บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ จีพีเอสซี ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ว่าจะเป็น วาตภัย อุทกภัย ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และความแห้งแล้งที่ทวีความรุนแรงและมีความถี่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ภัยพิบัติดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งการขาดแคลนน้ำในกระบวนการผลิตหรือความเสียหายของเครื่องจักรและระบบสาธารณูปโภค นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ผ่านการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน อันจะเป็นส่วนช่วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ปัจจุบันประชาคมโลกให้ความสนใจต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ จึงได้ก่อตั้งกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ขึ้น โดยจากกรอบอนุสัญญาฯ ดังกล่าว จึงเกิดแนวทาง ข้อกำหนด และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้รายงานการประเมินครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report หรือ AR6)จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ระบุว่า “การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593นั้น ช้าเกินไปในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิบัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดที่มนุษย์ไม่สามารถฟื้นฟูผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้” ผลการศึกษาดังกล่าวส่งผลนานาประเทศมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีขององค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (National Determined Contributions: NDCs) โดยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573 มากไปกว่านั้นประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 13: การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) อีกด้วย ดังนั้น ในฐานะที่บริษัทฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก มีความมุ่งมั่นและยินดีในการสนับสนุนส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ท้าทายอย่างเคร่งครัด โดยมีนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังนี้

แนวทางการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
GRI 103-2

บริษัทฯ กำหนดนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ทุกหน่วยงานตลอดห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มจีพีเอสซี นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ช่วงการวางแผน ออกแบบ ดำเนินการ ตลอดจนสิ้นสุดการดำเนินงาน

นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผังการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะกรรมการของ GPSC โดยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืนและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่

    • นโยบายการบริหารความเสี่ยงและนโยบายเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ
    • แผนธุรกิจ กลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศ และแผนปฏิบัติการ
    • วัตถุประสงค์และเป้าหมายการจัดการสภาพภูมิอากาศ
    • ความคืบหน้าในการบริหารจัดการด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย
    • งบประมาณประจำปี รายจ่ายด้านทุน การซื้อกิจการ และการขายกิจการ

การรายงานความคืบหน้าด้านสภาพภูมิอากาศมีกำหนดการในการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละครั้ง ซึ่งมีกำหนดการในการประชุมบางไตรมาสสำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และมีกำหนดการประชุมทุกไตรมาสสำหรับคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน

แผนผังโครงสร้างคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดการของบริษัทฯ ยังได้แต่งตั้ง คณะกรรมการกลุ่มงานกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทฯ (GPSC Climate Change Strategy Committee, GCSC) ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทฯ โดยตรง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (GPSC Group Climate Change Strategy Task Force) เพื่อดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคณะทำงานย่อยสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (GPSC Group Climate Change Strategy Task Force) เพื่อสนับสนุนแผนการดำเนินงานของคณะทำงานหลัก โดยบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มงานฯ คณะทำงานฯ และคณะทำงานย่อยฯ มีรายละเอียดดังนี้

คณะกรรมการกลุ่มงานกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทฯ

      • พิจารณาเห็นชอบนโยบาย เป้าหมาย ขอบเขต แผนกลยุทธ์ ทิศทางการป้องกันและแนวทางการ บรรเทา รับมือ ผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (SDG เป้าหมายที่ 13) รวมทั้ง เป้าหมายของประเทศและกลุ่มบริษัทฯ
      • ผลักดันและสนับสนุน ให้ความเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลรองรับการตรวจประเมินจากผู้ทวนสอบภายอก
      • ผลักดันและสนับสนุนให้มีการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนัก การแลกเปลี่ยนความรู้ และ ประสบการณ์ภายใน รวมถึงการสื่อ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
      • ติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่มบริษัทฯ
      • มอบหมายให้ประธานกรรมการมีอานาจแต่งตั้ง ปรับเพิ่ม และ/หรือลด คณะทำงาน ได้ตามความจำเป็น
      • เชิญพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อคิดเห็นในการพิจารณาวาระต่างๆ ตามความจำเป็น

คณะทำงานสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

      • ศึกษาผลกระทบและความเสี่ยงทางกายภาพและการเปลี่ยนผ่านต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในระยะยาว และการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
      • ร่วมกำหนดกลยุทธ์ ขอบเขต เป้าหมาย และวิธีการดำเนินงานด้านกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ รวมถึงเกณฑ์ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ใช้ในการพิจารณาการลงทุน
      • ติดตาม รวบรวม วิเคราะห์และกลั่นกรองแผนงาน ผลการดำเนินงาน กลยุทธ์ ตัวชี้วัด ผลการสร้าง ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย โครงการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
      • รวบรวมและจัดเตรียมบัญชีก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ และคาดการณ์เทียบกับเป้าหมาย ตลอดจนจัดทำและเผยแพร่รายงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
      • จัดทำสถานการณ์จำลอง (Scenario) และประเมินผลกระทบทางการเงินจากความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง
      • ส่งเสริมและกำกับดูแลโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกลุ่มงานกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกลุ่ม บริษัทฯ คณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง และฝ่ายจัดการได้รับทราบอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง
      • สนับสนุนและดำเนินกิจกรรมการสร้างความรู้และความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศภายในองค์กร รวมถึงสนับสนุน สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รายละเอียดโครงการและผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรม โครงการ หรือเครือข่ายสนับสนุนภายนอก

คณะทำงานย่อยสนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน โดยมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1. กลุ่มงานด้านนโยบายและแผน (Sub - Task Force Climate Policy & Strategy)

      • ติดตาม ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบปัจจัยเสี่ยงทางกายภาพและการเปลี่ยนผ่านด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • กำหนดกลยุทธ์ขอบเขต เป้าหมาย และวิธีการดำเนินงานด้านกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ตลอดจนจัดทำแผนป้องกัน และมาตรการบรรเทาผลกระทบ
      • ติดตาม รวบรวม วิเคราะห์กลั่นกรอง ผลักดันแผนงานและผลการดำเนินงาน และตัวชี้วัด ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนให้สอดคล้องกับ กลยุทธ์ และแผนงานการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2. กลุ่มงานด้านการบันทึกก๊าซเรือนกระจก (Sub - Task Force GHG Account)

      • จัดทำแนวทางการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
      • รวบรวมและจัดเตรียมบัญชีการปลดปล่อยและแหล่งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการจัดเตรียมข้อมูล ESG ตาม GRI Standard

3. กลุ่มงานด้านการเงิน (Sub - Task Force Climate Finance)

      • จัดทำสมมติฐานสถานการณ์จำลอง (Scenario) และผลกระทบในมิติการเงิน ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบ
      • ศึกษาเครื่องมือทางการเงิน (Financial Instrument) ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนกลยุทธ์การจัดการเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

4. กลุ่มงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Sub - Task Force Innovation & Technology)

      • ศึกษาให้ข้อแนะนำข้อเสนอแนะและจัดทำข้อมูลสนับสนุนด้ามนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • ประสานและสนับสนุนข้อมูล เพื่อร่วมกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของร่วมกับกลุ่มงานต่าง

5. กลุ่มงานด้านประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร (Sub - Task Force PR & Communication)

    • สนับสนุน และดำเนินกิจกรรมการสร้างความรู้และความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศภายในองค์กร
    • สนับสนุน สื่อสาร ประชำสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ และผลการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ด้วยกระแสด้านการใช้พลังงานสะอาดส่งผลให้พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินธุรกิจพลังงานไฟฟ้า บริษัทฯ จึงได้จัดตั้งกลยุทธ์เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศภายใต้แนวความคิด “การมุ่งสู่ธุรกิจไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และใช้ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Price) ในการจัดการความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปีพ.ศ. 2593 (ค.ศ.2050) และการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปีพ.ศ. 2603 (ค.ศ. 2060) ผ่าน 4 แผนการดำเนินงานหลัก (Key action plan) ดังนี้

การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Reduce fossil fuel usage)

เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลังงานไฟฟ้า อันประกอบด้วย 4 แผนการดำเนินงานย่อย ได้แก่

  • การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในองค์กร (Adopt best practice operational excellence)
  • การปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล (Retrofit fossil-fuel plants)
  • การลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน (Fuel & energy consumption reduction)
  • การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในองค์กรทดแทนการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานฟอสซิล (Internal renewable energy consumption)

การเพิ่มกำลังการผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน (Grow renewables)

เพื่อเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน อันประกอบด้วย 5 แผนการดำเนินงานย่อย ได้แก่

  • การหยุดการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลตามอายุของโรงไฟฟ้า (Phase out fossil-fuel based power plant, priority on coal)
  • การเพิ่มการลงทุนผ่านการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่หรือการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการ ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่พลังงานแสงอาทิตย์และสม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ณ ปัจจุบัน (Invest renewables through new, M&A projects focusing on solar and wind energy)
  • การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลมาเป็นพลังงานหมุนเวียน (Fuel switching from fossil fuel into renewables)
  • การพิจารณาเชื้อเพลิงไฮโดนเจนเป็นแหล่งพลังงานทดแทน (Green hydrogen (H2))
  • การใช้แหล่งพลังงานชีวมวลทดแทน โดยทั้งมีและไม่มีเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Biomass with and without Carbon Capture, Usage and Storage (CCUS))

การพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน (Enhance infrastructure)

เพื่อการกักเก็บและการกำจัดก๊าซเรือนกระจกการโดยตรงจากการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานฟอสซิล อันประกอบด้วย 2 แผนการดำเนินงานย่อย ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจน (CCUS integration - existing blue and green hydrogen plants)
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ (CCUS integration - coal/natural gas plants)

การแลกเปลี่ยนและการชดเชย (Trading & Offset)

เพื่อชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนที่นอกเหนือจากการควบคุมจากกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงานภายในองค์กร อันประกอบด้วย 3 แผนการดำเนินงานย่อย ได้แก่

  • การดำเนินโครงการกักเก็บคาร์บอนที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Carbon sink through nature-based solution) เช่น โครงการปลูกป่าทดแทน
  • การเข้าร่วมการรับรองคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Attribute Certificates, EACs)
  • การแลกเปลี่ยนใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate, RECs)
  • การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต (Carbon credit trading)
  • การศึกษากำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Internal Carbon Pricing)

ทั้งนี้บริษัทฯ ดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของลูกค้าและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระยะยาว ตลอดจนกำหนดมาตรการเพื่อรับมือความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทฯ ยังส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมของพนักงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรของกลุ่มจีพีเอสซี อาทิ การอบรมและให้ความรู้พนักงาน การอบรมให้ความรู้พนักงานเรื่องกลไกราคาคาร์บอน การมีส่วนร่วมในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรณรงค์การลดการใช้พลังงานและประหยัดทรัพยากรในองค์กรเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์กร

GPSC TCFD Report 2022
Task Force on Climate-related Financial Disclosure

การผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล ล้วนเป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อยอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ด้วยเหตุนี้ เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) บริษัทฯ จึงเห็นความสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นส่วนขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามกลยุทธ์ขององค์กร S2: Scale-up Green energy การเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ ให้เป็น 7,236 เมกะวัตต์ ในปี.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) โดยมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 38%

GRI 102-15

ในปี 2564 บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจัดทำมาตรการรับมือต่อผลกระทบและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยบูรณาการเข้าสู่การบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อพัฒนากรอบการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures) เพื่อพิจารณาประเมินความเสี่ยงในสองรูปแบบหลัก ซึ่งประกอบด้วยความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้รายงานวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงประกอบการประเมินความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิด ผ่านกระบวนการวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้ม หรือ Scenario Analysis อีกด้วย

คณะทำงานบริหารการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนองค์กรจัดทำการระบุประเด็นความเสี่ยงให้ครอบคลุมในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า อาทิ กลุ่มคู่ค้า(ต้นน้ำ) และกลุ่มลูกค้า(ปลายน้ำ) โดยพิจารณาจากข้อมูลดังนี้

  • หลักฐานทางทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุการเปลี่ยนในเชิงกายภาพจากผลการศึกษาจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC)
  • รายงานผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าในระดับสากล
  • แนวโน้มการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในประเทศจนถึงระดับสากล
  • แนวโน้มและความคาดหวังของกลุ่มนักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

โดยบริษัทฯ ได้มีการจัดการประชุมพิจารณาการระบุความเสี่ยงภายในองค์กรเป็นประจำทุกปีเพื่อทบทวน ติดตาม และพิจารณาความเสี่ยงใหม่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

บริษัทฯ พิจารณาความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิดขึ้นของผลกระทบในเชิงกายภาพอ้างอิงจากแบบจำลองสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เรียกว่า “เส้นตัวแทนความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Representative Concentration Pathway (RCP)” ซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใช้อ้างอิงในรายงานการประเมินฉบับที่ 5 ของ IPCC โดยแบ่งออกเป็น 4 สถานการณ์ได้แก่ RCP2.6 RCP4.5 RCP6 และ RCP8.5 โดยแสดงระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลต่อรังสีความร้อนบนพื้นผิวโลกทั้งหมดสี่ระดับ ซึ่งเป็นผลการคาดการณ์จากการดำเนินการตามนโยบายการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2100 ของนานาประเทศ

บริษัทฯ เลือกใช้สถานการณ์ RCP4.5 และ RCP8.5 ประกอบการพิจารณาความรุนแรง และโอกาสที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงประเมินมูลค่าความเสียหายทางการเงินที่อาจกระทบจากทางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศผ่านการจัดประชุมพิจารณาความเสี่ยงในทุกๆ ปี นอกจากนี้การประเมินความรุนแรง และโอกาสในการเกิดความเสี่ยงต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้สถานการณ์จำลองอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณาเช่นกัน โดยบริษัทฯ เลือกใช้เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของผ่านการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดหรือ Nationally Determined Contributions (NDCs) ของประเทศในการใช้เป็นกรณีอ้างอิง

บริษัทฯ ได้จัดทำผลการประเมินความเสี่ยงทางกายภาพและการเปลี่ยนผ่านสำหรับปี 2564 2570 และ 2573 โดยมีการกำหนดประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบ แนวทางการรับมือ และการปรับตัวดังนี้

ความเสี่ยงที่มีความรุนแรงและความถี่ที่จะเกิดในระดับสูงมากและสูง ในปี 2564 (2022) ได้แก่
  • การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง (Extreme weather)
  • น้ำแห้ง
  • การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ย
ความเสี่ยงที่มีความรุนแรงและความถี่ที่จะเกิดในระดับสูงมากและสูง ในปี 2570 (2027) ได้แก่
  • การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง (Extreme weather)
  • น้ำแห้ง
  • การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ย
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • การเปลี่ยนแปลงของข้อบังคับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันด้านเทคโนโลยี
ความเสี่ยงที่มีความรุนแรงและความถี่ที่จะเกิดในระดับสูงมาก ในปี 2573 (2030) ได้แก่
  • น้ำแห้ง
  • การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันด้านเทคโนโลยี
  • การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง (Extreme weather)
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • การเปลี่ยนแปลงของข้อบังคับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ย
ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แนวทางการรับมือ ปรับตัว และโอกาสในการบริหาร จัดการเชิงธุรกิจ
ความเสี่ยงด้านกายภาพ
การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรง (Extreme weather) เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง พายุลูกเห็บ ฟ้าผ่า ไซโคลน
  • สามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานหรือเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่งผลให้ค่าบำรุงรักษาสูงขึ้นและการผลิตไฟฟ้าไม่ต่อเนื่อง โดยหากการดำเนินกิจการหยุดชะงัก บริษัทฯ อาจถูกลงโทษและกระทบต่อรายได้
  • การบาดเจ็บเนื่องจากวัตถุที่ปลิวในอากาศ จากพายุ
  • การขนส่งระหว่างผู้ผลิต คู้ค้า และผู้บริโภคตลอดห่วงโซ่อุปทานอาจได้รับผลกระทบจากายุและฝนตกหนัก รวมถึงความเสียหายของท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติได้
  • ดำเนินการตามขั้นตอนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • ศึกษาการติดตั้งและปรับปรุงระบบป้องกันฟ้าผ่า (เช่น เครื่องป้องกันไฟกระชาก)
  • ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับแนวทางและแผนการรับมือสถานการณ์วิกฤตของโรงงาน (Plant crisis plan) เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์วิกฤตและจำกัดผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่ให้อยู่เหนือการควบคุม
  • ใช้แนวทางเชิงรุกในการจัดการกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น โดยการพัฒนาระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management, BCM) ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบของการดำเนินกิจการที่สำคัญ
  • แจ้งปัญหาของภัยพิบัติไปยังผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบรายละเอียดเพื่อปรับปรุงระบบการระบบการจัดการภายใต้สภาวะวิกฤต
  • ศึกษาการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อลดพลังงานศักย์ที่มีอยู่ในยกตัวของกระแสอากาศในแนวตั้ง (Convective Available Potential Energy, CAPE) ในพื้นที่โดยรอบ
น้ำท่วม
  • สามารถสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานหรือเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่งผลให้ค่าบำรุงรักษาสูงขึ้นและการผลิตไฟฟ้าไม่ต่อเนื่อง โดยหากการดำเนินกิจการหยุดชะงัก บริษัทฯ อาจถูกลงโทษและกระทบต่อรายได้
  • พนักงานอาจได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อาจส่งผลต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพและชื่อเสียงของบริษัทฯ
  • พนักงาน และคู่ค้าไม่สามารถเดินทางมาทำงาน และส่งมอบสินค้า จนไปถึงการหยุดกิจการชั่วคราวในกลุ่มของคู่ค้า
  • น้ำท่วมส่งผลให้บริษัทฯจำเป็นต้องหยุดการดำเนินธุรกิจชั่วคราว
  • ในกรณีที่บริษัทฯ หยุดดำเนินการอาจมีค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้า และค่าปรับสำหรับลูกค้าหรือคู่ค้าเป็นต้น
  • ในกรณีของเขื่อน จะมีปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของกากตะกอน ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำลดลงแล้ว และเพิ่มโอกาสการเกิดความเสียหายแก่ใบพัดใต้เขื่อน
  • ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการซ่อมแซม/บูรณะ/เปลี่ยน ค่าประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
  • ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนจากคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกลุ่ม ปตท.
  • กำหนดให้มีการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
  • สำรองไฟฟ้าจาก กฟภ./กฟผ.
  • จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA)
  • บริหารจัดการสถานการณ์ตาม EIA และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่บังคับใช้
  • ทบทวนพื้นที่เสี่ยงภัยและความเสียหายจากน้ำท่วม และใช้มาตรการปรับตัว เพื่อลดความเสี่ยง เช่น การเพิ่มระดับความสูงของพื้น เป็นต้น
  • จัดทำพนังกั้นน้ำ (ชั่วคราว / ถาวร)
  • พัฒนาและติดตั้งระบบระบายน้ำ
น้ำแล้ง
  • ผลจากศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยอ้างอิงจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคตระบุว่า จังหวัด ระยอง และ ชลบุรีจะมีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ผลกระทบของภัยแล้งอยู่ในระดับปานกลาง
  • เมื่อคลังเก็บน้ำมีระดับน้ำลดลงจนถึงขาดแคลน การดำเนินงานของบริษัทฯ จะขาดความต่อเนื่องหรือหยุดชะงัก เนื่องจากไม่มีน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าให้ลูกค้า ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงรายได้และความเชื่อมั่นของบริษัทฯ
  • อาจเพิ่มต้นทุนการผลิต เนื่องจากจำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรน้ำจากแหล่งอื่น ๆ
  • บริษัทฯ อาจมีความจำเป็นในการเช่าอุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดเพื่อใช้ในการหล่อเย็น
  • อาจเกิดความขัดแย้งกับชุมชนรอบข้าง เนื่องจากชุมชนมองหาบริษัทฯ ใช้น้ำมากจนทำให้ทรัพยากรน้ำขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต อย่างไรก็ดีหากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการหรือจัดหาโครงสร้างสำหรับการสำรองน้ำให้ชุมชนในสภาวะขาดแคลนน้ำ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากชุมชน
  • จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ เช่น การทำสัญญาซื้อน้ำปราศจากแร่ธาตุจากคู่ค้ารายอื่น
  • พัฒนาหรือปรับปรุงระบบการผลิต เพื่อลดการใช้น้ำ รวมการใช้น้ำซ้ำและรีไซเคิลน้ำ
  • ติดตั้งระบบรีเวิสออสโมซิส (RO) สำหรับเปลี่ยนน้ำทะเลบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ปฏิบัติการเป็นน้ำจืดสำหรับใช้ในช่วงเวลาขาดแคลนน้ำ
  • จัดงบประมาณสร้าง คลังน้ำเพิ่มเติม รวมถึงระบบจัดเก็บน้ำฝนสำหรับใช้ในฤดูแล้ง โดยสามารถเป็นแหล่งน้ำฉุกเฉินสำหรับการดำเนินงาน อย่างน้อย 3 วัน
  • ติดตามปริมาณน้ำในบริเวณอย่างข้างเคียง
  • ดำเนินโครงการรับน้ำเสียมาบำบัด เพื่อใช้ในการหล่อเย็น
  • ขยายการดำเนินโครงการด้านจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ข้างเคียง ร่วมกับ อปท. และหน่วยงานอื่น ๆ ภายในเขตอุตสาหกรรมมาบท่าพุด
  • หากบริษัทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ดีเพียงพอ สามารถเป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับการขายน้ำให้แก่ลูกค้าที่ขาดแคลน เพื่อสร้างรายได้
การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก
  • เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวสูงขึ้น ส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพของการผลิตและการจ่ายไฟฟ้าต่ำลง จนส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความเชื่อมั่นของบริษัทฯ
  • ประสิทธิภาพในการหล่อเย็นจากคลังน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนก่อให้เกิดปัญหาการใช้น้ำเพิ่มขึ้น
  • น้ำในคลังจะมีอัตราการระเหยเพิ่ม ซึ่งอาจะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้
  • ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ลดลง
  • ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรภายในพื้นที่ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องจักรให้ทนทานต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
  • ติดตั้งเครื่องพ่นน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิระหว่างการผลิตไฟฟ้า
  • ดัดแปลงโรงงานตามสถานการณ์ (การปรับตัวระยะสั้น)
  • มองหาพื้นที่ใหม่ในการลงทุนเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงของปัญหาอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้น
ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (ความกังวลและมุมมองเชิงลบ)
  • กลุ่มนักทุนรายใหญ่ในระดับสากลมีความคาดหวังว่า บริษัทฯ จะต้องมีแผนการจัดการปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งหากบริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนของพลังงานฟอสซิลอยู่ อาจจะส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนเพิกถอนการลงทุนจากบริษัทฯ
  • กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเริ่มตระหนักและกังวลเกี่ยวกับมลพิษที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • โรงไฟฟ้าหมุนเวียน บางประเภท (เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ) จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อก่อสร้างเขื่อนและปรับการไหลของน้ำ ซึ่งจะรบกวนระบบนิเวศและการย้ายถิ่นฐานของชุมชน อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและบริษัท
  • บริษัทฯ เข้าร่วมการประเมินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ได้รับรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 ซึ่งจะสร้างความไว้วางใจแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
  • ติดตามการดำเนินงานของสถานประกอบการอย่างเข้มงวด ในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ กรณีมีการดำเนินโรงไฟฟ้าใหม่หรือซื้อโรงไฟฟ้าอื่นที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  • กำหนดเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคำมั่นสัญญาด้านสภาพอากาศ
  • หยุดเพิ่มสัดส่วนการผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (Balance port)
  • เพิ่มสัดส่วนการผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
  • ดำเนินการโครงการ CCS หรือ CCUS
  • ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
  • สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนรอบข้าง
  • ปรับปรุงหรือพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันด้านเทคโนโลยี
  • เทคโนโลยี CCS และไฮโดรเจนสีน้ำเงินจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างมากและส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero emission)
  • การขาดบริการด้านการบริหารจัดการพลังงานใหม่ๆ เช่น การติดตั้งพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริด - ไมโครกริด อาจทำให้บริษัทเสียโอกาสในตอบสนองความต้องการใหม่ของลูกค้า
  • ในอนาคตระบบจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพื่อติดตามแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า บริษัทต้องการเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อตรวจสอบและติดตามการผลิตไฟฟ้า การขาดเทคโนโลยีบล็อกเชนอาจส่งผลเสียต่อความพึงพอใจของลูกค้าและเสียเปรียบในการแข่งกับคู่แข่งรายอื่น
  • ตั้งงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ที่ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงการสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ
  • ขยายสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์
  • เพิ่มการประชาสัมพันธ์บริการของ Combined Heat and Power Producing Company Limited (CHPP) ซึ่งเป็นบริษัทลูกในกลุ่มจีพีเอสซี ที่ให้บริการด้านจัดการพลังงานอย่างครบวงจร (Smart energy solution provider)
  • ประชาสัมพันธ์และผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต
  • ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและพันธมิตร เพื่อทดลองนวัตกรรมใหม่ สำหรับศึกษาและพัฒนาต่อ ก่อนการผลิตเชิงธุรกิจ (การจัดการนวัตกรรมแบบเปิด)
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค
  • เนื่องจากสถานการณ์ และความกดดันเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก ส่งผลให้ลูกค้ามีความต้องการไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยหากไฟฟ้าที่ผลิตจากบริษัทฯยังคงมีสัดส่วนมาจากพลังงานฟอสซิลอยู่มาก จะส่งผลต่อปริมาณจัดซื้อ และความพึงพอใจลดลง และอาจจะกระทบต่อรายได้ของบริษัทฯ อย่างไรก็ดี การลงทุนในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำก็เป็นโอกาสทางธุรกิจอีกทางหนึ่ง
  • บริษัทฯ ลงทุนเพิ่มสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนผ่านการเข้าถือหุ้นบริษัทพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ ส่งผลให้มีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
  • บริษัทฯ ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพื่อรองรับธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต เช่น ระบบกักเก็บพลังงาน และระบบการจัดการพลังงาน
  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ให้สามารถตอบสองความต้องการของลูกค้า ด้วยบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
  • ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสมาร์ทกริดในประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงของข้อบังคับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • บริษัทฯ อาจถูกรวมอยู่ในระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จำกัดปริมาณการปลดปล่อยแล้วแลกเปลี่ยน หรือ Emission Trading Scheme (ETS) หรือ Cap-And-Trade Scheme ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่พัฒนาระบบดังกล่าว โดยหากบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบอาจทำให้สูญเสียสิทธิพิเศษด้านการลงทุนที่ได้รับจากหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน
  • ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจถูกบังคับใช้ทั่วทั้งประเทศในอนาคต ดังนั้น อาจส่งผลให้บริษัทฯ หาแนวทางเพื่อควบคุมต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า
  • ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจส่งเสริมบริษัทฯ ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานง่ายขึ้น
  • บริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบภาษีคาร์บอน ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทฯ สูงขึ้น เช่น ต้นทุนการปฏิบัติตามข้อกำหนด เบี้ยประกันภัย เป็นต้น
  • ได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกที่ปล่อยมลพิษต่ำ เพื่อลดการปล่อยมลพิษโดยรวมของโรงไฟฟ้า
  • ติดตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาคาร์บอนในประเทศไทย และนโยบายซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย
  • ตั้งงบประมาณสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานขององค์กรสู่ NDC ใหม่ เช่น แผนการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนระหว่างปี 2565 – 2573
  • ดำเนินการใช้ราคาคาร์บอนภายใน (Internal Carbon Price)
  • ตั้งเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะสั้นและยาว
  • เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ผ่านการลงทุนตาม Alternative Energy Development Plan (AEDP) สำหรับการลงทุนภายในประเทศ และลงทุนผ่าน GRSC สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ เช่น AVAADA ในอินเดีย และ GRP ในไต้หวันและเวียดนาม
  • ปรับปรุงและพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • หยุดการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าหลังงานฟอสซิล เมื่อครบอายุการใช้งาน
  • ประยุกต์เทคโนโลยี CCS และ CCUS รวมถึงเชื้อเพลิงไฮโดรเจน
  • พัฒนาสินค้าและบริหารอื่น ๆ เช่น สมาร์ทกริด ระบบกักเก็บพลังงาน โซลูชั่นพลังงานอัจฉริยะ การจัดการกริด
  • ดำเนินการโครงการที่อาศัยธรรมชาติเป็นฐาน (Nature-based solution) เช่น โครงการปลูกป่า
  • ศึกษาและเตรียมการับมือภาษีคาร์บอนในอนาคต

บริษัทฯ ได้ศึกษาในการนำราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing: ICP) ซึ่งเป็นการกำหนดมูลค่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมรับมือความเสี่ยงและผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนโครงการใหม่ ๆ ในอนาคต เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการสู่การดำเนินงานคาร์บอนต่ำในระยะยาวต่อไป ซึ่งบริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 6 บริษัทแรกของประเทศไทยที่ได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิค (Technical Supports) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือที่ได้ร่วมมือกับธนาคารโลก (World Bank) ในการเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนา และประยุกต์กลไกกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ที่เหมาะสมกับบริบทและกลยุทธ์ขององค์กรและสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯ มีแนวทางการดำเนินงานใน 3 กิจกรรม ดังนี้

การใช้ราคาเงา (Shadow Price) ในการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบของราคาคาร์บอนต่อกําไรของบริษัทฯ ในอนาคต

การใช้ราคาเงา (Shadow Price) เป็นหนึ่งใน เกณฑ์การตัดสินใจการลงทุนโครงการ (CAPEX)

การใช้ราคาคาร์บอนเป็นหนึ่งในเกณฑ์การตัดสินใจค่าใช้จ่าย ในการดําเนินงาน (OPEX)

บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานรับผิดชอบโครงการกำหนดราคาคาร์บอนในองค์กรและการลงทุนเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก กลุ่มจีพีเอสซี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการและติดตามดำเนินงานการใช้ราคาคาร์บอนองค์กรให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์ทางการเงินและแนวทางการลงทุนสีเขียว (Green Finance) และให้ข้อคิดเห็นในการพัฒนาแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการกำหนดราคาคาร์บอน รวมถึงเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนการดำเนินงานกำหนดราคาคาร์บอนในองค์กรระยะ 10 ปี โดยเริ่มดำเนินการวางแผนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และวางแนวทางการดำเนินการให้เหมาะสมภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด โดยประยุกต์ใช้กลไกราคาคาร์บอนในองค์กร 3 รูปแบบ ได้แก่ ราคาที่กำหนดจากจำนวนเงินที่บริษัทฯ ใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Implicit Price) ราคาจากการตั้งสมมุติฐานของราคาก๊าซเรือนกระจกหรือราคาเงา (Shadow Price) รวมถึงการกำหนดและจัดเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละหน่วยธุรกิจในองค์กร (Internal Carbon Fee/ Internal Trading System) ให้เกิดประโยชน์และครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกขอบเขตการปล่อย ดังนี้

ระยะสั้น (2564-2565) ระยะยาว (2566-2573)
วัตถุประสงค์
เพิ่มทักษะ และความเชี่ยวชาญในการใช้งานราคาคาร์บอนภายในองค์กร
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ และใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน
ชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุม
ก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2)
ก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2)
ขอบเขตในการใช้งาน
กระบวนการลงทุน (investment decision)
กระบวนการลงทุน (investment decision)
และการผลิต (Operation Decisions)
ชนิดของราคาคาร์บอนองค์กร
Implicit Price
Shadow Price
Shadow Price
Internal Carbon Fee / Internal Trading System

บริษัทฯ นำราคาเงา (Shadow Price) มาใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจสำหรับการลงทุนใหม่ ที่ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 1 และ 2 ผ่านการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไฟฟ้า โดยในปี 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการลงทุน (Strategic Investment Management Committee, SIMC) มีมติอนุมัติให้ใช้สมมติฐานราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Fee) มาเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนสำหรับโครงการการก่อตั้งโรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิล (Conventional project) นอกจากนี้บริษัทฯ มีแผนจะพัฒนาเครื่องมือ ขยายแผนการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร และเส้นโค้งต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหน่วยสุดท้าย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการลดก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทฯ กำหนดไว้

ในปี 2565 บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการประเมินและจัดอันดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business: LCSB) ที่ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นการประเมินองค์กรธุรกิจที่มีการดำเนินงานด้านการบริการจัดการและลดก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยบริษัทฯ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติภายใต้โครงการ LCSB ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์การจัดระดับองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3 ประเด็น อันได้แก่ 1) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืน 2)การพัฒนาเศรษฐกิจที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3)การพัฒนาสังคมที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืน

โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ได้รับผลประเมินในระดับ “ยอดเยี่ยม” ผ่านการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือ (Life Cycle Assessment: LCA) การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Product: CFP) การเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการบรรลุเป้าหมายไม่มีของเสียส่งไปกำจัดในหลุมฝังกลบ (Zero-waste to landfill) เป็นต้น ซึ่งบริษัทฯ มีการบริหารจัดการในกลุ่มประเด็นที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุมทุกมิติความยั่งยืน ดังนี้

Energy Mix
Emission Reduction
Contribution to Decarbonization
Innovation
Decentralized
Disruptive Technology
Energy Policy & Regulation
Customer's Ability to Control and Make a Choice
Customer Data and Information Privacy
Natural Disasters
Efficiency of Operations
Workforce Planning
External Transparency to Build Credibility
Internal Communication
Training for Current Employees
Diversity and Equal Opportunity
Labour Rights
Board of Directors
Code of Conduct
Crisis and Risk Management
Personal Safety and Health
Waste
Community Relationship
Community Involvement and Development Project to Improve Livelihood
Manage Supply Risks
Leverage Opportunity with Suppliers and Contractors
Supplier Rights

บริษัทฯ เข้าร่วมและได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) ร่วมกับ Climate Neutral Now ภายใต้ UNFCCC เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ต่อยอดการลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสและประเทศไทยว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างอุปสงค์คาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ที่จะส่งเสริมตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศให้มีการขยายตัว และมีสภาพคล่องมากขึ้น บริษัทฯ เล็งเห็นว่าการเข้าร่วมในครั้งนี้จะเกิดประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก ในการศึกษาความเป็นไปได้ ศักยภาพความพร้อม แนวทางการดำเนินงาน และการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในระดับองค์กร และเสริมสร้างประโยชน์ร่วมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจากกิจกรรมและโครงการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและชุมชน ผ่านความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนในเครือข่าย เช่น การร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมจากธรรมชาติที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมเครือข่าย Carbon Market Club และกลุ่ม RE100 Thailand Club ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในฐานะกลุ่มธุรกิจพลังงานในการรณรงค์การดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อแสดงความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ปรึกษาหารือภายในกลุ่มสมาชิกเรื่องการซื้อขาย คาร์บอนเครดิต Carbon credit และ เครดิตพลังงานหมุนเวียน I-REC ร่วมถึงการรับรู้ข่าวสาร วิธีการขอขึ้นทะเบียน และนโยบายที่เกี่ยวข้องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเข้าร่วม United Nations Global Compact (UNGC) ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาถึงการพัฒนานโยบายในการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น โดยที่สังคมได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง สอดคล้องกับหลักการสากลในด้านของสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะในหลักการด้านสิ่งแวดล้อม (หลักการที่ 7, 8,9) ที่บริษัทฯ มีแผนการดำเนินงานและทิศทางการผลักดันเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) ซึ่งเป็นสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development, wbcsd) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นเวทีสำหรับบริษัทเอกชนต่างๆ ในการแบ่งปันความรู้ สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่นโยบาย การสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และการสร้างความตระหนักสารธารณะถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

1. กลุ่มคู่ค้า

บริษัทฯ จัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนโยบายการจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน โดยกำหนดคุณสมบัติเฉพาะในการคัดเลือกคู่ค้า อาทิ การใช้พลังงานสะอาดในพื้นที่ปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพในการผลิต การจัดการขยะที่ถูกต้องตลอดจนถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยให้คู่ค้าทุกรายที่จัดซื้อหรือจัดจ้างกับบริษัทฯเข้าร่วมลงนามรับทราบและปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าตอบสนองต่อการบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ในปี 2565 คู่ค้าทุกราย ได้ลงนามรับทราบในข้อพึงปฏิบัติอย่างครบถ้วน เพื่อสร้างผลักดันในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการายงานผลประกอบการประจำปีของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดกิจกรรม Supplier day เพื่อนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อคู่ค้า พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และความประสบการณ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยเฉพาะการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประจำทุกปี

2. กลุ่มลูกค้า

ด้วยความต้องการทางการใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น บริษัทฯ จึงขยายกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องเพื่อรอบรับความต้องการของผู้บริโภคและก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในปี 2564 บริษัทฯ ให้บริการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาแก่ลูกค้ากว่า 873.84 KWp ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบข่ายที่ 2 ประมาณ 725 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี มากไปกว่านั้นยังมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบลอยน้ำที่สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า จากการจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ลดอัตราการระเหยของน้ำในคลังน้ำของลูกค้า โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 830 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ท้ายที่สุดนี้บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเป็นผู้มอบโอกาสในการใช้พลังงานหมุนเวียนแก่กลุ่มลูกค้า และตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากกว่า 1,555 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

3. กลุ่มพันธมิตร (Partner)

บริษัทฯ มุ่งเน้นและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแบบเปิดร่วมกับกลุ่มพันธมิตร โดยเน้นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อเติมเต็มส่วนประกอบสำคัญในการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียน ที่จัดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลังงานหมุนเวียนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นเพื่อเป็นผู้นำด้านการผลิตระบบกักเก็บพลังงาน และมีจุดประสงค์หลักที่จะส่งมอบให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในและนอกประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการเลือกใช้พลังงานหมุนเวียนภายในกลุ่มธรุกิจอื่นๆที่มีมากขึ้น โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้ร่วมจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) Technology Development Consortium: CCUS Consortium) กับศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรมเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green-economy Technology & Engineering Center, BCGeTEC) ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ 7 บริษัท หน่วยงานรัฐ รวมถึงองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศโดยตรง และองค์กรเครือข่ายอื่น ๆ โดยกลุ่ม CCUS Consortium มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ อันได้แก่ 1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานรัฐ 2) ตอบสนองต่อความกังวลสาธารณะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) เร่งการพัฒนาเทคโนโลยี CCUS และ 4) ขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้งานจริง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน กลุ่มฯ มีการดำเนิน 3 โครงการ อันได้แก่

  1. โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อดักจับและใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย
  2. โครงการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนากระบวนการแปลงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลิตภัณฑ์ อันได้แก่ เมทานอลและมีเทน โดยใช้ไฮโดเจนจากการกระบวนการปราศจากคาร์บอนโดยใช้เมมเบรนในการแยกผลิตภัณฑ์ และ
  3. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level, TRL) สูง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) ของกลุ่ม ปตท. (PTT Group CCS Hub Model) ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. 5 บริษัท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS อย่างครอบคลุม สำหรับสนับสนุนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่ระยองและชลบุรี ซึ่งจะเป็นต้นแบบสำคัญต่อการขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS ในระดับประเทศ ผ่านการศึกษารูปแบบการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2 รูปแบบ อันได้แก่

  1. การกักเก็บนอกชายฝั่ง (Offshore) เพื่อพัฒนาโครงการนำร่องแรกในประเทศไทยและมองหาโอกาสสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS ในอนาคต
  2. การกักเก็บนอกชายฝั่ง (Offshore) เพื่อการศึกษารูปแบบวิธีการกักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การขนส่ง และค้นหาโอกาสสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCS บน/ใกล้ชายฝั่ง
4. กลุ่มชุมชน

บริษัทฯ ร่วมมือกลุ่มปตท.ในการพัฒนาโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) โดยมีจุดประสงค์ในการส่งเสริมสร้างอาชีพให้คนในชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่ถ่ายทอดโดยพนักงานของบริษัทฯ และสนับสนุนในการติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในระบบสูบน้ำและระบบไฟฟ้าภายในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม อีกทั้งยังสร้างทักษะความสามารถที่เป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ จากพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ ในโดยปี 2565 ยังดำเนินการโครงการปลูกป่าและหญ้าทะเลที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 590 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อีกทั้งยังได้ตั้งเป้าหมายระยะยาวของโครงการปลูกป่าไว้ที่ 2,000 ไร่ ภายในปี 2573 (2030)

ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)