โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ได้พัฒนาและร่วมลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำกับผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดรายใหญ่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำสูง มีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงผ่านแม่น้ำสายต่าง ๆ กว่า 202,000 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 85% ของพื้นที่ทั้งหมด โดย GSPC เป็นหนึ่งในบริษัทฯ ไทยที่ได้รับการยืนยันจากรัฐบาล สปป.ลาว ถึงการออกแบบ พัฒนา ก่อสร้าง และดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ถูกต้องตามกฎหมายและข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ทุกประการ และด้วยความร่วมมือกันในกลุ่มบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เรามีศักยภาพการแข่งขันด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำในระดับสูงสุด
ปัจจุบัน GPSC ได้ทำงานร่วมกันกับบริษัทเอกชนหลายรายใน สปป.ลาว ทำให้เรามีโรงงานพลังน้ำที่มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 1,500 เมกะวัตต์ต่อปีเพื่อนำพลังงานและผลผลิตที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังน้ำนี้ไปจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และและรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite Du Laos: EDL) ซึ่งนับเป็นอีกก้าวที่สำคัญสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศไทย สปป.ลาว และภูมิภาคอาเซียน และเรายังมีแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ คือ การใช้ประโยชน์จากแรงดันของน้ำจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งตั้งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อสะสมพลังงานศักย์ จากนั้นจึงปล่อยน้ำลงมาตามท่อเพื่อสร้างพลังงานจลน์จากแรงดันและการไหลของน้ำเพื่อไปหมุนเพลาของเครื่องกังหันน้ำ (Hydro Turbine) ซึ่งมีแกนต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเกิดเป็นพลังไฟฟ้าเพื่อส่งเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้า (Transmission Line) โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะสามารถผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งกำลังผลิตติดตั้งและพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันและปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำ ทำให้ประหยัดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง เนื่องจากอาศัยเพียงความต่างของระดับน้ำและการไหลของน้ำเท่านั้น ไม่มีความร้อนเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ไม่ปลดปล่อยมลพิษ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อหน่วยไฟฟ้า (kWh)

รูปแบบของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

GPSC ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในรูปแบบของโรงไฟฟ้าพลังน้ำชนิดฝายน้ำล้น (Run-of-river Hydro Plant) โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภทนี้จะไม่มีการกักเก็บน้ำไว้ทางต้นน้ำ แต่เป็นการปล่อยให้น้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยอาศัยการยกระดับน้ำและการไหลของน้ำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการชะลอมวลน้ำ ไม่มีการกักเก็บน้ำ หรือเบี่ยงน้ำออกจากแม่น้ำโขง ไม่ทำให้น้ำเปลี่ยนทิศทาง น้ำที่ไหลเข้าสู่โรงไฟฟ้าจึงไหลออกสู่ท้ายน้ำด้วยอัตราการไหลตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำแบบ Inflow-Outflow เพื่อรักษาสภาพแม่น้ำโขงไว้ให้คงเดิมตลอดระยะเวลาผลิตไฟฟ้า โดยหากมวลน้ำมีมากเกินกว่าความสามารถในการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังน้ำก็จะปล่อยน้ำส่วนเกินนั้นออกทางประตูระบายน้ำ (Spillway) ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำนี้จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และยังสามารถบริหารเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงตามฤดูกาลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บมวลน้ำสำรองไว้สำหรับผลิตไฟฟ้าแต่อย่างใด

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ GPSC

ปัจจุบัน GPSC มีการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเชิงพาณิชย์ ดังนี้

Ref: