การสนับสนุนต่อสมาคม / องค์กรทางธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ

บริษัทฯ ตระหนักถึงการแสดงบทบาทและความรับผิดชอบต่อการขับเคลื่อนธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรเครือข่ายและสมาชิกกับองค์กรหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาให้อุตสาหกรรมและประเทศมีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ ให้การสนับสนุนและมีส่วนในการผลักดันนโยบาย รวมถึงการแบ่งปันความรู้ร่วมกันจากหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่มีการใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางการเมือง องค์กรหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองแต่อย่างใด โดยการสนับสนุนสมาคมและองค์กรทางธุรกิจต่างๆ ของบริษัทฯ มีดังนี้

รายชื่อสมาคม/ องค์กร ประเภทองค์กร จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)
ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
ข้อตกลงแห่งสหประชาติ (United Nation Global Compact :UNGC) อื่นๆ - - - 288,750
สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (APPP) สมาคมทางการค้า 42,800 370,870 202,800 200,000
สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) อื่นๆ 315,650 274,000 110,000 110,000
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.)
  • กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า
  • กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
อื่นๆ 250,000 250,000 250,000 250,000
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) สมาคมทางการค้า 48,150 153,110 115,990 110,000
สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สมาคมทางการค้า 0 55,000 0 0
สมาคมพลังงานลม (ประเทศไทย) Thai Wind Energy Association สมาคมทางการค้า 25,000
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมทางการค้า 23,000 23,000 23,000 23,000
สมาชิกองค์การซีเกรแห่งประเทศไทย สมาคมทางการค้า 20,388 42,266 42,612 37,231
สมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร สมาคมทางการค้า 15,000 60,000 60,000 60,000
สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย สมาคมทางการค้า 6,223 0 5,000 5,000
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง สมาคมทางการค้า 4,000 4,000 4,000 4,000
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี สมาคมทางการค้า 2,140 4,280 2,140 12,000
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สมาคมทางการค้า - - - 10,000
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย Thailand Management Association (TMA) สมาคมทางการค้า 5,000 5,000 5,000 5,000
สมาชิกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) THAILAND ENERGY STORAGE TECHNOLOGY ASSOCIATION สมาคมทางการค้า - - - 5,000
สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) อื่นๆ - - - 5,000
จำนวนรวม 732,351 1,241,526 820,542 1,149,981
องค์กรที่บริษัทฯ ให้การสนับสนุนสูงสุด 3 อันดับแรก
ชื่อองค์กร รวมจำนวนเงินสนับสนุน ปี 2565 (บาท)

ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (UNGC)

ส่งเสริมองค์กรธุรกิจในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของความสมัครใจและมาตรการที่ปฏิบัติได้จริงที่สอดคล้องกับหลักการสากล 10 ประการในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านคอรัปชั่น เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals SDGs) ของสหประชาชาติ

288,750

องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)

เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นเวทีสำหรับบริษัทเอกชนต่างๆ ในการแบ่งปันความรู้ สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ

250,000

สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (APPP)

สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ดี เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการมุ่งมั่นให้มีพลังงานใช้อย่างพอเพียง มุ่งเน้นในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

200,000

ในปี 2565 บริษัทฯ ให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้นำไปเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้สนับสนุนและผลักดันนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ UN Global Compact และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council For Sustainable Development: TBCSD) ซึ่งเป็นเครือข่ายของ World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD ทำให้ TBCSD ได้รับข้อมูลและเข้าใจถึงทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลก รวมทั้ง มีองค์ความรู้และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ธุรกิจในประเทศไทยมีความยั่งยืน โดยบริษัทฯ ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อมูลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สมาชิกร่วมกันปฏิบัติให้เป็นต้นแบบด้านความยั่งยืนที่ทันกระแสโลกและสอดคล้องไปกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหรือแนวปฏิบัติที่เป็นระดับอุตสาหกรรมหรือระดับประเทศ เช่น ร่วมหารือการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต เพื่อดำเนินงานตามกรอบแผนการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มสมาชิก

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดีของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายและกฎระเบียบของภาครัฐ โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ในการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติที่ดีระหว่างสมาชิกเรื่องวิธีปฏิบัติ เทคโนโลยีและมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ใช้ของแต่ละบริษัทในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความรู้กับสมาชิกและความเชื่อมั่นกับภาครัฐ ชุมชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง

ในปี 2565 บริษัทฯ เป็นหนึ่งในตัวแทนของสมาชิกในการเข้าพบหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอและสนับสนุนข้อมูลต่างๆ เป็นระยะโดยเฉพาะเรื่องกฎหมายและการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัทฯ และติดตามแผนงานการออกกฎหมายต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีการดำเนินการเรื่อง Carbon Tax และ Emissions Trading Scheme: ETS (การซื้อ-ขายคาร์บอนในกลุ่มอุตสาหกรรม) รวมถึงบริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (Thai Renewable Energy (RE100) Association) จัดตั้งโดยกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนของภาคอุปสงค์และอุปทานของพลังงานหมนุเวียนและคาร์บอนเครดิต อีกทั้งส่งเสริมให้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องมือหลักในการ Decarbonization ผ่านการดำเนินงานของภาครัฐในด้าน Deregulation, Decentralization และ Digitalization มุ่งไปสู่การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยบริษัทฯ ได้ร่วมเสนอนโยบายต่อภาครัฐและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศไทยไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) ผลักดันนโยบายด้านพลังงานสีเขียวและกรีนคาร์บอน ผลักดันให้มีการซื้อขายคาร์บอนและพลังงาน สร้าง Demand และ Supply สำหรับตลาดคาร์บอนและพลังงาน รวมถึงเสนอปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการซื้อขายคาร์บอนและพลังงาน

จุดยืนของจีพีเอสซีต่อสมาคมการค้า – การสร้างความสอดคล้องกับเป้าหมายด้านภูมิอากาศ

คำแถลงจุดยืน

จีพีเอสซีสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายความตกลงปารีส ซึ่งมุ่งจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายโดยพิจารณาความตกลงปารีสเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2603 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศไทยกำหนด (NDCs) จีพีเอสซียินดีที่ได้สนับสนุนพันธมิตรภายนอก รวมถึงสมาคมการค้าต่างๆ ที่มีแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ ข้อผูกพัน แผนที่เกี่ยวข้อง และโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนนี้ มีผลบังคับใช้ในทุกพื้นที่ทั่วกลุ่มจีพีเอสซี

กรอบการกำกับดูแลการมีส่วนร่วมเชิงนโยบายของสาธารณะ

ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายภายนอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จีพีเอสซีถือว่าสมาชิกสมาคมการค้าและการสนับสนุนของสมาชิกเหล่านี้มีส่วนส่งเสริมสำคัญควบคู่ไปกับการจัดการภายในและกลยุทธ์ของเราในการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ทั้งนี้ จีพีเอสซีได้กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบการจัดการขึ้นมาเป็นการเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้

ระดับ ตัวแทนจีพีเอสซี หน้าที่ความรับผิดชอบ
ผู้บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
  • เป็นตัวแทนจีพีเอสซีในการสร้างการมีส่วนร่วมและสนับสนุนทิศทางของสมาคมการค้า
  • เป็นสมาชิกองค์กรภายนอกเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาคมการค้าและองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนปัจจัยขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผล
  • ยกวาระต่างๆ ไปสู่ระดับสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งองค์กรภายในและภายนอกจีพีเอสซี โดยเฉพาะในหัวข้อด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและบริหารบริษัทในเครือ
  • แบ่งปันความคืบหน้าและแนวปฎบัติด้านภูมิอากาศกับหน่วยงานภายนอก
  • ให้ข้อคิดเห็นต่อหน่วยงานภายนอกในกระบวนการตัดสินใจ
  • เข้าร่วมการประชุมกับสมาคมการค้าในฐานะสมาชิก เช่น สมาชิกสภา สมาชิกสมทบ และ คณะกรรมการ
  • แบ่งปันประเด็นสำคัญกับเครือข่ายภายนอกเพื่ออภิปรายและหาแนวทางที่มีประสิทธิผล
  • สนับสนุนกิจกรรมเชิงรุกในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านทางสมาคมการค้า
พนักงานและลูกจ้าง สมาชิกฝ่ายนโยบายความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและสมาคมการค้าอย่างสม่ำเสมอ
  • รับรู้ยึดถือทิศทางและข้อตกลงจากระดับผู้บริหารในการใช้การข้อมูลที่ได้รับในการปฏิบัติงานภายในของจีพีเอสซี
  • ตรวจตราติดตามความคืบหน้าและสถานะโครงการที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศทั้งภายในและภายนอก
ระบบจัดการและกระบวนการประเมินสมาคมการค้า

ในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยความรับผิดชอบต่อธุรกิจที่ยั่งยืน จีพีเอสซีได้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนสมาคมการค้าต่างๆ เพื่อส่งเสริมและรองรับนโยบาย กฎหมาย ข้อบังคับ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท เมื่อประกอบกับการส่งเสริมการดำเนินการด้านสภาพอากาศผ่านองค์กรอื่นๆ แล้ว การช่วยเหลือสนับสนุนดังกล่าวจะสามารถช่วยเร่งการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการทั้งหมดทั่วประเทศ

ในกรณีนี้โครงสร้างการกำกับดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจีพีเอสซีได้รับทราบและดำเนินการทบทวนและประเมินสมาคมการค้าที่จีพีเอสซีควรให้การช่วยเหลือสนับสนุนในด้านข้อผูกพัน ผลประโยชน์ และนโยบายของจีพีเอสซี โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่มีจุดยืนตรงกับจีพีเอสซีในด้านทิศทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในบริบทความตกลงปารีส อันจะช่วยให้ข้อผูกพันด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสมาคมการค้าและจีพีเอสซีมีความสอดคล้องกันทั้งในเชิงผลลัพธ์และการนำไปปฏิบัติ

เพื่อให้มั่นใจว่าการสนับสนุนสมาคมการค้าและข้อผูกพันของจีพีเอสซีนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีสและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปฏิบัติงานที่ลักลั่น จีพีเอสซีได้กำหนดให้มีการทบทวน ติดตาม รวมถึงกำหนดกรอบการจัดการการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามแนวทางไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การทบทวน

จีพีเอสซีทบทวนตรวจสอบกิจกรรมและข้อผูกพันของสมาคมการค้าให้เป็นไปตามนโยบาย ผลประโยชน์ เป้าหมาย จุดยืน และแผนการดำเนินงานของจีพีเอสซี โดยหลักแล้ว จีพีเอสซีพิจารณาสมาคมการค้าที่จะให้การสนับสนุนผ่านคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกระดับผู้บริหารของจีพีเอสซี โดยใช้ความสอดคล้องกับจุดยืนของจีพีเอสซีและเป้าหมายของสมาคมการค้าเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเข้าร่วมสมาคมการค้านั้นๆ

การติดตาม

บริษัทฯ ทบทวนผลลัพธ์และความคืบหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับการสนับสนุนที่มอบให้แก่สมาคมการค้าที่จีพีเอสซีให้การสนับสนุนอยู่ โดยทบทวนจุดยืนของสมาคมการค้าดังกล่าวในด้านการสนับสนุนช่วยเหลือ รวมถึงติดตามเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสมาคมการค้าเองและเพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่ โดยรายงานผลการติดตามไปยังโครงสร้างการกำกับดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจีพีเอสซี บริษัทฯ ติดตามความคืบหน้าและสถานะของสมาคมการค้าเป็นประจำทุกเดือน

กรอบการจัดการความไม่สอดคล้องของจุดยืน

ในกระบวนการติดตามความคืบหน้าและสถานะสมาคมการค้า จีพีเอสซีจะติดตามความคืบหน้าเพื่อตรวจสอบสถานะว่าสอดคล้องกับจุดยืนของจีพีเอสซีหรือไม่และแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรเพื่อตัดสินใจด้านการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน

สำหรับสมาคมการค้าที่มีทิศทางไม่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทฯ จีพีเอสซีจะพิจารณาว่าต้องถอยห่าง เจรจาเรื่องทิศทาง หรือออกจากสมาคมการค้าดังกล่าวหรือไม่ โดยเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในกรณีที่สมาคมการค้ามีแนวทางไม่สอดคล้องกับบริษัทฯ

จุดยืนด้านนโยบายและกิจกรรรมด้านสภาพภูมิอากาศของสมาคมการค้า

สมาชิกสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการสนับสนุนจากจีพีเอสซีมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในหลายแง่มุม คือทั้งช่วยเสริมและสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านความยั่งยืนในทุกมิติ อันได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม การเป็นสมาชิกในเครือข่ายสมาคมการค้าจะช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจประเด็นและวิธีการต่างๆ ในธุรกิจอันจะนำไปสู่การนำไปปฎิบัติที่เหมาะสมที่สุด

ในปีพ.ศ. 2565 จีพีเอสซีได้เข้าร่วมสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมสนับสนุนนโยบาย ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นวาระระดับโลก ในการนี้ จีพีเอสซีได้เข้าร่วมเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) และ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council For Sustainable Development : TBCSD) เพื่อขับเคลื่อนประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สถานะสมาชิกสมาคมการค้าในการร่วมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีและกระบวนการนำไปปฏิบัติเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาเกิดใหม่ต่างๆ

การนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสมาคมการค้าที่บริษัทให้การสนับสนุน
สมาคมการค้า จุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนจากจีพีเอสซี ด้านของกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านทางตลาดคาร์บอนด้วยการใช้สิ่งจูงใจ
  • เสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันจากโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและชุมชน
  • แบ่งปันกลยุทธ์สร้างสรรค์กับหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชนเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันผ่านมาตรการที่มีประสิทธิผล
  • ร่วมส่งเสริมนโยบายที่มีประสิทธิผลผ่านทางสมาคมการค้าที่เป็นหน่วยงานรัฐบาล เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
จีพีเอสซีเป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทยเพื่อผลักดันเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งทางเครือข่ายมีความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ตามความตกลงปารีส
  • ตลาดคาร์บอน
  • ความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • แบ่งปันความรู้และกลยุทธ์ผ่านกิจกรรมการประชุมเพื่อสิ่งแวดล้อมซึ่งช่วยสร้างความตระหนักด้านการใช้ทรัพยากรและการลดการใช้พลังงาน
  • สนับสนุนอาคารสีเขียวโดยการรับรองการลดคาร์บอนให้แก่อาคารเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอากาศเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการทำให้อาคารเป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ส่งเสริมนโยบายในการสร้างกลไกสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายที่มีศักยภาพ
ในฐานะสมาชิกขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จีพีเอสซีสามารถขับเคลื่อนและแบ่งปันแนวปฏิบัติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างต่อเนื่อง
  • การดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การกำหนดเป้าหมาย มาตรการ และกรอบการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
  • ความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
  • การพัฒนานโยบายในประเทศไทย
  • ขจัดข้อบังคับที่เป็นเครื่องกีดขวางและนำกรอบที่มีเสถียรภาพมาใช้เพื่อส่งเสริมให้องค์กรจัดหาไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
  • เป็นสมาชิกเพื่อขับเคลื่อนให้ตลาดเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดการเรียนรู้จากเพื่อนสมาชิก การสนับสนุนเชิงนโยบาย และความเข้าใจตลาดท้องถิ่นเชิงลึก
  • เร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศโดยอาศัยนโยบายที่มีอิทธิพล
  • ติดต่อภาครัฐเพื่อส่งเสริมการดำเนินนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์
จีพีเอสซีเป็นสมาชิกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทยที่มีบทบาทส่งเสริมการนโยบายพลังงานหมุนเวียนและการดำเนินมาตรการเพื่อสร้างตลาดที่มีความสามารถในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
  • การสร้างโครงข่ายไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2583
  • การสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย