โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ บริหารจัดการการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบายคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการบริหาร โดยการดำเนินงานของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งกลุ่มบริษัทฯ ทั้งนี้ โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบสามารถสรุปได้ดังนี้

คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ตรวจสอบและอนุมัติกลยุทธ์ นโยบาย วัตถุประสงค์ แผนปฏิบัติการ และเป้าหมายทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯ เพื่อให้แผนงานดังกล่าวดำเนินการตามทิศทางและกลยุทธ์ที่กำหนด รวมทั้งมีบทบาทในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE) และประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการตัดไม้ทำลายป่า โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทในทุกไตรมาส
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ มีหน้าที่ติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามทิศทางและกลยุทธ์ที่กำหนด รวมทั้งบริหารจัดการอุปสรรคและความเสี่ยงที่สำคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารยังทำหน้าที่ให้ข้อเเสนอแนะต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อตัดสินใจในประเด็นที่สำคัญและแผนงาน ตลอดจนบริหารระบบงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและกลั่นกรองการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ รวมทั้งมีบทบาทในการกำกับดูแลและกำหนดทิศทางสำหรับการดำเนินการของคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE) และประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งจะได้รับการรายงานเป็นประจำทุกเดือน
คุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE)
ฝ่ายคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (QSSHE) มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนานโยบาย กลยุทธ์ แนวปฏิบัติ มาตรฐาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานและเครื่องมือต่างๆ ตลอดจนติดตามระบบคุณภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม QSSHE รวมทั้งถ่ายทอดและให้คำปรึกษาในการดำเนินงานที่เกี่ยข้องแก่บริษัทฯ และบริษัทในเครือสำหรับการนำแง่มุมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ QSSHE ไปปฏิบัติ รวมถึงการวางแผน สนับสนุน และให้การสนับสนุน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ปฏิบัติตามมาตรฐาน เครื่องมือ กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ นอกจากนี้ ฝ่าย QSSHE มีบทบาทในการดำเนินงานหลายด้านของบริษัทฯ เช่น อาชีวอนามัยและความปลอดภัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยและความมั่นคงของกระบวนการ การจัดการเหตุฉุกเฉิน การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มคุณภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเผยแพร่มาตรการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรในประเด็นและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับ QSSHE
ส่วนกิจการเพื่อสังคม (CSR)
ส่วนกิจการเพื่อสังคมมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม การดำเนินกิจการเพื่อสังคม การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่และหน่วยงานภายนอก และรักษาชื่อเสียงที่ดีของบริษัทฯ ตามกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯ รวมถึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการปลูกป่าในพื้นที่ท้องถิ่นที่บริษัทได้เข้าไปดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทฯ