ขั้นตอนที่ 1

การระบุประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง (Identification)

ขั้นตอนที่ 2

การประเมินและจัดลำดับผลกระทบของประเด็นสำคัญ (Assessment and Prioritization)

ขั้นตอนที่ 3

การทวนสอบประเด็นสำคัญของรายงาน (Validation)

ขั้นตอนที่ 4

การพัฒนาการรายงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง (Review)

การดำเนินการ

ระบุกิจกรรมและประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ให้ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากผลกระทบ (เชิงบวก และเชิงลบ) ความคาดหวัง ความสนใจ และความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 8 กลุ่ม (อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ พนักงาน คู่ค้า หุ้นส่วน ลูกค้า และ ชุมชนและสังคม) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังพิจารณาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและในอุตสาหกรรม เหตุการณ์ในอดีต ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในอนาคต โอกาสในการดำเนินธุรกิจ ตัวชี้วัดมาตรฐานของ GRI และหลักสิทธิมนุษยชนสากล

ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัดเป็นพื้นฐาน และประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติสากลอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงานการกำกับดูแลและมีระบบการตรวจสอบการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปข้อบังคับของกฎหมายอย่างชัดเจน รวมถึงมีช่องทางร้องเรียน (Whistleblower) การตรวจสอบอย่างรอบด้าน (Due diligence) ที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ในปี 2565 บริษัทฯ ไม่มีการละเมิดกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการปฏิบัติ
  • มาตรฐานการบริหารจัดการความยั่งยืน ปตท. และบริษัทฯ
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
  • แนวทางปฏิบัติสากล ได้แก่ GRI1, DJSI2, SDGs3, wbcsd4, CDP5, ISO 260006, UNGC7, IIRC8 และอื่นๆ
  • การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • การสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
  • การสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
  • การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
  • กระบวนการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร
  • การรับข้อร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ
  • การประเมินความเสี่ยงขององค์กร
การดำเนินการ

ประเมินผลกระทบ (เชิงบวกและเชิงลบ) ต่อผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการพิจารณาความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ซึ่งได้รับการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection for interview) และการใช้แบบสำรวจออนไลน์สำหรับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จากผู้มีส่วนได้เสีย จะถูกวิเคราะห์ในรูปแบบคะแนนที่ให้ต่อประเด็นสำคัญภายใต้เกณฑ์การประเมินระดับความรุนแรงและโอกาสของการเกิดผลกระทบ ทั้งต่อ บริษัทฯ และต่อผู้มีส่วนได้เสีย จากนั้น ประเด็นสำคัญจะถูกจัดกลุ่มโดยใช้มาตรประมาณค่า (Rating scale) ในการแบ่งระดับผลกระทบของแต่ละประเด็นสำคัญ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประเด็นหลัก (Key material issue) ซึ่งมีคะแนนระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก และ 2) ประเด็นพื้นฐาน (Fundamental material issue) ซึ่งมีคะแนนระดับผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง โดยประเด็นพื้นฐานเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการตามบังคับของกฎหมาย

แนวทางการปฏิบัติ
  • การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
  • การสำรวจความความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียภายในจากแบบสำรวจออนไลน์
  • การประเมินและจัดกลุ่มประเด็นสำคัญตามระดับของผลกระทบ
  • การจัดลำดับผลกระทบของประเด็นสำคัญ
การดำเนินการ

จัดทำผลสรุปประเด็นสำคัญต่อบริษัทฯ โดยการรวบรวมผลการประเมินประเด็นสำคัญและการทวนสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (Testing the material topics by expert) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประเด็นสำคัญหลักนั้น เป็นประเด็นที่สอดคล้องกับการแนวโน้มเปลี่ยนแปลงของโลกและครอบคลุมทุกประเด็นในกลุ่มธุรกิจการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการระบุความสอดคล้องระหว่างประเด็นสำคัญกับหมวดการรายงานของ GRI (GRI aspects) สำหรับการเสนอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบภายในองค์กร เพื่อจัดทำกลยุทธ์และแนวทางการจัดการต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของ บริษัทฯ

คณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ทบทวนและอนุมัติเนื้อหาในประเด็นสำคัญ ก่อนจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมแผนการบริหารจัดการผลกระทบจากความเสี่ยงในประเด็นสำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ ยังมีหน้าที่ตรวจทานข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานนั้นให้มีความโปร่งใส ถูกต้อง และสอดคล้องตามข้อกำหนดการรายงาน ตามตัวชี้วัดมาตรฐานของ GRI ที่จะนำเสนอในรายงานความยั่งยืนประจำปี

แนวทางการปฏิบัติ
  • การทวนสอบประเด็นสำคัญโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • การประชุมและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยกลุ่มผู้บริหารของบริษัทฯ
การดำเนินการ

ทบทวนและพัฒนาการรายงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยการทวนสอบรายงานฯ เพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นสำคัญที่บริษัทฯ จำเป็นต้องบริหารจัดการให้ดีนั้น ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้ การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น การเข้าร่วมการประเมินรางวัลรายงานความยั่งยืน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ สถาบันไทยพัฒน์ เป็นต้น ยังเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของการจัดทำรายงาน อีกทั้งยังสะท้อนถึงประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญได้ดียิ่งขึ้น

แนวทางการปฏิบัติ
  • การทวนสอบรายงานความยั่งยืนโดยหน่วยงานภายนอก
  • การรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่างๆ
  • การประชุมกลุ่มย่อยจากหน่วยงานด้านความยั่งยืน เพื่อทบทวนการรายงานและผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของหน่วยงานที่ได้มอบหมาย
  • การายงานผลการดำเนินงานตามแผนด้านด้านความยั่งยืนต่อคณะผู้บริหารฯ ทุกไตรมาส
หมายเหตุ:

1 Global Reporting Initiative (GRI) คือ องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงาน สากล เพื่อใช้เป็นแม่แบบในการจัดทำรายงานความยั่งยืน

2 Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) คือ ดัชนีหลักทรัพย์ที่ประเมินประสิทธิ ผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่งกองทุนต่างๆ จากทั่วโลกใช้เป็นเกณฑ์ในการลงทุน

3 Sustainable Development Goals (SDGs) คือ เป้าหมายการพัฒนาทยั่งยืนภายใต้ กรอบองค์กรสหประชาชาติ (United Nation: UN) ประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก ที่ต้องการบรรลุและดำเนินการให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)

4 World Business Council for Sustainable Development (wbcsd) คือ คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทชนนำระหว่างประเทศ กว่า 120 บริษัท และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดด้าน สิ่งแวดล้อม “Earth Summit” เมื่อปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)

5 Carbon Disclosure Project (CDP) คือ สถาบันระดับโลกที่ได้รับการยอมรับสูงสุด ด้านการประเมินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

6 ISO 26000 คือ มาตรฐานสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

7 UN Global Compact (UNGC) คือ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นแนวทาง ในการกำหนดกลยุทธ์และการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการที่ยอมรับโดยสากล ในขอบเขตเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริต

8 International Integrated Reporting Council (IIRC) คือ รายงานแบบบูรณาการ เป็นรายงานที่นำเสนอการดำเนินงานขององค์กรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและ การกำกับดูแลกิจการขององค์กร ตลอดจนนำเสนอผลการดำเนินการขององค์กร ที่สร้างคุณค่าต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรทั้งภายในและภายนอก ทั้งใน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ปี 2565
GRI 3-2
หมายเหตุ
ประเด็นหลัก (Key material issue)

คือประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญต่อผลกระทบในประเด็นต่าง ๆ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ (การกำกับดูแลกิจการ) สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาคะแนนระดับของผลกระทบในประเด็นต่างๆ ทั้งเชิงบวกและลบอย่างมีนัยสำคัญ (ผลกระทบอยู่ในระดับสูงถึงระดับสูงมาก) ภายใต้เกณฑ์ความรุนแรงและโอกาสการเกิดของผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก รวมถึงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

  • ผลกระทบเชิงบวก เช่น สร้างผลประกอบการผลกำไรที่ดี สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ผลกระทบเชิงลบ เช่น เกิดความสูญเสียทางธุรกิจหรือค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูผลกระทบ เกิดการละเมิดกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นต้น
ประเด็นพื้นฐาน (Fundamental material issue)

คือประเด็นพื้นฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องตามกฎหมาย มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติทั่วไป โดยผู้มีส่วนได้เสียได้ให้ความสำคัญต่อผลกระทบในประเด็นสำคัญอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ได้จากการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรเพื่อจัดทำกลยุทธ์ทางธุรกิจและแผนบริหารความเสี่ยงที่ตรงตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป้าหมายทางธุรกิจ ดังแสดงในภาพต่อไปนี้

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการระบุความเสี่ยงองค์กร (กระบวนการที่ 1) เป็นข้อมูลเสริม ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่อาจเกิดขึ้น เพื่อระบุความเสี่ยงองค์กร นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเหล่านี้ยังใช้เพื่อทวนสอบความเสี่ยงระดับองค์กรที่สำคัญ โดยมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงระดับองค์กรดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ประเด็นหลัก ด้านความเสี่ยง ความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงองค์กร
พลังงานสะอาดสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ การลงทุนและการขยายธุรกิจ
การขับเคลื่อนสู่ตลาดความยั่งยืนแห่งอนาคต ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ การลงทุนและการขยายธุรกิจ
พนักงานคือหัวใจขององค์กร ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ ขีดความสามารถองค์กร
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (GPSC’s Double Materiality Assessment 2022)

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยจำแนกออกเป็นประเด็นหลัก (Key material issue) จำนวน 4 ประเด็นและประเด็นพื้นฐาน (Fundamental material issue) จำนวน 10 ประเด็น

ประเด็นสำคัญ
(Material Issue)
ผลกระทบ
(เชิงบวก และเชิงลบ)(1)
การเกิดผลกระทบ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ที่เกี่ยวข้อง
(Stakeholder)
ผลกระทบ
ทางการเงิน (2)
Global
Reporting
Initiative: GRI
ความสอดคล้องกับ
เป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable
Development
Goals : SDGs)
เกิดขึ้นแล้ว
ในอดีต
และปัจจุบัน
มีโอกาส
เกิดขึ้น
ในอนาคต
ประเด็นหลัก (Key Material Issue)
พลังงานสะอาดสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศที่เป็นส่วนผลักดันเป้าหมายด้านพลังงานสะอาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมการใช้พลังงาน
  ภาครัฐ, ลูกค้า, คู่ค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Energy (302-1, 302-3, 302-4)
  • Emission (305-1, 305-2, 305-3, 305-4, 305-7)
  • สนับสนุนธุรกิจและนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ที่มีแนวโน้มเติบใตในอนาคต
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, หุ้นส่วน, ลูกค้า
  • ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาดของผู้บริโภค
  ลูกค้า, สังคมและชุมชน
การขับเคลื่อนสู่ตลาดความยั่งยืนแห่งอนาคต
  • สอดคล้องและสนับสนุนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาด ความต้องการของลูกค้า และนโยบายภาครัฐ
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ภาครัฐ, ลูกค้า, คู่ค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • สร้างความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นการสร้างคุณค่าและโอกาสทางตลาดแก่บริษัทฯ และคู่ร่วมทางธุรกิจ
  หุ้นส่วน
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม
  • ป้องกันการถูก Disrupt จากผู้เล่นใหม่ในตลาด สร้างจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจ
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, หุ้นส่วน, ลูกค้า, พนักงาน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • ช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเวลาสำหรับการพัฒนาทักษะความสามารถตามความสนใจของตน
  พนักงาน
  • ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ เนื่องจากการพัฒนาหรือจัดหานวัตกรรมมีสามารถส่งเสริมให้นำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการได้ในอนาคต
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน
พนักงานคือหัวใจขององค์กร
  • พนักงานเป็นส่วนขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
  • สร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขัน
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, พนักงาน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Collective bargaining agreements (2-30)
  • Training and Education (404-1, 404-2, 404-3)
  • Freedom of association and collective bargaining (407-1)
  • Diversity and Equal Opportunity (405-1, 405-2)
ประเด็นพื้นฐาน (Fundamental Material Issue)
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
  • เป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและดำเนินกิจการโดยตรง
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ภาครัฐ, สังคมและชุมชน, ลูกค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Water (303-1, 303-2, 303-3, 303-4, 303-5)
  • Emissions (305-7)
  • Effluents and Waste (306-1, 306-2, 306-3, 306-4, 306-5)
  • Environmental Compliance (307-1)
  • ส่งเสริมการพัฒนาพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
  • ตอบสนองต่อนโยบายรัฐ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความเชื่อมั่นต่อองค์กร
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ภาครัฐ, สังคมและชุมชน, ลูกค้า
ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
  • สร้างความเชื่อมั่นสำหรับลูกค้า ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ลูกค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • System Efficiency (EU-1, EU-2, EU-11)
  • Demand Side Management (EU-10)
  • Availability and Reliability (EU-28, EU-29, EU-30)
  • สร้างความมั่นใจนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมทางธุรกิจ
  • สร้างความมั่นคงทางการตลาดให้กับคู่ค้า
  หุ้นส่วน, คู่ค้า
การอยู่ร่วมกับชุมชนสู่ความยั่งยืน
  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน รวมถึงพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชน
  • สร้างภาพลักษณ์ขององค์กร
  • สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงาน
สังคมและชุมชน, พนักงาน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Local Communities (413-1, 413-2)
การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต
  • อาจมีความเสี่ยงใหม่ๆ ในการดำเนินกิจการ กระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ และการให้บริการ
  • กระทบต่อความเชื่อมั่นของบริษัทฯ หากไม่มีการจัดการทีเหมาะสม
  ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ลูกค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Governance (2-16)
การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, หุ้นส่วน, ลูกค้า, คู่ค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Organization Profile (2-11)
  • Governance (2-9, 2-10, 2-11, 2-13, 2-15, 2-23, 2-24, 2-25, 2-26, 2-27)
สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • ลดความเสี่ยงของการสูญเสีย บาดเจ็บ และการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน
  คู่ค้า, พนักงาน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Occupational Health and Safety (403-1, 403-2, 403-3, 403-4, 403-5, 403-6, 403-7, 403-9, 403-10, EU-25)
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
  • ส่งเสริมความพอพึงใจแก่ลูกค้า
  • ดึงดูดลูกรายใหม่
  • ส่งเสริมการให้บริการของหุ้นส่วน
หุ้นส่วน, ลูกค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท
  • รักษาความต่อเนื่องในการดำเนินกิจการ
  • ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ
หุ้นส่วน, ลูกค้า, พนักงาน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Customer Privacy (418-1)
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • ส่งผลกระทบต่อผลกระกอบการและความต่อเนื่องในการดำเนินกิจการ
  • ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท
  • ส่งเสริมคู่ค้าที่มีการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, คู่ค้า
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Health and Safety for Contractor and Subcontractor Employees (EU-17, EU-18)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่
  • ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ภาครัฐ, สังคมและชุมชน
  • Management Approach (3-1, 3-2, 3-3)
  • Biodiversity (304-1, 304-2, 304-3, 304-4)

Note:

(1) Impacts, in each material issue both are actual and/or potential, can be considered in positive and negative.

(2) Financial impact on the Company sorted by the number of red dots that appear in the table, divided into 3 groups: 1.) 3 red dots mean the impact or opportunity from that material issue in the financial aspect to the Company at a “high” level. 2.) 2 red dots mean impact or opportunity from that material issue in financial aspect to the Company at a “moderate” level and 3.) 1 red dot means impact or opportunity from that material issue in financial impact on the Company at a “low” level

เป้าหมายและค่าตอบแทนผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักด้านความยั่งยืน

จีพีเอสซีตั้งเป้าหมายที่สัมพันธ์กับประเด็นหลักด้านความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิผลในระยะยาว เป้าหมายเหล่านี้แบ่งตามกรอบเวลาสามระยะ ได้แก่ เป้าหมายประจำปี ระยะสั้น และระยะยาว ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้และคงระดับผลการดำเนินการไว้ได้ จีพีเอสซีได้มอบหมายให้พนักงานของบริษัท ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับพนักงาน มีหน้าที่บริหารจัดการประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนในรูปแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicator: KPI) ซึ่งสัมพันธ์กับการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีด้วย ทั้งนี้ การปฏิบัติงานได้ตามตัวชี้วัดผลการดำเนินงานนี้จะถูกนำไปใช้พิจารณาค่าตอบแทนของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องด้วย

การนำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานมาใช้การพิจารณาค่าตอบแทนเช่นนี้จะช่วยให้มั่นใจว่า ความมุ่งมาดปรารถนาของบริษัทและเป้าหมายดังกล่าวแทรกซึมอยู่ในการดำเนินงานของทั้งบริษัท และผู้บริหารจะมีส่วนรับผิดชอบต่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ประเด็นสำคัญ
ด้านความยั่งยืน
เป้าหมายปี
พ.ศ. 2565
เป้าหมายระยะสั้น
และระยะยาว
ประเภทสิ่งตอบแทนจูงใจ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่
ผูกโยงกับสิ่งตอบแทน
จูงใจสำหรับผู้บริหาร
พลังงานสะอาดสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • คงระดับความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ไม่เกิน 0.49 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เมกะวัตต์ชั่วโมง
  • ร่วมลงทุนกับปตท. เพื่อเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ
  • เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้เกินร้อยละ 50 ภายในปีพ.ศ. 2573
  • ลดความเข้มข้นการปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 10 และ 35 ภายในปีพ.ศ. 2568 and 2573 (เทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2563)
  • สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปีพ.ศ. 2593 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเหลือศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2603
  • ลดการตัดไม้ทำลายป่าสุทธิเหลือศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2568
  • ปลูกป่าเพิ่มเติม 250 ไร่และรักษาหญ้าทะเลในพื้นที่ 6 ไร่ที่ปลูกในปีพ.ศ. 2564
สิ่งตอบแทนจูงใจที่เป็นตัวเงิน
  • ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/เมกะวัตต์ชั่วโมง และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี)
  • ปริมาณเมกะวัตต์ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น
ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม
  • สร้างความรู้ความเข้าใจของผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ให้แก่ลูกค้าและคู่ค้า
  • พัฒนาโครงการต้นแบบเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานและดำเนินการติดตั้งในอุตสาหกรรมต่างๆ
  • จัดทำ สัญญาหรือข้อตกลงบันทึกความเข้าใจการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่
  • มีผลิตภัณฑ์ที่รองรับในอุตสาหกรรมพลังงานและตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
  • ดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นเป็นองค์กรดิจิทัล
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความได้เปรียบของการแข่งขัน
  • เป็นผู้นำด้านระบบกักเก็บพลังงานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยและเป็นศูนย์กลางการผลิตระบบกักเก็บพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ขยายกำลังการผลิตหน่วยกักเก็บพลังงานไปสู่ระดับ Giga-scale ภายในปีพ.ศ. 2568 และขยายเป็น 5-10 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ภายในปีพ.ศ. 2573
  • จัดตั้งศูนย์นวัตกรรม (R&D center) เพื่อศึกษากระบวนการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของภาครัฐ
  • ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมและดิจิทัล
สิ่งตอบแทนจูงใจที่เป็นตัวเงิน
  • การดำเนินห่วงโซ่คุณค่าแบตเตอรี่
  • การจัดตั้งและดำเนินงานบริษัท นูออโว พลัส (Nuovo Plus)
  • ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากโครงการแฟลช (Flash) และบริษัท นูออโว พลัส (Nuovo Plus)
  • บันทึกความเข้าใจ (MOU)/ สัญญาการพัฒนาร่วม (JDA) กับพันธมิตรเพื่อสร้างอุปสงค์แบตเตอรี่/ธุรกิจใหม่
พนักงานคือหัวใจขององค์กร
  • อัตราการลาออกของพนักงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • มีการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งสำคัญทั้งหมดร้อยละ 100 ภายในปีพ.ศ. 2573
สิ่งตอบแทนจูงใจที่เป็นตัวเงิน
  • ขีดความสามารถองค์กร: การทำแผนสืบทอดตำแหน่งและความพร้อมของกลุ่มบุคคลผู้มีศักยภาพ
  • การบริหารความรู้ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S Curve)
มูลค่าผลกระทบภายนอกจากกิจกรรมของบริษัทฯ

ผลกระทบด้านที่ 1 - ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงเชิงกายภาพ จากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน “พลังงานสะอาดสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์”

สาเหตุของผลกระทบ - ผลกระทบมาจากการดำเนินการในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจกว่าร้อยละ 50

มิติผลกระทบที่ประเมิน – มิติสิ่งแวดล้อมและสังคม

ประเภทผลกระทบที่ประเมิน – ผลกระทบเชิงบวก

คำอธิบาย

บริษัทฯ ประเมินผลกระทบเหล่านี้เนื่องจากมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เนื่องจากทั่วโลกต่างแสดงความกังวลต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยตรงเนื่องจากบริษัทฯ ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหนึ่งในการผลิตพลังงาน ในฐานะผู้ผลิตพลังงานและผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ บริษัทถือว่า “พลังงานสะอาดสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีต่างๆ ทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศ เข้าร่วมและสนับสนุนเครือข่ายภายนอกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อต่อยอดและส่งเสริมธุรกิจและแนวทางคาร์บอนต่ำ เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญในการประเมินผลกระทบภายนอกอันเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวไป เพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ความก้าวหน้า การวางแผนกลยุทธ์ รวมถึงปริมาณมากผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่บริษัทฯ สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรภายนอกเข้าร่วมและแบ่งปันแนวทางคาร์บอนต่ำของตนกับบริษัทฯ

ผลกระทบภายนอก

ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม

ประเภทผลกระทบ มาตรวัดผลกระทบ
(การวัดมูลค่าผลกระทบ)
ผลกระทบที่ประเมินในปี 2565 เอกสารอ้างอิง
เชิงบวก การหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก*
(มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสีย/ ได้รับ)
ก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลังงานด้วยเชื้อเพลิง
ฟอสซิลที่หลีกเลี่ยงได้: 294,505 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
IRIS, 2021.
Greenhouse Gas
Emissions Avoided
(PI2764). v5.2.
เชิงบวก การหลีกเลี่ยงการปล่อยNOx
(มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสีย/ ได้รับ)
NOx จากการผลิตพลังงานด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล
หลีกเลี่ยงได้: 31.34 ตัน
N/A
เชิงบวก การหลีกเลี่ยงการปล่อยSOx
(มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสีย/ ได้รับ)
SOx จากการผลิตพลังงานด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่
หลีกเลี่ยงได้: 8.75 ตัน
N/A
เชิงบวก การหลีกเลี่ยงการปล่อยฝุ่น
(มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสีย/ ได้รับ)
ฝุ่นที่หลีกเลี่ยงได้จากการผลิตพลังงาน
ด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล: 1.18 ตัน
N/A

หมายเหตุ: * มาตรวัดปริมาณ หมายถึง มาตรวัดผลการดำเนินการที่อยู่ในรายการของมาตรฐานการรายงานผลกระทบและการลงทุน (Impact Reporting & Investment Standards: IRIS) และได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดเป้าผลผลิตเพื่อใช้วัดความสำเร็จด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบภายนอกด้านสังคม

ประเภทผลกระทบ มาตรวัดผลกระทบ
(การวัดมูลค่าผลกระทบ)
ผลกระทบที่ประเมินในปี 2565 เอกสารอ้างอิง
เชิงบวก ต้นทุนทางสังคมที่สร้าง/หลีกเลี่ยงได้
(ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน)
ต้นทุนทางสังคมจากการลดคาร์บอน
อันเนื่องมาจากผลกระทบด้านสุขภาพของผู้คน
ลดลงจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: 17,136.29 ดอลลาร์สหรัฐฯ*
IRIS, 2021. Social Impact
Objectives (OD6247).
v5.2.

หมายเหตุ: * ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน (Social cost of carbon: SCC) หมายถึง ความเสียหายทางสังคมส่วนเพิ่มจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ณ เวลาหนึ่งๆ (มีหน่วยคือ เงิน/ จำนวนการเสียชีวิตแต่ละรายที่เพิ่มขึ้นมา) ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนระบุได้ด้วยการใช้ต้นทุนจากการเสียชีวิตเนื่องด้วยคาร์บอน (Mortality cost of carbon: MCC) (มีหน่วยคือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา/ จำนวนการเสียชีวิตแต่ละรายที่เพิ่มขึ้นมา). (Bressler, R.D. The mortality cost of carbon. Nat Commun 12, 4467 (2021). https://doi.org/10.1038/s41467-021-24487-w)

ผลกระทบที่ 2 - การจัดการนวัตกรรมจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน "การขับเคลื่อนสู่ตลาดความยั่งยืนแห่งอนาคต"

สาเหตุของผลกระทบ – ผลกระทบมาจากสินค้า/บริการและห่วงโซ่อุปทานในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ ครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจกว่าร้อยละ 50

มิติผลกระทบที่ประเมิน – ผู้บริโภค/ ผู้ใช้ปลายทาง

ประเภทผลกระทบที่ประเมิน – ผลกระทบเชิงบวก

คำอธิบาย

บริษัทฯ ประเมินผลกระทบเหล่านี้เนื่องจากมีความสำคัญผู้บริโภค/ ผู้ใช้งานปลายทาง ซึ่งได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญและถือเป็นโอกาสธุรกิจ S-curve เนื่องจากแนวโน้มด้านยานพาหนะไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ระบบกักเก็บพลังงานเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศพลังงาน บริษัทฯ จึงดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเร่งพัฒนานวัตกรรม อันได้แก่การวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ดำเนินโครงการนำร่องการผลิต และนำไปประยุกต์กับหุ้นส่วน/ลูกค้า นอกจากประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ เช่น อายุการใช้งานที่นานกว่าเดิม ใช้วัสดุและสารเคมีน้อยลง และมีความเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจรต่ำลง ผู้บริโภค/ผู้ใช้งานปลายทางยังสามารถประหยัดค่าไฟด้วยการใช้แบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานที่ผลิตใช้เอง อันช่วยเพิ่มเสถียรภาพและความยืนหยุ่นด้านพลังงาน

ผลกระทบภายนอก

ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม

ประเภทผลกระทบ มาตรวัดผลกระทบ
(การวัดมูลค่าผลกระทบ)
ผลกระทบที่ประเมินในปี 2565 เอกสารอ้างอิง
เชิงบวก ความจุในการกักเก็บพลังงาน*
(อื่นๆ)
ปริมาณพลังงานที่กักเก็บ: 28,811.64 เมกะวัตต์ชั่วโมง /ปี IRIS, 2022. Energy Storage Capacity (PI0915). v5.3.
เชิงบวก การลดของเสียจากผลิตภัณฑ์ที่ขายไป
(มูลค่าทางสิ่งแวดล้อมที่สูญเสีย/ ได้รับ)
ของเสียลดลงจากการออกแบบใหม่ที่ลดวัสดุไม่จำเป็นได้ร้อยละ 40 และไม่ต้องใช้สารยึดในการนำแบตเตอรี่โมดูลมาประกอบกัน: ลดการใช้วัสดุอย่างน้อยร้อยละ 40 IRIS, 2021. Waste Reductions from Products Sold (PI5926). v5.2.

หมายเหตุ: * มาตรวัดปริมาณ หมายถึง มาตรวัดผลการดำเนินการที่อยู่ในรายการของมาตรฐานการรายงานผลกระทบและการลงทุน (Impact Reporting & Investment Standards: IRIS) และได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดเป้าผลผลิตเพื่อใช้วัดความสำเร็จด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบภายนอกด้านสังคม

ประเภทผลกระทบ การประเมินมูลค่าผลกระทบ
(การวัดมูลค่าผลกระทบ)
ผลกระทบที่ประเมินในปี 2565 เอกสารอ้างอิง
เชิงบวก ลูกค้าประหยัดต้นทุนจากการซื้อ
พลังงานจากแหล่งภายนอก (อื่นๆ)
ต้นทุนที่ลูกค้าประหยัดได้จากการซื้อ
พลังงานจากแหล่งภายนอก:
2,557,563.94 ดอลลาร์สหรัฐฯ /ปี*
N/A
เชิงบวก ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน
(ต้นทุนทางสังคมที่สร้าง/หลีกเลี่ยงได้)
ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนลดลง
เนื่องจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่
ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน:
4,040.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ /ปี**
IRIS, 2021. Social
Impact Objectives
(OD6247). v5.2.

หมายเหตุ:

* มูลค่านี้คำนวณจากอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้งาน คือ 3,109.7 บาท/เมกะวัตต์ชั่วโมง (อัตราค่าไฟฟ้าของธุรกิจขนาดกลาง การไฟฟ้านครหลวง, https://www.mea.or.th/profile/109/113 ) และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของปี 2565 คือ35.0316 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐฯ (เว็บไซต์ Exchange Rates UK, https://www.exchangerates.org.uk/USD-THB-spot-exchange-rates-history-2022.html ). สมมติฐานที่ใช้ คือ ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้เท่ากับต้นทุนพลังงานจากการไฟฟ้าแห่งประเทศไทยที่ทดแทนด้วยพลังงานที่ผลิตเองที่กักเก็บด้วยผลิตภัณฑ์ของจีพีเอสซี (แบตเตอรี่)

** ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน (Social cost of carbon: SCC) หมายถึง ความเสียหายทางสังคมส่วนเพิ่มจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ณ เวลาหนึ่งๆ (มีหน่วยคือ เงิน/ จำนวนการเสียชีวิตแต่ละรายที่เพิ่มขึ้นมา) ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนระบุได้ด้วยการใช้ต้นทุนจากการเสียชีวิตเนื่องด้วยคาร์บอน (Mortality cost of carbon: MCC) (มีหน่วยคือ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา/ จำนวนการเสียชีวิตแต่ละรายที่เพิ่มขึ้นมา). (Bressler, R.D. The mortality cost of carbon. Nat Commun 12, 4467 (2021). https://doi.org/10.1038/s41467-021-24487-w )