ความคืบหน้าเชิงปริมาณเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ: 100%
GRI 304-3
บริษัทฯมีพื้นที่ปฏิบัติงานสองแห่ง (GHECO-One และ SPP3) ที่ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่ามีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่เหล่านี้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นคือผลกระทบเล็กน้อยต่อไข่และตัวอ่อนของพันธุ์สัตว์น้ำ
ตามคำแนะนำจากการศึกษานิเวศวิทยาในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในปี 2555 บริษัทฯ ต้องปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น ปูม้า และ ตัวอ่อนกุ้ง ซึ่งเป็นพันธุ์ท้องถิ่นใกล้เคียงในพื้นที่มาบตาพุดอย่างน้อย 1-2 ล้านตัว ต่อปี ระหว่างปี 2558-2560 บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูสัตว์น้ำโดยปล่อยไข่และตัวอ่อนของสัตว์น้ำในท้องถิ่นประมาณ 10 ล้านตัว เช่น ปูม้าและตัวอ่อนกุ้ง บริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ GHECO-one และ SPP3 นอกจากนี้ เพื่อเป็นการปกป้องและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยทางทะเล บริษัทฯได้เสร็จสิ้นการสร้างแนวปะการังเทียมจากทางมะพร้าวจำนวน 50 แห่ง
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง ทางบกและทางทะเลในปี 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่สำคัญในจังหวัดระยอง มีผลสรุปดังนี้
ผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
การปนเปื้อนของโลหะหนักในตะกอนและเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ
สำหรับระดับการปนเปื้อนตะกอนอยู่ภายใต้มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำถูกพบในปริมาณที่ต่ำมาก ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานทางกฎหมายทั้งหมด
ความอุดมสมบูรณ์และความหนาแน่นของสายพันธุ์ต่างๆ
สำหรับแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเล ความอุดมสมบูรณ์และความหนาแน่นของสายพันธุ์อยู่ในระดับเกือบเท่ากันกับการวัดครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่าคุณภาพน้ำอยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลสามสายพันธุ์ที่โดดเด่นในพื้นที่และเป็นสายพันธุ์ทั่วไปที่พบในระบบนิเวศทางทะเล
สำหรับไข่และตัวอ่อน แนวโน้มความอุดมสมบูรณ์และความหนาแน่นของสายพันธุ์ในแต่ละจุดมีความคล้ายคลึงกัน
สามสปีชีส์ที่โดดเด่นมีดังนี้: (A ) Nemipterusfurcosus, (B) Eubleekeria splendens และ (C) Lutjanus lutjanus
(A) Nemipterus furcosus (Forktailed threadfin bream or ทรายแดง)
(B) Eubleekeria splendens (Striped ponyfish or แป้นเมือก)
(C) Lutjanus lutjanus (Bigeye snapper or กะพงข้างเหลือง)
ผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพบนบก
การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
สายพันธุ์พืชทั้งหมดที่พบในสถานที่สำรวจเป็นสายพันธุ์พืชทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าแดง นอกจากนี้ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าไม่มีสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่
ตัวอย่างพันธุ์พืชในพื้นที่สำรวจ
การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า
สายพันธุ์สัตว์ป่าที่พบในสถานที่สำรวจทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ในป่าอนุรักษ์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในพื้นที่ป่าชุมชนมาบจันทร์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหารของนกและงู ในพื้นที่ที่พบนกและค้างคาวกินผลไม้สามารถช่วยส่งเสริมการกระจายของพืชได้ ดังนั้นสายพันธุ์ของสัตว์ป่าที่สำรวจจึงสามารถพบเห็นได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าไม่มีสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ซึ่งอยู่ในบัญชีแดงของ IUCN, แหล่งมรดกโลก, อนุสัญญาแรมซาร์, โครงการมนุษย์และชีวมณฑลของ UNESCO และกฎหมายและกฎระเบียบแห่งชาติในพื้นที่ที่อยู่ห่างจากสถานที่ปฏิบัติการของ GPSC ในระยะ 5 กม.
ตัวอย่างพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่สำรวจ
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geo-database)
ฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้รับการพัฒนาในรูปแบบของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยการบูรณาการ ข้อมูลเชิงพื้นที่และคุณลักษณะที่รวบรวมจากแต่ละสถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องจาก GPSC หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และภาพถ่ายดาวเทียม
การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีข้อมูลการสะท้อนคลื่นในรูปแบบต่างๆมีข้อจำกัดเนื่องจากแผนผังการศึกษามีขนาดเล็กกว่าความละเอียดของภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง แต่การเปลี่ยนแปลงยังคงสังเกตได้จากสี ที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
ผลลัพธ์จะถูกนำมาใช้สำหรับการตรวจสอบด้านกายภาพและชีวภาพรวมถึงทรัพยากรทางธรณีวิทยา อุณหภูมิปริมาณน้ำฝน ทรัพยากรพืช และสัตว์ป่า
ตัวอย่างฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ในรูปแบบของ GIS
แผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ:
จากผลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ เรามีสถานที่ดำเนินงานเพียงสองแห่งที่อาจมีผลกระทบเล็กน้อยต่อความหลากหลายทางชีวภาพในสถานที่ดำเนินงานใกล้เคียงคือโครงการ GHECO-One และ SPP3 บริษัทฯ ได้พัฒนาแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อหลีกเลี่ยง (Avoid) ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง การลดผลกระทบ (Minimize) โดยปรับปรุงการดําเนินการให้ดีขึ้น ฟื้นฟู (Restore) และเฝ้าระวังรักษาระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบ และการชดเชย (Offset) ความสูญเสียที่เกิดขึ้นตามผลการศึกษา EIA และหลักการการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้นนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตระหนักอย่างจริงจังถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ซึ่งถือเป็น แรงผลักดันให้บริษัทฯ จัดทำแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับสถานที่ปฏิบัติงานทั้งหมดในกรณีที่เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
บริษัทฯ ได้ศึกษาและจัดทำแผนการดำเนินงานในด้านทรัพยากรชีวภาพทางทะเลเพื่อดำเนินโครงการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานวิชาการที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำในการปล่อยปลาประจำปี เช่น โครงการธนาคารปูม้า โครงการธนาคารไข่หมึก โครงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และโครงการปะการังเทียม มีการประเมินความยั่งยืนของแผนการดำเนินการทั้งหมดเพื่อแนะนำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดของสัตว์น้ำที่จะถูกปล่อยลงทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอดของสัตว์ที่ถูกปล่อยออกมาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญภายนอก บริษัทฯ มีแผนการที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของสัตว์ที่ถูกปล่อยและสถานที่ปล่อยเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นอาหารของสัตว์นักล่าท้องถิ่น นอกจากนี้บริษัทจะดำเนินการสำรวจให้กับชาวประมงในชุมชนเพื่อกำหนดปริมาณและสายพันธุ์ของสัตว์น้ำที่จับได้เป็นพื้นฐานสำหรับการเปรียบเทียบแนวโน้มทรัพยากรธรรมชาติเป็นระยะๆ
ข้อตกลงไม่ตัดไม้ทำลายป่าสุทธิ
บริษัทฯ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรภายนอก เช่น กรมป่าไม้ เพื่อปกป้อง ฟื้นฟูพื้นที่ป่า และปฏิบัติตามกฎระเบียบของเขตอนุรักษ์ของไทยและสากล รวมไปถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับพันธุ์พืชอนุรักษ์ บริษัทฯ ให้คำมั่นในการ 'ไม่ทำลายป่าสุทธิ'; การปลูกป่าในอนาคตเพื่อชดเชยการสูญเสียป่าในปัจจุบันหรือการขยายพื้นที่ป่าเมื่อเป็นไปได้และจะไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้คนและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่ภายในปี 2568 มีการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะทำให้การปฏิบัติตามกฎระเบียบของป่าไม้และมาตรฐานที่บังคับใช้ทั่วทั้งกลุ่ม ตรวจสอบและผลักดันประสิทธิภาพการปลูกต้นไม้ผ่านระบบการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามความมุ่งมั่นทั่วทั้งกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย "ปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ" ภายในปี 2025 บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทั้งหมดโดยตระหนักว่าบริษัทฯ ไม่สามารถทำได้เพียงลำพังแต่ต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ดังนั้นบริษัทฯ จึงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญภายนอกเช่นกรมป่าไม้และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อปกป้องฟื้นฟูพื้นที่ป่าและปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศและพื้นที่อนุรักษ์แห่งชาติของประเทศไทยและการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า นอกจากนี้บริษัทฯ ยังร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกอื่นๆได้แก่กลุ่มปตท., คู่ค้า, พันธมิตร, หน่วยงานภาครัฐและบุคคลภายนอกเพื่อจัดการ ลดความเสี่ยงจากการตัดไม้ทำลายป่า รักษาและตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างคุณค่าในเชิงบวกร่วมกัน
ระบบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตรวจสอบ:
บริษัทฯ ได้ศึกษาและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพบนบก (พืชและสัตว์ป่า) รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ในพื้นที่ดำเนินงานที่สำคัญ (จังหวัดระยอง) โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์และความหนาแน่นของสายพันธุ์รวมถึงพืชและสัตว์ป่าจากการดำเนินโครงการ สำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั้งกลุ่ม ระบบการตรวจสอบประเภทที่เลือกจะมีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอในข้อมูลพื้นฐานและรายละเอียดประจำปีดังต่อไปนี้
การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของพืช/ป่าไม้
การสำรวจนี้รวมถึงพืชประเภทต่างๆ (ต้นไม้ หน่อต้นไม้ และต้นกล้า) กลุ่ม GPSC เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแยกแปลงตัวอย่างขนาด 10 * 10 เมตรออกเป็น 10 แปลงจากนั้นวิเคราะห์ด้วยตัวแปร 10 ตัวที่ประกอบด้วยความหนาแน่น, ความถี่, ความโดดเด่น, ความถี่สัมพัทธ์, ความหนาแน่นสัมพัทธ์, ความโดดเด่นสัมพัทธ์, ดัชนีค่าความสำคัญ, ดัชนีความหลากหลายของพืช/สปีชีส์, ดัชนีความสม่ำเสมอและดัชนีความคล้ายคลึง (ตามสมการของ Shannon-Wiener ในการอ้างอิงของ Ludwig and Reynold, 1998)
การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ป่า
การสำรวจประกอบด้วยสัตว์ประเภทต่างๆ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์ปีก) บริษัทฯ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการที่ไม่เป็นอันตรายและเหมาะสมสำหรับสัตว์ประเภทต่างๆแล้วจัดหมวดหมู่ตามกฎหมายข้อบังคับและข้อตกลง ในท้องถิ่นและระหว่างประเทศที่แตกต่างกัน เช่น พระราชบัญญัติการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (1992), สถานะทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย, IUSN (2010) และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
การจัดทำฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Geo-database)
บริษัทฯ ได้ทำการประเมินนิเวศวิทยาทางทะเลกับผู้เชี่ยวชาญสำหรับการวัดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลด้วยตัวชี้วัดที่รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์/ความหนาแน่นของสปีชีส์ของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ทะเลหน้าดิน ไข่ ตัวอ่อนและสัตว์ทะเล นอกจากนี้, การปนเปื้อนของโลหะหนักในตะกอนและเนื้อเยื่อสัตว์น้ำ ถูกวัดเพื่อติดตามประสิทธิภาพของระบบการจัดการมลพิษของ GPSC
การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล
GPSC ได้ทำการประเมินนิเวศวิทยาทางทะเลกับผู้เชี่ยวชาญสำหรับการวัดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลด้วยตัวชี้วัดที่รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์/ความหนาแน่นของสปีชีส์ของแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ สัตว์ทะเลหน้าดิน ไข่ ตัวอ่อนและสัตว์ทะเล นอกจากนี้, การปนเปื้อนของโลหะหนักในตะกอนและเนื้อเยื่อสัตว์น้ำ ถูกวัดเพื่อติดตามประสิทธิภาพของระบบการจัดการมลพิษของ GPSC
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตร) เพื่อจัดการและลดความเสี่ยงจากการตัดไม้ทำลายป่า
บริษัทฯ ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกรวมถึงคู่ค้า เหล่านี้รวมไปถึงคู่ค้าของเรา (เช่น Doosan Heavy Industries & Construction Co., Ltd., Q Power Engineering And Service Co., Ltd., ACE Engineering & Construction Co., Ltd., jpj industrial services (Thailand) co., ltd. และ MMM Group Supply & Services Co., Ltd.) โครงการมีดังต่อไปนี้:
โครงการ One Earth One Family
GPSC ส่งมอบโครงการปลูกป่าแปลงที่ 2 ร่วมกับเครือข่ายชมรมคนรักษ์ป่าเขาห้วยมะหาดและหมู่รักษาความปลอดภัยเนินกระปรอก ชุมชน คู่ค้า พนักงาน และหน่วยงานราชการท้องถิ่น จัดกิจกรรมปลูกป่าเขาห้วยมะหาด ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการ GPSC One Earth One Family เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ และสร้างความตระหนักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ซึ่งการส่งมอบผืนป่าในครั้งนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 9.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการปลูกป่าบนเขาห้วยมะหาด แปลงที่ 2 ตั้งแต่ปี 2558 บนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมกว่า 10 ไร่ โดยร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในการดูแลรักษาผืนป่าต่อเนื่องระยะเวลา 5 ปี ภายใต้โครงการ "ฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด" ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศป่าต้นน้ำที่มีความสำคัญต่อพื้นที่จังหวัดระยอง
โครงการสร้างฝายชะลอน้ำป่าชุมชนเขาภูดรห้วยมะหาด รักษาป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน
อ่านเรื่องนี้ต่อที่: https://www.kaohoon.com/news/general/405697
VIDEO
GPSC ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ป่าชุมชนเขาภูดร – ห้วยมะหาด
ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง จัดกิจกรรม “โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ” ที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าชุมชนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่สร้างฝายชะลอน้ำตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 122 ฝาย โดยมีหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น พนักงานจิตอาสา และชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม บริเวณป่าชุมชนเขาภูดรห้วยมะหาด จ.ระยอง