นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ได้จัดทำและเปิดเผยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้บทบัญญัติที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) โดยเข้าร่วมเป็นภาคีของ United Nations Global Compact (UNGC) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) พร้อมทั้งส่วนนโยบายความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการกำหนดเป้าหมายควบคุมข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นศูนย์ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนยึดถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อีกทั้งได้ถ่ายทอดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน เช่น ประเด็นเรื่องการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัย การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการตรวจสอบและประเมินผู้ค้าให้ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนผ่านกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการสื่อความให้บริษัทในกลุ่มรับทราบและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จด้านสิทธิมนุษยชน
GRI 2-23, 2-24, 3-3
ดาวน์โหลดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
กระบวนการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทฯ (Human Rights Due Diligence) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก
  1. ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน ดำเนินการประกาศเรียบร้อยแล้ว โดยสื่อความผ่านระบบสารสนเทศ
  2. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำการประเมินในระดับประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรม พื้นที่ปฏิบัติการ จนถึงระดับบุคคล
  3. บูรณาการผลการประเมินกับการบริหารภายในองค์กร เมื่อทำการประเมินความเสี่ยงแล้วเสร็จ กำหนดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยใช้มาตรฐาน แนวทาง เช่น กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนของกลุ่ม ปตท., ระบบการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม, คู่มือด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น มาประยุกต์ใช้ในการลด หรือควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  4. การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน โดยกำหนดระยะเวลาในการติดตาม และประเมินผลตามความเหมาะสมของแต่ละแผนงาน รวมถึงการตรวจประเมินเพื่อให้มั่นใจประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการ เปิดเผยผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์ของการบริหารจัดการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  5. การแก้ไขและเยียวยาผลกระทบผ่านกลไกการรับเรื่องร้องเรียน เมื่อบริษัทฯ ระบุได้ว่าบริษัทฯ ก่อให้เกิดหรือมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง หรือมีส่วนร่วมกับการแก้ไขผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม โดยจัดตั้งหรือมีส่วนในการจัดตั้งกลไกรับเรื่องร้องเรียนสาหรับผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากกิจกรรมของตน
การสื่อความและให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ใช้ระบบการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Human Rights Management System) เป็นแนวทางในการดำเนินงานและจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence ) และได้มีการสื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกคนได้รับทราบ เข้าใจผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) อีกทั้งมีแผนการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับพนักงานบริษัทฯ

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment) ระดับองค์กรอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินธุรกิจในบริษัทฯ ทั้งหมด รวมทั้งประเมินคู่ค้าทางธุรกิจ เป็นประจำทุกปี เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการในพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายในบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2561 เพื่อระบุ ป้องกัน และลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการประเมินความเสี่ยงนี้ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ในระดับประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรม และระดับพื้นที่ปฏิบัติการที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ รวมถึงการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลกระทบในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Vulnerable Group) เช่น ผู้หญิง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็ก กลุ่มชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) และการประเมินโอกาสที่อาจเกิดผลกระทบในระดับประเทศ ระดับปฏิบัติงาน และระดับบุคคล โดยเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินการโดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบ ครอบคลุมสิทธิมนุษยชน ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน ห่วงโซ่อุปทาน ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิผู้บริโภค

จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการในการควบคุมและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และประเมินความเสี่ยงที่เหลืออยู่ (Residual Risks) หลังจากจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพในการควบคุมผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า

บริษัทฯ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ในระดับองค์กรของบริษัทฯ และครอบคลุมกลุ่มบุคคลภายนอกที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของบริษัทฯ เพื่อทราบถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสียจากภายในและภายนอกองค์กร

เพื่อรองรับประเด็นข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้มีช่องทางเพื่อรับและบริหารจัดการร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งช่องทางภายในสำหรับพนักงาน เช่น คณะกรรมการสวัสดิการ กล่องรับความคิดเห็นพนักงาน และช่องทางสำหรับบุคคลภายนอก เช่น เว็บไซต์ของบริษัทฯ โทรศัพท์ โทรสาร และ จดหมาย เป็นต้น โดยในปี 2565 ไม่พบข้อร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกประเด็น หรือการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน

ระเบียบวิธีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านขนาด ขอบข่าย และข้อจำกัดของความสามารถในการฟื้นฟูแก้ไขผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นอย่างน้อยให้กลับไปมีสภาพดังเดิม

ระดับของผลกระทบ ลักษณะของผลกระทบ
1. สูงมาก
  • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลกระทบในวงกว้างหรือส่งผลต่อกลุ่มประชากร ที่เกินกว่าขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ
  • บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ที่ถูกละเมิด สิทธิมนุษยชนได้สิทธินั้นกลับคืนมาได้
  • ผลกระทบ / เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาร่วมกับบริษัทฯ อิสระ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาร่วมกับบริษัทฯ
2. สูง
  • บริษัทฯ มีความจงใจในการให้ความช่วยเหลือ หรือ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน(Legal Complicity)
  • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือห่วงโซ่มูลค่าของบริษัทฯ ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ปฏิบัติการส่วนเสียในพื้นที่ปฏิบัติการ
  • บริษัทฯ มีความขัดแย้งด้านสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มเสี่ยง (Vulnerable Group)
3. ปานกลาง
  • บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานอื่น (Non-legal Complicity)
  • บริษัทฯ ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในหรือภายนอกได้ concerns raised by internal or external individuals or groups
4. ต่ำ
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายในหรือภายนอก ได้รับการป้องกันแก้ไข โดยกลไกการจัดการข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพของบริษัทฯ
ระดับของผลกระทบ ลักษณะของผลกระทบ
1. มีความเป็นไปได้สูง (>25%)
  • เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการหลายครั้งต่อปี (มากกว่าร้อยละ 25%)
2. มีความเป็นไปได้ (10-25%)
  • เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว (ร้อยละ 10-25%)
3. มีความเป็นไปได้ต่ำ (1-10%)
  • เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการน้อยมาก แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น (ร้อยละ 1-10%)
4. มีความเป็นไปได้ต่ำ (1-10%)
  • เหตุการณ์เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นประเภทเดียวกับพื้นที่ปฏิบัติการ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ปฏิบัติการ (น้อยกว่าร้อยละ 1%)

ร้อยละของพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและประเด็นที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขและเยียวยาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนครบร้อยละ 100 ของทุกหน่วย

จำนวนพื้นที่ปฏิบัติการที่มีแนวทางในการควบคุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

จากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนโดยรวม ผลการประเมินความเสี่ยงสามารถสรุปได้ดังนี้

  ประเด็นความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชน
ที่อาจเกิดขึ้นได้
กลุ่มเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ร้อยละของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด
ที่ผ่านการประเมินใน 3 ปีที่ผ่านมา
(2563-2565)
ร้อยละของพื้นที่
ที่อาจมีประเด็นความเสี่ยง
ด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสูง
ร้อยละของความเสี่ยง
ที่มีแผนเเละกระบวนการจัดการ
แผนการบรรเทาความเสี่ยง
สำหรับพื้นที่ที่อาจมีประเด็นความเสี่ยง
พื้นที่ปฏิบัติการที่บริษัทฯ บริหารจัดการเอง
  • สิทธิแรงงาน
  • สิทธิชุมชน
  • สายโซ่อุปทาน
  • สิ่งแวดล้อม
  • ความมั่นคงปลอดภัย
  • สิทธิลูกค้าและผู้บริโภค
  • กลุ่มสตรี
  • กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • กลุ่มแรงงานต่างชาติ
  • กลุ่มพนักงานประจำและชั่วคราว
  • กลุ่มทุพพลภาพ
  • กลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา
  • กลุ่มลูกค้า
  • กลุ่มหุ้นส่วนทางธุรกิจ
  • กลุ่มชุมชนและสังคม
100 0 100
  • ดำเนินงานตามระบบการบริหารจัดการของบริษัทฯ เช่น แนวทางการกำกับดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของคู่ธุรกิจ แนวทางการกำกับดูแลของบริษัทฯ เป็นต้น
  • จัดอบรมและสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนกับการดำเนินธุรกิจ
  • ทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการกำหนดแนวทางป้องกันเรื่องการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน
ผู้รับเหมาและคู่ค้าหลัก (Tier-1)
  • ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงาน
  • การจ้างงานเเละสภาพเเวดล้อมในการทำงาน
  • สิทธิชุมชน
  • สิ่งเเวดล้อม
  • กลุ่มสตรี
  • กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • กลุ่มแรงงานต่างชาติ
  • กลุ่มทุพพลภาพ
  • กลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา
  • กลุ่มชุมชนและสังคม
100 0 100
  • จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพพนักงาน
  • จัดทำข้อมูลสถิติความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดทำรายการตรวจสอบสภาพของถังดับเพลิงทุกถัง
  • กำหนดเป้าหมายในการลดใช้พลังงานไฟฟ้าและก๊าซเรือนกระจก
  • จัดทำรายการการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมัน รายเดือน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาล
พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทในบริษัทฯ
  •  สิทธิชุมชน
  •  สายโซ่อุปทาน
  •  สิ่งแวดล้อม
  • กลุ่มสตรี
  • กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • กลุ่มแรงงานต่างชาติ
  • กลุ่มพนักงานประจำและชั่วคราว
  • กลุ่มทุพพลภาพ
  • กลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา
  • กลุ่มลูกค้า
  • กลุ่มหุ้นส่วนทางธุรกิจ
  • กลุ่มชุมชนและสังคม
100 0 100
  • ดำเนินงานตามระบบการบริหารจัดการของบริษัทฯ
GPSC Group Human Rights Assessment Report 2021 - 2022
ปรับปรุง ณ เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2566

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)