรับทราบข่าวสารการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

02-140-4600
555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร B ชั้น 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
GRI 3-3
การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
  • การติดต่อผ่านทีมงานลูกค้าสัมพันธ์
  • การประชุมสื่อสารแผนการรับผลิตภัณฑ์และซ่อมบํารุงประจําเดือน
  • การรับฟังข้อมูลความคิดเห็นในด้านผลิตภัณฑ์
  • การจัดจําหน่ายและบริการกับลูกค้าทุกรายในกลุ่มอุตสาหกรรม
  • การสํารวจความพึงพอใจของลูกค้าอย่างน้อยปีละครั้ง
การรักษาและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • กิจกรรมบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าประจําปีในรูปแบบต่าง ๆ
  • การประชุมสื่อสารแผนการรับผลิตภัณฑ์และซ่อมบํารุงประจําเดือน
  • การเยี่ยมเยียนสถานประกอบการลูกค้า
  • การอบรมสัมมนา การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
    (Efficiency Improvement) ประจําปี
  • กิจกรรมสันทนาการและกีฬา
  • การจัดสัมมนาเยี่ยมชมกิจการพลังงาน

การจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ เป็นประจำ กิจกรรมดังกล่าวแบ่งเป็นประเภทกิจกรรมรายเดือน กิจกรรมรายไตรมาส และกิจกรรมรายปี เพื่อพัฒนาการดำเนินงานและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

  • กิจกรรมรายเดือน ซึ่งจะมีการจัดประชุมสัญจรหมุนเวียนตามสถานประกอบการของลูกค้าทุกวันพุธในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เพื่อจัดทำแผนงานขายและการผลิต ตลอดจนความต้องการของลูกค้าในระยะสั้น
  • กิจกรรมรายไตรมาส เป็นกิจกรรมสันทนาการเชิงความรู้แก่พนักงานทุกระดับของลูกค้า
  • กิจกรรมรายปี เป็นกิจกรรมที่เน้นเรื่องการศึกษาดูงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องและต่อเนื่องของบริษัทฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงโอกาสในการต่อยอดการดำเนินธุรกิจร่วมกัน

ระบบตรวจสอบการใช้พลังงานอัตโนมัติ (EnergyLens Application)

บริษัทฯ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า EnergyLens เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและทราบผลได้ทันที (Real Time) รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ประวัติการใช้ย้อนหลังและข้อมูลอื่น ๆ เช่น รายงานค่าใช้จ่ายประจำเดือน คู่มือการติดต่อสื่อสารกับบริษัทฯ เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตได้ ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ถือเป็นเครื่องมือบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ทำให้บริษัทฯ สามารถปรับแผนการส่งมอบและบริหารจัดการปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ให้เกิดผลสูงสุด

GRI 3-3

การจัดสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าโดยหน่วยงานภายนอก (Third party)

เพื่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง กลุ่มจีพีเอสซีมอบหมายให้หน่วยงานภายนอก (Third party) ดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้าทั้งหมดของกลุ่มจีพีเอสซีเป็นประจำทุกปี โดยดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อกำหนดระดับความพึงพอใจที่ลูกค้ามีต่อกลุ่มจีพีเอสซี ผลการสำรวจจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนเปรียบเทียบตำแหน่งของบริษัท (Benchmarking) กับองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและระดับโลก ทั้งนี้ ผลการสำรวจจะสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสามารถในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และการบริหารที่ตอบโจทย์ของลูกค้า ผ่านการดำเนินงานของกลุ่มจีพีเอสซี ด้วยคำถาม 6 กลุ่มหลัก เพื่อให้กลุ่มจีพีเอสซีสามารถวางแผนเชิงรุกในการบริหารจัดการความสัมพันธ์และความพึงพอใจให้ตรงประเด็นความคาดหวังของลูกค้ามากขึ้น โดยผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและเป้าหมายของปี 2567 แสดงผล ดังนี้

  2562 2563 2564 2565 2566 เป้าหมายปี 2567
ระดับความพึงพอใจลูกค้า (ร้อยละ) 86.3 84.29 91 95 92 ≥90
ครอบคลุม (ร้อยละ) 100 100 100 100 100 100

หมายเหตุ: บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าให้ครอบคลุมลูกค้าของโกลว์ในปี 2563

คำถาม 7 กลุ่มหลักในการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจ

การให้บริการก่อนลงนามสัญญาใหม่หรือต่อสัญญา (Pre-sales & Sales Stage)
คุณภาพและความต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์ (Quality and Reliability of Products)
การเรียกเก็บเงิน / การออกใบแจ้งหนี้ และการวัดปริมาณการใช้ (Billing and Metering)
การบำรุงรักษาและแผนการหยุดส่งผลิตภัณฑ์ / ให้บริการ (Maintenance and Planned Service Outage)
การจัดการข้อร้องขอและข้อร้องเรียนของลูกค้า (Customer Request and Complaint Management)
การให้บริการหลังการขาย (Contract Management)
ราคาของผลิตภัณฑ์ (Price of Products)

ผลการสำรวจที่ได้จะนำมารายงานผ่านที่ประชุมคณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธานในการประชุม โดยมีการรายงานประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขจากผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าในแต่ละครั้ง พร้อมกับร่วมกันหาแนวทางแก้ไขในแต่ละประเด็นข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะจากลูกค้า เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

การจัดการการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

GPSC ได้ฝังนโยบายความเป็นส่วนตัวไว้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วทั้งกลุ่ม ในแง่ของการบูรณาการการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยงของ GPSC กำหนดว่าการประเมินความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึงการปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวด้วย ในการดำเนินการดังกล่าว เราได้รวมประเด็นเรื่องการปกป้องข้อมูลลูกค้าไว้เป็นหนึ่งในปัจจัยความเสี่ยงขององค์กร ในส่วนของการบูรณาการการจัดการการปฏิบัติตามกฎระเบียบ GPSC PDPA Management Guideline มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายจากความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง คู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณกลุ่มบริษัท GPSC กำหนดให้คณะกรรมการต้องจัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อปกป้องความลับ ความสมบูรณ์ และความพร้อมของข้อมูลทางธุรกิจ รวมถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนด้านตลาด คณะกรรมการยังติดตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดการรักษาความลับของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง (เช่น ที่ปรึกษากฎหมายและการเงิน) นอกจากนี้ เราได้นำนโยบายความเป็นส่วนตัวมาใช้กับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยที่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เอกสารการจัดการความเสี่ยง/การปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวอื่น ๆ :
  • นโยบายการบริหารความเสี่ยง
  • แนวทางการจัดการ PDPA
  • คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
การลงโทษทางวินัย

GPSC กำหนดให้พนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติ และแนวปฏิบัติของบริษัทในเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ในกรณีที่มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยที่ GPSC ไม่มีความอดทน พนักงานที่ละเมิดหลักปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวจะถูกลงโทษทางวินัยตาม GPSC และระเบียบข้อบังคับของประเทศ โดยเฉพาะกฎด้านทรัพยากรบุคคล (บทที่ 5 และ 6 รายการ 2.13 ในแบบฟอร์มรายงานการสืบสวน) กำหนดให้พนักงานทุกคนต้องรักษาข้อมูล เทคโนโลยี ความรู้ หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่น ๆ ของบริษัทไว้เป็นความลับ การกระทำใดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์จะเข้าสู่กระบวนการสอบสวนและได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบ ในทำนองเดียวกัน ระเบียบปฏิบัติมาตรฐานนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ GPSC และคู่มือการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณกลุ่ม GPSC กำหนดให้พนักงาน GPSC ทุกคนที่ไม่ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวจะต้องถูกลงโทษทางวินัย

Disciplinary Actions-Related Document:
  • PDPA Management Guideline
  • Human Resource Rules
  • Regulations on Information and Communication Technology Policy Standard Practice
  • Group Corporate Governance Manual and Code of Conduct
Privacy Policy Audit
GRI 2-23

GPSC ดำเนินการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นประจำทุกปี การตรวจสอบภายในตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2561 ทั่วทั้งองค์กร พ.ศ. 2562 ใน 4 ด้าน ได้แก่ การคุ้มครอง การรวบรวมข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล และสิทธิในข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานทั้งหมดของ GPSC เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562.

Compliance Procurement Commercial HR QSHE Goverment
Relations
Investor
Relations
Company
Secretary
Protection
Data Collection
Data Disclosure
Data Rights DPA
In Progress
DPA
In Progress
Privacy Policy Internal Audit-Related Document
  • Internal Audit Results
Privacy Policy External Audit

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. พ.ศ. 2562 GPSC วางแผนที่จะดำเนินการประเมินโดยบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา เราได้ข้อสรุปว่าในปีต่อๆ ไป GPSC ร่วมกับบุคคลที่สาม จะทำการศึกษากิจกรรมทางธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัว ผลการศึกษาจะแจ้งให้ GPSC ทราบถึงแนวทางการปรับปรุง และจะบูรณาการเข้ากับการฝึกอบรมสำหรับพนักงานทุกคน

ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)