Global Reporting Initiative (GRI) is the organization that initiates the international report which is used as a prototype of preparing a report of sustainable development.
Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) is a family of capital indices that assesses the effectiveness of business operations according to the guideline of sustainable development of the world’s leading companies which the worldwide funds use it as the investment criteria.
Sustainable Development Goals (SDGs) is a set of sustainable development goals under the United Nations (UN), comprising 17 main objectives to be achieved and implemented by 2030
World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) is the committee of business persons operating business for the world’s environment. This committee comprises business persons from the groups of more than 120 international leading companies that are officially accredited in the “Earth Summit” in 1992.
Carbon Disclosure Project (CDP) is the global institution highly recognized by its environmental management.
ISO 26000 is an international standard for social responsibility.
UN Global Compact (UNGC) is a United Nations initiative that incorporates into business policies and strategies so companies can uphold to the accepted international standards in the area of human rights, labor, environment and anti-corruption.
Integrated Reporting (IIRC) is integrated report is a concise communication about how an organization’s strategy, governance, performance and prospects, in the context of its external environment, lead to the creation of value over the short, medium and long term.
Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) is a disclosure of a climate risk, strategies as well as operational goal in order to the company can deal with climate change that might affects the financial performance.

กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. (PTT Group Sustainability Management Framework)

กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. โดยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติในระดับสากลที่เกี่ยวข้อง เช่น Vision 2050: World Business Council for Sustainable Development (WBCSD), United Nations Global Compact (UNGC), ISO 26000: 2010, Global Reporting Initiative (GRI), Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) เป็นต้น ประกอบด้วยแนวปฏิบัติและตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบ

กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท. ประกอบด้วยแนวปฏิบัติและตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบ

การกำกับดูแลองค์กร

การกำกับดูแลองค์กร คือ ระบบที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการกำหนด ควบคุม และตัดสินใจเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ อาจประกอบด้วยกลไกการกำกับดูแลบนพื้นฐานของโครงสร้างและกระบวนการที่มีความชัดเจนเป็นทางการ ควบคู่กับกลไกที่เกิดจากการผสานวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกลไกเหล่านี้มักได้รับแรงผลักดันมาจากผู้นำภายในองค์กร การกำกับดูแลองค์กรมีบทบาทสำคัญต่อองค์กรทุกประเภท เนื่องจากเป็นกรอบการพิจารณาและตัดสินใจขององค์กร

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพที่บุคคลพึงมี บุคคลในที่นี้ครอบคลุมถึงสังคมชุมชน ตลอดจนผู้ค้าในสายโซ่อุปทานของธุรกิจ ปตท. นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึง สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทรัพยากร น้ำ ที่ดิน ป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า แหล่งประมง ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ไร้มลภาวะ เป็นต้น กลุ่ม ปตท. เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสิทธิแต่กำเนิดและสิทธิที่เท่าเทียมกันอันจะเพิกถอนมิได้ของแต่ละบุคคล โดยยึดมั่นต่อหลักการขององค์กรสากลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึง United Nations Global Compact (UNGC), United Nations Universal Declaration of Human Rights (UNUDHR) และ United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights (Ruggie Framework)

บุคลากรองค์กร

การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องผสานการจัดการในหลายมิติที่เกี่ยวเนื่องกัน นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การพัฒนา และการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร รวมถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงานเพื่อให้สามารถนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ หลักสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นต้องเข้าใจและเคารพสิทธิแรงงาน กล่าวคือ สิทธิตามกฎหมายและสิทธิมนุษยชนอันพึงมีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในขอบข่ายการทำงานที่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานและการจ้างงาน จึงมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง เช่น สิทธิในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย สิทธิในการก่อตั้งสหภาพแรงงานหรือการเจรจาต่อรองเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบต่อลูกจ้างสิทธิประโยชน์ของพนักงานต่างๆ เช่น การได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ระยะเวลาการทำงาน ค่าแรงขั้นต่ำ การป้องกันการบังคับใช้แรงงาน การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนสวัสดิการอื่นๆ เป็นต้น

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นที่จะสร้างความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานและชุมชน ตลอดจนรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ โดยมีแนวทางการจัดการเชิงรุกเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ผสมผสานเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ดีที่สุดเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการป้องกันและเฝ้าระวังต่อประเด็นอุบัติใหม่ที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้น

การดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม

การดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม หมายถึง การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน มุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดทางการค้าหรือการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้มีอำนาจเหนือตลาด ป้องกันการทุจริต คอรัปชั่นในองค์กร และการบิดเบือนกลไกการแข่งขัน อันจะทำให้องค์กรอื่นและผู้บริโภคเสียเปรียบ

การเป็นองค์กรที่ดีของสังคม

ความสนใจของสาธารณชนต่อบทบาทการดำเนินงานเพื่อสังคมขององค์กรนำมาซึ่งความคาดหวังต่อองค์กรในการยกระดับความสามารถเพื่อผลักดันธุรกิจไปสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนอีกทั้งยังคาดหวังในบทบาทหน้าที่ขององค์กรในฐานะการเป็นองค์กรที่ดีของสังคม

การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน

การจัดจ้างภายนอกเพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริการและกระบวนการทางธุรกิจแทน ปตท. อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์ขององค์กร ทำให้ต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสซึ่งมีรูปแบบแตกต่างไปจากความเสี่ยงขององค์กรที่เกิดจากกิจกรรมและบริการที่ดำเนินการโดยองค์กรเอง กลุ่ม ปตท.จึงมุ่งมั่นในการบริหารจัดการสายโซ่อุปทานตามหลักการของ United Nations Global Compact (UNGC) โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจกับผู้ค้าที่ดำเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานและมาตรฐานสากล รวมถึงการนำหลักการความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ

กลุ่ม ปตท. มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามมาตรฐานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ ไม่จำกัดเพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ควบคุมกฎหมาย/ข้อกำหนด และสาธารณะชนทั่วไปทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

การจัดทำรายงานและการส่งเสริมชื่อเสียงองค์กร

การรายงานด้านความยั่งยืน คือ การเปิดเผยผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการรายงาน แสดงความมุ่งมั่นขององค์กร แนวทางการบริหารจัดการ ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เชื่อมโยง โปร่งใส และมีความสมดุลสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกลุ่ม ปตท. มีความมุ่งมั่นที่จะรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการรายงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ Global Reporting Initiatives (GRI)

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร โดยอาจได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น พนักงาน หน่วยงานภาครัฐ ผู้บังคับใช้กฎหมาย ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้ค้า สมาคมอุตสาหกรรม ผู้นำทางความคิด และชุมชน เป็นต้น ดังนั้น การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงนับเป็นหลักสำคัญของการบริหารจัดการความยั่งยืนซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง การดำเนินการ และยุติการดำเนินการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรึกษาหารือเพื่อสร้างความเข้าใจและไว้วางใจ การปรับปรุงการออกแบบและบริหารจัดการการดำเนินงานที่มีการนำประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ดังนั้น คุณค่าของการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีช่องทางการสื่อสารที่มีแบบแผน และรูปแบบของการมีส่วนร่วมนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของประเด็นที่เกี่ยวข้อง จำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเนื้อหาที่จะนำเสนอ

กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท.