นโยบายการจัดหาพัสดุและบริหารงาน
คู่ค้าอย่างยั่งยืน

GRI 103-2

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านการจัดหาและบริการคลังพัสดุ งานประกันภัย และงานอื่นที่เกี่ยวเนื่อง อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างยั่งยืน โดยได้ประกาศและบังคับใช้นโยบายการจัดหาพัสดุและบริหารงานคู่ค้าอย่างยั่งยืน เพื่อให้การจัดหาพัสดุที่เป็นเลิศ โปร่งใส มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติสากล

นโยบายการจัดหาพัสดุและบริหารงาน
คู่ค้าอย่างยั่งยืน

แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

คู่ค้าของบริษัทฯ ประกอบด้วย คู่ค้าที่จัดหาวัตถุดิบให้บริษัทฯ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำดิบ น้ำกรองใส และวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งมีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นคู่ค้ารายสำคัญ และคู่ค้าประเภทที่ให้บริการอื่นๆ ได้แก่ ผู้รับเหมาออกแบบ/ก่อสร้าง ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องจักร และผู้รับจ้างซ่อมบำรุงรักษา เป็นต้น

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ดังนั้น บริษัทฯ จึงดำเนินการจัดทำแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าเพื่อสื่อสารให้คู่ค้าเข้าใจและนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าประกอบไปด้วยประเด็นจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อม

แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืน
ของคู่ค้า

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน : Vision-Missions-Goals

Vision 2020-2024
  • Be a Preferred and Trusted Partner of GPSC Group Users
Missions
  • P - Process Compliance & Good Governance
  • P - Proactive Procurement
  • E - Effective Procurement
Goals
  • Saving
  • Supplier Management
  • Process Development

แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

GRI 103-2
GPSC Supply Chain Management

โครงสร้างองค์กร - การจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดห่วงโซ่อุปทานและการดำเนินโครงการสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับคู่ค้า

บริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลการจัดการคู่ค้าในภาพรวมและโครงการสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับคู่ค้า ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และผลักดันการดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ อีกทั้งเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทให้ความสำคัญสูงสุดกับการดำเนินการเหล่านี้ โดยได้มีการแบ่งและมอบหมายหน้าที่การกำกับดูแลดังกล่าวของคณะกรรมการบริษัท ให้แก่คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่ดูแลโครงการสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สำหรับคู่ค้า ซึ่งดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของรองกรรมการผู้จัดการใหญ่การพาณิชย์และจัดซื้อ และหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและคลังพัสดุ

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและคลังพัสดุทบทวนแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความต้องการทางธุรกิจและความคาดหวังสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติของคู่ค้ากลุ่มจีพีเอสซี (GPSC Supplier Code of Conduct) และข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เมื่อทบทวนเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานความคืบหน้าและผลต่อรองกรรมการผู้จัดการใหญ่การพาณิชย์และจัดซื้อและผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปตามลำดับชั้น

ในปี 2565 บริษัทฯ ดำเนินโครงการปรับปรุงแนวทางการจัดซื้อเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ เช่น ระบบ Supplier Portal

บริษัทฯ ได้เริ่มนำ Supplier Portal มาใช้ในปีพ.ศ. 2565 เพื่อปรับปรุงแนวทางการจัดซื้อในการจัดการคู่ค้าและคัดกรองความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ระบบ Supplier Portal นี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นแพลตฟอร์มรวมศูนย์สำหรับการเก็บข้อมูล การลงทะเบียน และการสื่อสารกับคู่ค้า รวมไปถึงการประมูลและประกาศทั่วไปต่างๆ

คู่ค้าสามารถลงทะเบียนและเข้าสู่ระบบเพื่ออัปเดตข้อมูลของตนและดำเนินการต่างๆ ในระบบ Supplier Portal ดังต่อไปนี้:

  • ลงทะเบียนและอัปเดตข้อมูล
  • ส่งเอกสาร (เช่น หนังสือรับรองบริษัท รายการเดินบัญชีเงินฝาก เอกสารมาตรฐาน ISO และใบรับรองต่างๆ เป็นต้น)
  • ประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ด้วยตนเอง
  • ระบุคู่ค้ารายสำคัญที่ไม่ได้อยู่ในระดับที่ 1 (Critical Non-tier 1)
  • ทำความเข้าใจและรับทราบ แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มจีพีเอสซี (GPSC Sustainable Supplier Code of Conduct)
  • รับทราบข้อกำหนดและเงื่อนไขของบริษัทฯ
  • รับทราบแนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของบริษัท
  • ประเมินว่าต้องทำสัญญาการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DPA) หรือไม่

คู่ค้าที่ลงทะเบียนในระบบ Supplier Portal จะผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะได้รับการลงทะเบียนในระบบ SAP S4Hana ซึ่งเป็นระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรใหม่ของบริษัทฯ โดยอัตโนมัติ ขั้นตอนนี้ช่วยย่นย่อกระบวนการลงทะเบียนสั้นลงและทำให้มั่นใจว่าทางบริษัทฯ ได้รับข้อมูลและเอกสารครบถ้วน

ทั้งนี้ คู่ค้าสามารถเข้าดูสรุปและดาวน์โหลดคะแนนการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลได้ บริษัทฯ จะใช้คะแนนสุดท้ายดังกล่าวเป็นคะแนนคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นในกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น

การบริหารความเสี่ยงในระบบห่วงโซ่อุปทานและการกำหนดแผนการพัฒนาคู่ค้า

การบริหารความเสี่ยงในระบบห่วงโซ่อุปทานและการกำหนดแผนการพัฒนาคู่ค้าเป็นแนวทางที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพื่อบริหารและประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าอันเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการที่ดีของ
ห่วงโซ่อุปทาน โดยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

บริษัทฯ ได้วิเคราะห์คู่ค้าที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินงาน อันได้แก่ การวิเคราะห์ยอดค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) การวิเคราะห์ความสำคัญของผลิตภัณฑ์หรือบริการในการจัดซื้อจัดหา (Critical Analysis) และการวิเคราะห์ระดับของการพึ่งพาคู่ค้า (Dependent Analysis) ทั้งนี้ ผลของการวิเคราะห์ได้นำมาต่อยอดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการโดยการใช้แบบจำลองการแบ่งกลุ่มคู่ค้า (Supply Position Model)

1. การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน (SUPPLY CHAIN ANALYSIS)

บริษัทฯ ได้วิเคราะห์คู่ค้าที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินงาน อันได้แก่ การวิเคราะห์ยอดค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) การวิเคราะห์ความสำคัญของผลิตภัณฑ์หรือบริการในการจัดซื้อจัดหา (Critical Analysis) และการวิเคราะห์ระดับของการพึ่งพาคู่ค้า (Dependent Analysis) ทั้งนี้
ผลของการวิเคราะห์ได้นำมาต่อยอดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการโดยการใช้แบบจำลองการแบ่งกลุ่มคู่ค้า (Supply Position Model)

2. การประเมินความเสี่ยงคู่ค้าในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Risk Assessment)

บริษัทฯ มีการประเมินคู่ค้าสำหรับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและระดับความรุนแรงของความเสี่ยงในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ โดยแต่ละประเด็นมีรายละเอียดดังนี้

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางเสียงและแรงสั่นสะเทือน การใช้น้ำและปล่อยน้ำเสีย การใช้พลังงาน การจัดการของเสีย วัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ที่มีสารพิษ และ
ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ประเด็นความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ได้แก่ การทุจริต การหลีกเลี่ยงภาษี การแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม และทรัพย์สินทางปัญญา

ประเด็นความเสี่ยงด้านสังคม ได้แก่ การจัดการด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน สุขภาพและความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย

Supplier Selection & Pre-Risk Assessment
  • 1st Party Supplier Selection and Pre-Risk Assessment
  • ESG Risk Self-Assessment
Supplier Characterization & ESG Risk Assessment
  • Spending Analysis
  • Critical Analysis
  • ESG Risk Assessment
Supplier Assessment
  • Supplier Comprehensive ESG Risk Assessment
    • 2nd party assessment
    • 3rd party assessment
Supplier Risk Mitigation
  • Supplier cirrective action/improvement plans
  • Supplier information/traninings
  • Supplier access to ESG benchmarks against peers
  • Supplier support on corrective/improvement actions
  • In-depth technicol support programs

*The process covers GPSC Group Tier-1 and Non-Tier 1 Suppliers

บริษัทฯ ได้นำระบบทะเบียนคู่ค้า (Vendor List) และการคัดเลือกคู่ค้ามาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะส่งมอบสินค้าและบริการได้ตรงตามข้อกำหนดของบริษัทฯ ขอบเขตการประเมินครอบคลุมถึงขีดความสามารถของคู่ค้าตามเกณฑ์ที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ในแบบประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับคู่ค้า (ถ่วงน้ำหนักด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ร้อยละ 25) คู่ค้าที่ได้รับการอนุมัติจากขั้นตอนการคัดเลือกคู่ค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อของบริษัทฯ จะลงทะเบียนชื่อคู่ค้าลงในทะเบียนคู่ค้า (Approved Vendor List: AVL) ในระบบ SAP และ Maximo

บริษัทฯ ประเมินคู่ค้าโดยใช้การประเมินด้าน ESG และการประเมินในภาพรวมผ่านแบบขึ้นทะเบียนคู่ค้า ซึ่งจะพิจารณาจากข้อมูลทั่วไปของคู่ค้า การประเมินด้านการผลิตหรือให้บริการ มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง การฝึกอบรม การจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความซื้อสัตย์ด้านการประกอบธุรกิจ และคณะกรรมการคัดเลือกคู่ค้าหรือผู้ดำเนินการจัดหาจะพิจารณาให้ใช้การประเมิน ESG ด้วยแบบประเมินคุณสมบัติคู่ค้าเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ได้แก่

ธุรกิจ (น้ำหนัก = 10%)

ส่วนนี้ประเมินลักษณะของธุรกิจ รวมทั้งทุนจดทะเบียน ประวัติบริษัท และสถานะทางการเงิน

การผลิต (น้ำหนัก = 30%)

ส่วนนี้ประเมินแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์และบริการ กำลังการผลิตและการจัดจำหน่าย การจัดการสต็อกและทรัพยากร

การจำหน่าย (น้ำหนัก = 20%)

ส่วนนี้ประเมินประสิทธิภาพการกระจาย เวลาและความถี่ของการส่งมอบ ตลอดจนมาตรฐานการจัดจำหน่าย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) (น้ำหนัก = 15%)

ส่วนนี้ประเมินนโยบายภายใน การจัดการ มาตรฐานเกี่ยวกับประเด็น OHS รวมถึงบันทึกความปลอดภัย PPE และการควบคุมคุณภาพ

บริการหลังการขายและการสนับสนุนด้านเทคนิค (น้ำหนัก = 15%)

ส่วนนี้ประเมินบริการหลังการขายและเทคนิคของธุรกิจและการรับประกันผลิตภัณฑ์

ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) (น้ำหนัก = 10%)

ส่วนนี้ประเมินนโยบาย CSR ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน

คู่ค้าจะต้องปฏิบัติตามขั้นต่ำ 70% เพื่อได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่ GPSC Approved Vendor List (AVL)

หลักเกณฑ์ในการประเมิน
Score 81 - 100% Level A: Over expectation
Score 61 - 80% Level B: Meet requirement
Score 40 - 60% Level C: Need improvement some problems
Score < 40% Level D: Unsatisfied or Disqualified

บริษัทฯ ยังระบุประเด็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณของคู่ค้าใน ข้อตกลงและเงื่อนไขทั่วไป รวมถึงคู่ค้าทุกรายต้องลงนามในแบบฟอร์มรับทราบแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อตกลงและข้อกำหนด

ในการประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้า บริษัทฯ ได้กำหนดขั้นตอนการวัดประสิทธิภาพของคู่ค้า เพื่อดำเนินการกับคู่ค้าในรายชื่อผู้ขายที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับบริษัทในช่วงระยะเวลาการประเมิน วัตถุประสงค์ของการประเมินคือเพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้าสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงตามความต้องการของบริษัทฯ และปฏิบัติตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทฯ

คู่ค้าจะต้องกรอกแบบประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อให้กลุ่มจีพีเอสซีได้คัดกรองระดับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้า แบบประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลดังกล่าวประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก ทั้งนี้ คะแนนจากการประเมินตนเองนี้ถือว่าอ้างอิงความเข้มข้นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัทคู่ค้า

เกณฑ์ ด้าน ตัวอย่างหัวข้อการประเมิน
ระบบและนโยบายบริษัท ธุรกิจและธรรมาภิบาล
  • นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • นโยบายสิ่งแวดล้อมและการสื่อสารประเด็นอื่นๆ
  • นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
  • นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น การเลือกปฏิบัติ และการระราน
ความซื่อสัตย์ในการทำธุรกิจ ธุรกิจและธรรมาภิบาล
  • จริยธรรมทางธุรกิจและความโปร่งใส
  • มาตรฐานคุณภาพ
  • การบริหารความเสี่ยง
สังคม สังคม
  • สิทธิมนุษยชน
  • แรงงานสัมพันธ์
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สังคม
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ความมั่นคงและความเตรียมพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน
สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม
  • การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและมาตรการควบคุม
  • แผนงาน / โครงการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
  • การอบรมพนักงานด้านสิ่งแวดล้อม
  • การเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
  • ข้อร้องเรียน คดีความ และการกระทำผิดในประเด็นสิ่งแวดล้อม

กลุ่มบริษัท GPSC ดำเนินการวิเคราะห์การใช้จ่ายของคุ่ค้า การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และการประเมินความเสี่ยง ESG ของคู่ค้าเป็นประจำทุกปี ที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบด้านลบของ ESG หรือความเกี่ยวข้องทางธุรกิจที่สำคัญกับบริษัท หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ผลการวิเคราะห์จะใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดกลยุทธ์การจัดการและมาตรการลดผลกระทบที่เหมาะสม

คู่ค้าที่สำคัญ (รวมถึง critical tier-1 และความเสี่ยงด้าน ESG สูง) จะถูกจัดประเภทจากการปฏิบัติตามเกณฑ์ต่อไปนี้:

  1. High expenditure
  2. Critical components
  3. Non-substitutable
  4. Strategic Relationship (Parental Company)
  5. High ESG Risk

คู่ค้าที่สำคัญของบริษัทฯ หมายถึงผู้ที่มีรายจ่ายสูง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และไม่สามารถทดแทนได้

  • การใช้จ่ายที่มีปริมาณมาก: ค่าใช้จ่ายต่อปีมากกว่า 50 ล้านบาท
  • คู่ค้าส่วนประกอบที่สำคัญ: เช่น คู่ค้าวัตถุดิบ
  • คู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้: เช่น คู่ค้าด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมขั้นสูงหรือคู่ค้าวัตถุดิบ
  • ความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ (บริษัทแม่) เนื่องจากกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ ต้องสอดคล้องและสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทแม่

การระบุคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง

  • คู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง หมายถึง คู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูงในประเด็น ESG ที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทั้งด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงินของกลุ่ม GPSC ซึ่งรวมถึงเกณฑ์ต่อไปนี้
การกำกับดูแล

จรรยาบรรณทางธุรกิจและความสมบูรณ์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว การจัดหาที่ยั่งยืน

สิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อม

สังคม

พนักงาน สิทธิมนุษยชน การพัฒนามนุษย์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • คู่ค้าที่มีคะแนน = 4 จะถือว่ามีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง
ระดับความเสี่ยง ESG มาตรการบริหารความเสี่ยง
ต่ำ
  • การตรวจสอบและประเมินผลภายใน
  • การประเมิน ESG ด้วยตนเองโดยคู่ค้า
ปานกลาง
สูง
  • การตรวจสอบและประเมินผลภายใน
  • การประเมิน ESG ด้วยตนเองโดยคู่ค้า
  • ESG-Audit ที่ครอบคลุมพร้อมแผนปฏิบัติการแก้ไข
  • การตรวจสอบความยั่งยืนภายนอก
  • การติดตามผลการปฏิบัติงานของคู่ค้า
สูงมาก
การลดความเสี่ยงของคู่ค้า - การตรวจสอบประเด็น ESG

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของคู่ค้า บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินภายในบริษัทอย่างครอบคลุมเพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของคู่ค้า โดยดำเนินการประเมินโดยพนักงานของบริษัทที่จัดซื้อหรือที่ปรึกษาภายนอก (การประเมินโดยบุคคลที่สอง) และหน่วยงานประเมินอิสระที่ได้รับรอง (การประเมินโดยบุคคลที่สาม).

ผลการตรวจสอบจะใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้าในการระบุแนวทางแก้ไขหรือวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของคู่ค้าและการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณที่ยั่งยืนของคู่ค้า รายละเอียดของเกณฑ์การตรวจสอบขั้นต่ำมีดังนี้

ขั้นตอนการตรวจสอบคู่ค้า

  • การจัดการคู่ค้า
  • มาตรฐานคุณภาพ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
  • การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  • จรรยาบรรณของคู่ค้าและการต่อต้านการทุจริต
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • การจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สิทธิมนุษยชน
  • การเตรียมพร้อมและรับมือเหตุฉุกเฉิน
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม

ข้อค้นพบ จุดบกพร่อง และข้อเสนอแนะจะมอบให้กับคู่ค้าเพื่อการปรับปรุงเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตามและติดตามผลเป็นประจำทุกปี

ระดับคะแนน คำอธิบาย
3.26 - 4.00 : Excellence
การปฏิบัติอย่างยั่งยืนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ไม่จำเป็นต้องมีการติดตามการปฏิบัติงาน
2.51 - 3.25 : Good
การปฏิบัติอย่างยั่งยืนอยู่ในเกณฑ์ดี การปรับปรุงเฉพาะควรได้รับการแก้ไข แต่ไม่จำเป็นต้องมีการติดตามการปฏิบัติงาน
1.00 - 2.50 : Fair
การปฏิบัติอย่างยั่งยืนอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คู่ค้าจะต้องนำเสนอแผนงานและกรอบเวลาในการปรับปรุงประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล (ESG Corrective Action Plan) ให้เสร็จก่อนระยะเวลาการดำเนินงานที่ระบุ
ต่ำกว่า 1.00 : Poor
การปฏิบัติอย่างยั่งยืนอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง คู่ค้าจะต้องนำเสนอแผนงานและกรอบเวลาในการปรับปรุงประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล ก่อนการประมูล

หมายเหตุ: เกณฑ์การประเมิน ESG มีคะแนนเต็ม 4 คะแนน บริษัทที่รับการตรวจประเมินต้องได้รับคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 2.5 จึงจะถือว่าผ่าน ESG ของบริษัทฯ Suppliers who has score less than 2.5 point will be excluded from the contract if they cannot improve ESG performance to meet higher than 2.5 within 1 year of improvement. The process ensure that GPSC incorporate ESG performance in suppliers’ selection which is to guarantee that sustainability is embedded into supplier selection and contract awarding.

3. การบริหารจัดการความเสี่ยง
(Risk Management)

บริษัทฯ นำผลจากการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ มาใช้เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยแบ่งเป็นกลุ่มระดับความสำคัญของคู่ค้าเป็น 3 ระดับดังนี้

คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Suppliers) หมายถึง กลุ่มคู่ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบในระดับรุนแรงต่อคู่ค้าเอง และสามารถส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ทำให้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้ซื้อทั้งทางด้านธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กร

คู่ค้าระดับสำคัญ (Key Suppliers) หมายถึง
กลุ่มคู่ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานที่ผลิตภัณฑ์กระจายไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งมีผลกระทบสูงต่อผู้ซื้อทั้งในเชิงธุรกิจและภาพลักษณ์

คู่ค้าระดับจัดการ (Managed Suppliers) หมายถึง กลุ่มคู่ค้าที่มีกิจกรรมการดำเนินงานส่วนใหญ่ในเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อชุมชนหรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีความเสี่ยงปานกลางต่อผู้ซื้อ

4. การจัดทำแผนพัฒนาคู่ค้า (PROGRAM DESIGN)

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาคู่ค้าโดยการกำหนดกลยุทธ์และเครื่องมือในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับปัจจัยความเสี่ยง การดำเนินการธุรกิจของคู่ค้า และระดับความสำคัญของคู่ค้าที่แตกต่างกัน

Total Tier-1 Suppliers 1,440 (Y2022)
Total Spend (MTHB) : 82,369
Category No. of Suppliers Spend (MTHB)
Raw Material - Gas 2 53,045
Raw Material - Coal & Biomass 6 11,939
Mechanical Equipment 231 3,247
Maintenance service 318 3,118
Construction and Design Service 44 1,186
Raw Material - Water 6 738
Instrument Equipment 137 472
Machinery 56 333
Electrical Equipment 84 278
Process / Production 21 208
Safety 40 71
Admin 17 29
Other Materials 87 4,957
Other Services 392 2,748
Grand Total 1,440 82,369

หมายเหตุ คู่ค้า 1 ราย สามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้หลาย category

Country No. of Supplier Spend (MTHB)
Thailand 1,331 80,506
Korea 17 701
United Arab Emirates 2 287
Singapore 24 263
Japan 8 160
China 8 116
United States 11 100
Belgium 3 81
Indonesia 3 52
Finland 1 26
USA 12 20
Australia 3 11
United Kingdom 8 8
Taiwan, Province Of China 3 8
Taiwan 1 6
Malaysia 3 4
Germany 3 4
Hong Kong 1 4
Switzerland 1 3
India 2 3
Hungary 1 1
Austria 1 1
Italy 2 1
Scotland 1 1
Netherlands 2 0.8
France 2 0.7
Denmark 1 0.4
Ireland 1 0.3
Egypt 1 0.1
Grand Total 1,440 82,369
กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน

กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ได้รับการกำหนด รับรอง และสอดคล้องกันเพื่อสร้างกรอบการดำเนินงานที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดและลดความเสี่ยงสำหรับกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด บริษัทฯได้ประกาศ "นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืนของ GPSC" เพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยุติธรรม ยั่งยืน และรับผิดชอบ ตลอดจนจัดให้มีธรรมาภิบาลในการจัดการกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ซัพพลายเชนของบริษัทฯ ดำเนินการโดยพิจารณาจาก 5 ลำดับความสำคัญหลัก

การบูรณาการวัตถุประสงค์ ESG ที่สำคัญในกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อส่งเสริมนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างความตระหนักรู้
ทั่วทั้งองค์กรในคู่ค้า

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในห่วงโซ่คุณค่า ดังนั้น บริษัทฯ จึงนำการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ขณะเดียวกันก็เพิ่มการใช้จ่ายด้วยการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนให้คู่ค้านำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้และสร้างความตระหนักในการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานของตน เพื่อสนับสนุนการซื้อสินค้าหรือบริการที่สร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการดำเนินการในลักษณะเดียวกัน การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะพิจารณาผลกระทบของสินค้า/บริการตลอดวงจรชีวิต ตั้งแต่การออกแบบ การจัดหาวัตถุดิบ วิธีการผลิต บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดทิ้งหลังการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรให้สูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ กำลังวางแผนที่จะบูรณาการด้านการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกคู่ค้าในอนาคต ซึ่งสามารถตอบสนองกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ด้านซัพพลายเชนของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้แนวทาง
การปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการ ESG เข้ากับระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น บริษัทฯ จึงส่งเสริมการรับรู้และความตระหนักในจรรยาบรรณของคู่ค้า GPSC เพื่อปรับปรุงความโปร่งใส ความเป็นธรรม และประสิทธิภาพในคู่ค้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงตามผลลัพธ์ที่ต้องการ คู่ค้าที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของคู่ค้าจะพิจารณาในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าของบริษัทฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน ESG

แนวปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยได้ดำเนินการตามนโยบายการพัสดุที่กำหนดให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามแนวทางการจัดซื้อจัดหาพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ แนวทางในการจัดซื้อจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มีการพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน

การจัดซื้อจัดหาในท้องถิ่น

บริษัทฯ ให้การสนับสนุนการจัดซื้อจัดหาในท้องถิ่น (ท้องถิ่น หมายถึง การจัดหาภายในประเทศไทย) อันมีผลประโยชน์กับบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลประโยชน์ทางตรงจากการจัดซื้อจัดหาในท้องถิ่นคือต้นทุนที่ต่ำกว่าและการขนส่งที่รวดเร็วกว่า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการจัดซื้อจัดหาของบริษัทฯ อีกทั้ง บริษัทฯ ยังได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากการสนับสนุนเศรษฐกิจ สร้างงาน และรายได้ให้แก่คนในพื้นที่ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและพัฒนาเป็นความไว้วางใจในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

KPIs FOR SUPPLIER ASSESSMENT 2022
Performance
1.1 Total number of Tier-1 suppliers 1,440
1.2 Total number of significant suppliers in Tier-1  63
1.3 % of total spend on significant suppliers in Tier-1 89%
1.4 Total number of significant suppliers in non Tier-1 1
1.5 Total number of significant suppliers (Tier-1 and non Tier-1) 64
KPIs FOR SUPPLIER ASSESSMENT 2022 2022
Performance Target
1.1 Total number of suppliers assessed via desk assessments/ on-site assessments* 64 (100%) 64 (100%)
1.2 % of significant suppliers assessed 100% 100%
1.3 Number of suppliers assessed with substantial actual/ potential negative impacts 5 5
1.4 % of suppliers with substantial actual/potential negative impacts with agreed corrective action/improvement plan 100% 100%
1.5 Number of suppliers with substantial actual/potential negative impacts that were terminated 0 0
KPIs FOR SUPPLIERS WITH CORRECTIVE ACTION PLANS 2022 2022
Performance Target
2.1 Total number of suppliers supported in corrective action plan implementation* 5 5
2.2. % of suppliers assessed with substantial actual/potential negative impacts supported in corrective action plan implementation 100% 100%
KPIs FOR SUPPLIERS IN CAPACITY BUILDING PROGRAMS 2022 2022
Performance Target
3.1 Total number of suppliers in capacity building programs* 64 (100%) 64 (100%)
3.2 % of significant suppliers in capacity building programs 100% 100%

หมายเหตุ:

  1. ดำเนินการตรวจคู่ค้าในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) โดยหน่วยงานภายนอกใช้วิธีการตรวจประเมินระยะไกล
ปรับปรุง ณ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)