โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Changfang และ Xidao
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ไต้หวัน
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Changfang และ Xidao
   บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ วัน จำกัด
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ไต้หวัน
บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ วัน จำกัด
   อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท ลิมิเต็ด
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ประเทศอินเดีย
อวาด้า เอนเนอร์ยี่ ไพรเวท ลิมิเต็ด
   โครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Private PPA
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
หลายพื้นที่ในประเทศไทย ประเทศไทย
โครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Private PPA
   โรงไฟฟ้าชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
   โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF
   บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด (GRP)
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ลพบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร และ ขอนแก่น ประเทศไทย
บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด (GRP)
   โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงาน แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (โครงการ2)
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงาน แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (โครงการ2)
   โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงาน แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (โครงการ1)
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ประเทศไทย
โรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงาน แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (โครงการ1)

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ได้พัฒนาและร่วมลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อตอบรับความต้องการในการใช้พลังงานสะอาดที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่โดยรอบ และการมุ่งสร้างความมั่นคงทางธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานและความเชี่ยวชาญที่แข็งแกร่งในด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวมวล และเชื้อเพลิงขยะมูลฝอย ทำให้เราสามารถยกระดับประสิทธิภาพด้านกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนและควบคุมต้นทุนในการบริหารจัดการต่าง ๆ ให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน GPSC มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้เรามีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อนำพลังงานและผลผลิตที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนี้ไปจำหน่ายให้แก่คู่ค้าและคู่สัญญาที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญาไว้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งในแรงขับเคลื่อนและสนับสนุนสำคัญสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย โดยเราตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

ปัจจุบัน GPSC ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอนรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างกันจนเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC) จากนั้นจึงส่งพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current: AC) และส่งเข้าสู่สายไฟฟ้า โดยมีหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) และสวิตช์เกียร์ (Switch Gear) ทำหน้าที่ในการเพิ่มแรงดันสำหรับการจ่ายไฟเข้าระบบสายส่งของการไฟฟ้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
นอกจากนี้ GPSC ยังได้เริ่มโครงการโรงไฟฟ้าหมุนเวียนจากเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) โดยหลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้จะเริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ เช่น โลหะ แก้ว เศษหิน ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลออกจากขยะชุมชน จากนั้นจึงป้อนเข้าสู่เครื่องสับย่อยเพื่อลดขนาด และนำไปผ่านกระบวนการบำบัดทางกายภาพเพื่อเปลี่ยนองค์ประกอบให้เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง RDF ก่อนจะส่งเข้าสู่ระบบเตาเผา (Combustion System) เพื่อเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเถ้าที่อุณหภูมิ 850-900 องศาเซลเซียส พร้อมกับนำความร้อนที่ได้ไปใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF นี้ถือเป็นโครงการที่สามารถต่อยอดและแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะชุมชนตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนและกำจัดขยะชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รูปแบบของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
GPSC ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใน 4 รูปแบบ ได้แก่

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm)

เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าด้วยด้วยวิธีโฟโตโวลตาอิคส์ (Solar Photovoltaics) โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุด 90 เมกะวัตต์ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด โดยมีอุปกรณ์ในระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ หม้อแปลงไฟฟ้า และหม้อแปลงกำลัง

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารหรือโรงงานขนาดต่าง ๆ โดยระบบจะเริ่มทำงานเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ และจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจึงส่งเข้าสู่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร

เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการ ราชพัสดุ และสหกรณ์การเกษตร โดยมีหลักการทำงานเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด 5 เมกะวัตต์ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด

  • โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF

เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ระบบการเผาไหม้ก๊าซซิไฟเออร์ (Gasification System) หรือกระบวนการแปรสภาพเป็นก๊าซ โดยนำก๊าซที่ได้มาสันดาปภายในเครื่องยนต์รอบต่ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และนำควันที่เกิดจากการเผาไหม้มาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและแปลงสภาพเป็นก๊าซเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปั่นไฟ

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน GPSC
ปัจจุบัน GPSC มีการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเชิงพาณิชย์ ดังนี้

Ref:
https://abc.egat.co.th/electricity-generation/22-electricity-generation/86-plant-renewable
https://www.egat.co.th/home/renewables/
https://www.mut.ac.th/research-detail-246
http://dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8369sc/รวม.pdf