GRI 102-12, 102-40,
102-42, 102-43, 102-44

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ จีพีเอสซี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์อันดีบนพื้นฐานของความไว้วางใจ ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กรเป็นทรัพย์สินอันมีค่าที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์และโอกาสในการหยุด ชะงักทางธุรกิจ พร้อมทั้งสามารถสร้างคุณประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน บริษัทฯ มีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจและรับข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินธุรกิจของจีพีเอสซี

คู่มือปฏิบัติการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย

ในปี 2564 บริษัทฯ ได้มีการทบทวนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมระบุและจัดลำดับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ เป็นประจำทุกปี รวมทั้งหาแนวทางในการตอบสนองต่อความคาดหวังและประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนจัดทำแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่อไป โดยบริษัทฯ แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป็น 8 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ถือหุ้น 2) นักลงทุน 3) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) กลุ่มพนักงาน 5) กลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา 6) กลุ่มหุ้นส่วนทางธุรกิจ 7) กลุ่มลูกค้า และ 8) กลุ่มชุมชนและสังคม ทั้งนี้ รูปแบบการสื่อสารและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การเปิดช่องทางในการสื่อสารที่ หลากหลาย ได้แก่ เว็บไซต์บริษัทฯ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ จดหมาย และอื่นๆ
  • กิจกรรมเยี่ยมชมกิจการบริษัทฯ ปีละ 1 ครั้ง
  • การเยี่ยมชมกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในประเทศและต่างประเทศ
  • การสำรวจมุมมองและการสัมภาษณ์ผู้แทนกลุ่มผู้ถือหุ้น
  • การจัดกิจกรรมสร้างและรักษา ความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถือหุ้น
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ต่างๆ ในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน เช่น การซักถามและออกเสียงลงคะแนน
  • การนำเสนอข้อมูลเพื่อการลงทุน (ผ่านการ Roadshow และ IR Activity ต่างๆ)
  • รายงานประจำปี
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • ผลประกอบการที่ดี ราคาหุ้นและเงินปันผลที่ได้รับอยู่ในเกณฑ์สูง
  • มีการขยายการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
  • ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ และการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยง การร่วมลงทุนและพัฒนา
  • นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การลงทุนทางธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน
  • การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิต่างๆในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน
  • การเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียม
กลุ่มนักลงทุน
ธนาคาร สถาบันการเงิน / ผู้ถือหุ้นกู้ / บริษัทจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือ / นักวิเคราะห์
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การให้การสนับสนุนและบริการทางการเงินต่างๆ เช่น Corporate Loan / Project Finance / Trade Finance / FX / Derivative / ออกหุ้นกู้ / ออกหุ้นสามัญ / Investment Banking / Financial Advisor ตามโอกาส
  • การจัดกิจกรรม annual credit review อย่างน้อยปีละครั้ง
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ทุกไตรมาส
  • การจัดกิจกรรม Deal Roadshow / Non-Deal Roadshow ตามโอกาส
  • การรับข้อเสนอแนะทางจดหมายและในระหว่าง IR Event ต่างๆ ตามโอกาส
  • การนำเสนอข้อมูลเพื่อการลงทุน (ผ่าน Opportunity day การเดินทางไปพบนักลงทุน และ IR Activity ต่างๆ)
  • การเข้าพบผู้บริหารเพื่อ update โครงการและสถานการณ์ต่างๆ ตามโอกาส
  • การเดินทางไปพบนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในและต่างประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามแผน
  • กิจกรรมเยี่ยมชมกิจการบริษัทฯ ปีละ 1 ครั้ง
  • การเปิดช่องทางในการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท จดหมาย Social Media และอื่นๆ
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มนักลงทุน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การตอบแบบประเมินด้าน ESG
  • การเผยแพร่การดำเนินงานของบริษัทผ่านรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) /รายงานความยั่งยืน /รายงานทางการเงิน
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • ผลประกอบการที่ดี ราคาหุ้นและเงินปันผลที่ได้รับอยู่ในเกณฑ์สูง
  • มีการขยายการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
  • ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ และการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ
  • การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ มีบรรษัทภิบาล หรือ ESG
  • การร่วมลงทุนและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งด้านการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมีบรรษัทภิบาล หรือ ESG
  • การให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเพียงพอต่อการคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการบริษัท
  • ความถูกต้องของ IR Materials ที่ใช้นำเสนอผลการดำเนินงานของบริษัทแต่ละไตรมาส
  • ความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงอัตราส่วนทางการเงิน ระดับหนี้สิน และความสามารถในการชำระหนี้
  • การร่วมลงทุนและพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัททั้งด้านการเงิน และด้าน ESG
  • ราคาหุ้น ผลตอบแทนและเงินปันผลที่ได้รับอยู่ในเกณฑ์สูง (Maximize value to shareholder)
  • ระดับ debt covenant ที่ 2.5 เท่า อัตราส่วนทางการเงิน สภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ความสามารถในการชำระหนี้
  • ขนาดและการเติบโตของกิจการ (สินทรัพย์)
  • ความมั่นคงของรายได้และกระแสเงินสด
  • อัตราส่วนทางการเงินและระดับหนี้สิน
  • จัดตั้งคณะทำงานการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต (Crisis Management Team) ภายใต้ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์ภายในและภายนอก ร่วมกับกลุ่ม ปตท.
กลุ่มหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานราชการ / รัฐวิสาหกิจ / องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตลอดจน หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแล หรือให้ ความเห็นชอบในใบอนุญาต ต่างๆ ของบริษัทฯ
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การรายงานผลการดำเนินธุรกิจและผลการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตามความถี่ที่หน่วยงานกำหนด
  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการของหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
  • การเข้าร่วมเป็นคณะทำงานในประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐขอความร่วมมือ
  • การจัดงานสัมมนากลุ่มรัฐกิจสัมพันธ์บริษัทในเครือ ปตท.
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การเป็นสถานที่ศึกษาดูงานในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ให้กับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตามนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดต่างๆของหน่วยงานกำกับ / หน่วยงานอนุมัติอนุญาต
  • การรายงานผลการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน
  • การสนับสนุนกิจกรรมและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ
  • ช่องทางการสื่อสารระหว่างบริษัทฯ กับกลุ่มหน่วยงานราชการ เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จดหมาย Social Media และอื่นๆ
  • การเข้าร่วมเป็นกรรมการในสภาอุตสาหกรรมเพื่อนำเสนอความคิดเห็นต่างๆ ต่อหน่วยงานภาครัฐ
  • การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมทางการค้าหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการผลิตไฟฟ้าเพื่อนำเสนอแนวทาง ความคิดเห็น ต่อหน่วยงานภาครัฐ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และนโยบายของการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่รวมถึงการเปิดเผย การส่งข้อมูล และรายงานที่ถูกต้อง
  • การขยายสัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานของประเทศที่รวมถึงพลังงานหมุนเวียน
  • การดูแลรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน
  • ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยที่ดี
  • การให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการ / กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ
  • มีกลยุทธ์ แผนงาน เป้าหมายและการดำเนินงานในการบรรเทาปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การเป็นสถานที่เยี่ยมชมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารจัดการด้านต่างๆ ของบริษัทฯ
กลุ่มพนักงาน
ผู้บริหาร / พนักงาน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร (Employee Engagement Survey) ประจำปี
  • การเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ และการร้องเรียนผ่านระบบรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ทางช่องทางต่างๆ
  • การจัดการประชุมใหญ่ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้บริหารมีโอกาสพูดคุยกับพนักงาน (Town Hall Meeting)
  • การสื่อสารภายใน (Internal Communication) ผ่านช่องทางต่างๆ
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มพนักงาน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
  • จัดให้มีช่องทางสื่อสารระหว่างบริษัทฯ และพนักงาน เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์ จดหมาย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Social Media และอื่นๆ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ของพนักงานให้สอดคล้องกับทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ
  • การดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน รวมถึงสุขภาวะและ ความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี โอกาสและความก้าวหน้าในสายอาชีพ
  • ระบบการประเมินผลงานที่เป็นธรรม
  • ความมั่นคงของรายได้
  • การปฎิบัติที่เท่าเทียม
  • การพัฒนาความเป็นผู้นำ
  • การรักษาพนักงานที่มีศักยภาพขององค์กร (Talent Retention)
  • กำหนดมาตรการและแนวทางในการป้องกันการติดเชื้ออย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของพนักงานทุกคน
กลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • กิจกรรมสัมมนาคู่ค้า (Supplier Day) ประจำปี
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มคู่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • การตรวจประเมินคู่ค้าประจำปี โดยมีการแจ้งผลและให้ข้อแนะนำกับคู่ค้า
  • การสำรวจความคิดเห็น ความพึงพอใจของคู่ค้า
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและช่องทางสื่อสารระหว่างบริษัทฯ และคู่ค้าและผู้รับเหมา เช่น เว็บไซต์ โทรศัพท์ จดหมาย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Social Media และอื่นๆ
  • กิจกรรมสร้างสัมพันธ์กับคู่ค้าที่สำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • การแข่งขันที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ
  • ความสัมพันธ์และความร่วมมือ เติบโตไปด้วยกัน
  • ระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และ ตรวจสอบได้
  • มีนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเป็นธรรม ชัดเจน โปร่งใสและตรวจสอบได้
  • ปฎิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ และไม่เอาเปรียบคู่ค้า
  • ข้อกำหนดการจัดซื้อไม่ซับซ้อน
  • การให้ความสำคัญกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
  • การพัฒนาธุรกิจร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดในอนาคต เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
  • การให้การสนับสนุน พัฒนาคู่ค้า (ผู้รับเหมา/ผู้ส่งมอบ) ให้มีแนวปฏิบัติที่ดีและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

การดำเนินงานของบริษัทฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมการดำเนินงานที่สำคัญ โปรดคลิ๊กที่หัวข้อ)
กลุ่มหุ้นส่วน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ทางธุรกิจร่วมกัน
  • เชิญกลุ่มหุ้นส่วนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหุ้นส่วนกลุ่มนั้นๆ
  • ร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มหุ้นส่วนของบริษัทฯ
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มผู้แทนกลุ่มหุ้นส่วน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • ช่องทางในการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ การประชุม การเจรจาธุรกิจการค้า เว็บไซต์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ Social Media และอื่นๆ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • คุณค่าจากความร่วมมือกันของหุ้นส่วนในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
  • การสร้างความไว้วางใจ ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดี เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจร่วมกันในระยะยาว
  • สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจอย่างยั่งยืนร่วมกัน
  • การดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยพื้นฐานของความเป็นธรรม
  • ร่วมสร้างนวัตกรรมและรูปแบบธุรกิจที่สร้างคุณค่า เพื่อโอกาสทางธุรกิจใหม่ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรสำหรับธุรกิจการผลิตไฟฟ้าร่วมกัน

การดำเนินงานของบริษัทฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมการดำเนินงานที่สำคัญ โปรดคลิ๊กที่หัวข้อ)
กลุ่มลูกค้า
ลูกค้าสัญญาระยะยาว / ลูกค้าสัญญาระยะสั้น
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าประจำปี (Customer Satisfaction & Engagement survey
  • กิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ แบ่งตามช่วงเวลาต่างๆ ทั้งรายเดือน รายไตรมาส และรายปี เช่น กอล์ฟประจำปี กีฬาสานสัมพันธ์ จัดสัมมนา เป็นต้น
  • การประชุมรายเดือน หรือไตรมาส เพื่อติดตาม และรายงานเกี่ยวกับแผนงานความ ต้องการใช้ (Demand Plan) แผนการเตรียมความพร้อม และแผนการซ่อมบำรุง และการติดตาม การแก้ปัญหาต่างๆ
  • จัดทำ EnergyLens Application สำหรับให้ลูกค้าตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงาน ไฟฟ้าและไอน้ำของตนเองในขณะปัจจุบัน (real time) หรือประวัติการใช้ย้อนหลังได้ และรวมรวมข้อมูลอื่นๆ เช่น รายงานค่าจ่ายประจำเดือน, คู่มือการติดต่อสื่อสารกับทางบริษัทฯ
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มลูกค้า เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและช่องทางในการสื่อสารต่างๆ กับกลุ่มลูกค้า เช่น เว็บไซต์ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ จดหมาย Social Media และอื่นๆ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • การปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เช่น การจ่ายไฟฟ้าได้ตามเงื่อนไขใน PPA, การส่งเอกสารตามกำหนด, การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพเป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า, การควบคุมโรงไฟฟ้าตามเงื่อนไขในสัญญาและข้อกำหนด
  • การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาด้วยราคาที่เป็นธรรมตามการกำกับดูแลของกกพ.
  • ความมั่นคงของระบบการผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้า
  • มีความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าตามความต้องการของลูกค้าตามที่ระบุไว้ในสัญญา
  • การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยมีทีมงานที่มีความรู้ความสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
  • การมีช่องทางการติดต่อกับลูกค้าที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย
  • การพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทฯ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • มีทีมเทคนิค Support ที่มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
  • การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์
  • การปฏิบัติต่อลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ร่วมกัน

การดำเนินงานของบริษัทฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมการดำเนินงานที่สำคัญ โปรดคลิ๊กที่หัวข้อ)
กลุ่มชุมชนและสังคม
ชุมชนรอบพื้นที่โครงการใหม่ / ชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า / หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น / NGOs / สมาคมส่วนท้องถิ่น / สื่อมวลชน (ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น)
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • การจัดประชุมคณะกรรมการไตรภาคี (หน่วยงานราชการ, หน่วยงานเอกชน, ชุมชนท้องถิ่น)
  • การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับทางจังหวัดและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีต่อบริษัทฯ
  • การสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรปกครองระดับจังหวัด/ ส่วนท้องถิ่น
  • จัดประชุมชี้แจงการดำเนินการโรงไฟฟ้า จัดให้มีการสัมมนาและเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านระบบสื่อสารแบบออนไลน์
  • การสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยหน่วยงานภายนอก 2 ปี /ครั้ง
  • จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ต่างๆ/ การลงพื้นที่พบปะผู้แทนชุมชนและบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
  • การเปิดให้ชุมชนเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า (Open House)
  • การจัดประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA), ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP)
  • การสำรวจมุมมอง ความคาดหวังของผู้แทนกลุ่มผู้แทนกลุ่มชุมชนและสังคม เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและช่องทางในการสื่อสารต่างๆ กับกลุ่มชุมชนและสังคม เช่น เว็บไซต์ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ จดหมาย Social Media สื่อท้องถิ่น และอื่นๆ
  • การจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์
  • การเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ
ประเด็นที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
  • การบริหารจัดการลดผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยความใส่ใจ
  • การดำเนินธุรกิจด้วยความปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • การสื่อสารสร้างความเข้าใจการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างมีแผนงานที่ชัดเจน
  • การส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้กับชุมชน
  • การสนับสนุนกิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้ความรู้ ทักษะ ความชำนาญของบริษัทฯ มาพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า
  • การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • คำนึงถึงการใช้น้ำของภาคประชาชน
  • การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  • การเปืดโอกาสและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินงานด้วยการจ้างงานและการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น
  • การให้ความช่วยเหลือชุมชนและสังคมจากสถานการณ์ COVID-19
ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)

คุณอาจสนใจเมนูที่เกี่ยวข้องอื่นๆ