ความเสี่ยงด้านกายภาพ |
น้ำท่วม |
- พนักงาน และคู่ค้าไม่สามารถเดินทางมาทำงาน และส่งมอบสินค้า จนไปถึงการหยุดกิจการชั่วคราวในกลุ่มของคู่ค้า
- น้ำท่วมส่งผลให้บริษัทฯจำเป็นต้องหยุดการดำเนินธุรกิจชั่วคราว
- ในกรณีที่บริษัทฯหยุดดำเนินการอาจมีค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้า และค่าปรับสำหรับลูกค้าหรือคู่ค้าเป็นต้น
- ในกรณีของเขื่อน จะมีปัญหาเรื่องการเพิ่มขึ้นของกากตะกอน ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำลดลงแล้ว และเพิ่มโอกาสการเกิดความเสียหายแก่ใบพัดใต้เขื่อน
|
- ตรวจสอบ วิเคราะห์ ทบทวนพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมดของกลุ่มบริษัทฯ ว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน
- จัดทำแผนรับมือปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงจัดเตรียมงบประมาณสำหรับสร้างแนวกั้นน้ำท่วม และระบบป้องกันน้ำกัดเซาะในพื้นที่ปฏิบัติการ
|
น้ำแล้ง |
- ผลจากศึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยอ้างอิงจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคตระบุว่า จังหวัด ระยอง และ ชลบุรีจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในระดับปานกลางเนื่องจากมีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
- เมื่อคลังเก็บน้ำมีระดับน้ำลดลงจนถึงขาดแคลน การดำเนินงานของบริษัทฯ จะหยุดชะงักเนื่องจากไม่มีน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า
- บริษัทฯ อาจมีความจำเป็นในการเช่าอุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดเพื่อใช้ในการหล่อเย็น
|
- ติดตั้งระบบรีเวิสออสโมซิส (RO) สำหรับเปลี่ยนน้ำทะเลบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ปฏิบัติการเป็นน้ำจืดสำหรับใช้ในช่วงเวลาขาดแคลนน้ำ
- จัดงบประมาณสร้าง คลังน้ำเพิ่มเติม รวมถึงระบบจัดเก็บน้ำฝนสำหรับใช้ในฤดูแล้ง
|
พายุ และฟ้าผ่า |
- กรณีศึกษาจากเหตุการณ์ฟ้าผ่าในอดีตของบริษัทฯ ฟ้าผ่าส่งผลให้หม้อแปลงผลิตไฟฟ้าทำงานผิดปกติซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอื่นๆตามมา เช่น ความบำรุงรักษาความเสียหายระบบไฟฟ้า การหยุดชะงักของกระบวนการผลิต
|
- จัดเตรียมแผนสำรองเพื่อตอบสนองหลังจากเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าพื้นที่ปฏิบัติการ
- พัฒนา ศึกษา ระบบการป้องไฟฟ้าลัดวงจรจากเหตุการณ์ฟ้าผ่า
- อบรมพนักงานในพื้นที่ปฏิบัติ และจัดการซ้อมแผนรับมือจากเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง
- ติดตาม และพัฒนาศักยภาพของแผนการรับมือฟ้าผ่า และไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ห่วงโซ่อุปทานให้น้อยที่สุด
|
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น |
- เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวสูงขึ้นประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้าจะต่ำลง
- ประสิทธิภาพในการหล่อเย็นจากคลังน้ำจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จนก่อให้เกิดปัญหาการใช้น้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำในคลังจะมีอัตราการระเหยเพิ่ม ซึ่งอาจะก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้
|
- ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรภายในพื้นที่ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
- มองหาพื้นที่ใหม่ในการลงทุนเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงของปัญหาอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้น
|
ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน |
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค |
- เนื่องจากสถานการณ์ และความกดดันเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความสนใจในการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น โดยหากไฟฟ้าที่ผลิตจากบริษัทฯยังคงมีสัดส่วนมาจากพลังงานฟอสซิลอยู่มาก จะส่งผลต่อปริมาณจัดซื้อ และความพึงพอใจลดลง และอาจจะกระทบต่อรายได้ของบริษัทฯ
|
- บริษัทฯ ลงทุนเพิ่มสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนผ่านการเข้าถือหุ้นบริษัทพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ ส่งผลให้มีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
- บริษัทฯ ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพื่อรองรับธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคตเช่น ระบบกักเก็บพลังงาน และระบบการจัดการพลังงาน
|
ข้อบังคับควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ |
- ประเทศไทยมีแนวโน้มออกข้อบังคับในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใน3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจไฟฟ้า เรื่องการสำรองเงินสำหรับชดเชยจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเกินข้อกำหนด
|
- บริษัทฯ เข้าร่วมการทำกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนเครดิตสำหรับซื้อขายในอนาคต ด้วยเหตุนี้บริษัทฯคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้สูงถึง 6,000 ล้านบาท
- บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายระยะยาวในการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนผ่านการเข้าถือหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ อาทิ ไต้หวัน อินเดีย และเวียดนาม
|
การกำหนดราคาภาษีคาร์บอน |
- ประเทศไทยมีแนวโน้มจะกำหนดภาษีคาร์บอนภายใน3-5ปี ข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลต่อบริษัทฯ เนื่องจากมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล และมีแนวโน้มที่จะโดนค่าปรับจากภาษีคาร์บอน
|
ความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
- กลุ่มนักทุนรายใหญ่ในระดับสากลมีความคาดหวังต่อบริษัทฯ ที่ลงทุนนั้น จะต้องมีแผนการจัดการปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งหากบริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนของพลังงานฟอสซิลอยู่ อาจจะส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนเพิกถอนการลงทุนจากบริษัทฯ
|
- บริษัทฯ เข้าร่วมการประเมินตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ได้รับผลประเมินในระดับ “ยอดเยี่ยม”ผ่านการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โดดเด่น ซึ่งจะสร้างความไว้วางใจแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
|