• หน้าหลัก
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ข้อมูลบริษัท
      • วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
      • คุณค่าขององค์กร
    • เหตุการณ์สำคัญ
    • สัญลักษณ์
    • โครงสร้างการถือหุ้น
    • โครงสร้างการจัดการ
      • โครงสร้างองค์กร
      • คณะกรรมการบริษัท
      • คณะกรรมการตรวจสอบ
      • คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
      • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
      • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน
      • คณะผู้บริหาร
    • บริษัทย่อย และบริษัทในเครือ
    • รางวัลแห่งความภูมิใจ
    • รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
    คณะกรรมการบริษัท
  • ธุรกิจของเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • โครงสร้างกลุ่มธุรกิจ
    • โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
    • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
    • โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
    • ธุรกิจเกี่ยวเนื่องและอื่น ๆ
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • รายงาน
      • รายงานความยั่งยืน
      • Sustainability Performance Data
    • จีพีเอสซี กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
      • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
      • การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
      • โครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืน
      • กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืน
    • เศรษฐกิจ
      • การกำกับดูแล, การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
      • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
      • วิวัฒนาการธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต
      • ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
      • การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
      • การสนับสนุนต่อสมาคม / องค์กรทางธุรกิจต่างๆ
      • ความโปร่งใสด้านภาษี
    • สิ่งแวดล้อม
      • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
      • พลังงานสะอาดในอนาคตและการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • ความหลากหลายทางชีวภาพ
    • สังคม
      • ความรับผิดชอบต่อสังคม
      • การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
      • สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
      • สิทธิมนุษยชน
    • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
    • นโยบาย
    • รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
    การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
    Stakeholder Engagement
    รายงานความยั่งยืน
    SD Report
  • นักลงทุนสัมพันธ์

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
    • ข้อมูลทางการเงิน
      • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
      • งบการเงิน
      • คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
      • อันดับความน่าเชื่อถือ
    • ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
      • ราคาหลักทรัพย์
      • ราคาย้อนหลัง
      • เครื่องคำนวณการลงทุน
    • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
      • ข้อมูลพื้นฐาน
      • รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
      • การประชุมผู้ถือหุ้น
      • ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มทุน (RO)
      • โครงการผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการ
      • นโยบายและการจ่ายเงินปันผล
      • ปฏิทินนักลงทุนสัมพันธ์
    • ข้อมูลหุ้นกู้
      • ข้อมูลหุ้นกู้
      • ข้อมูลหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2563
      • ข้อมูลหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2565
    • ห้องข่าว
      • ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
      • ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
      • ข่าวจากสื่อสิ่งพิมพ์
    • เอกสารนำเสนอและภาพวิดีโอบริษัท
    • ข้อมูลนักวิเคราะห์
      • ติดต่อนักวิเคราะห์
      • บทวิเคราะห์หลักทรัพย์
    • เอกสารเผยแพร่
      • 56-1 One Report / รายงานประจำปี
      • แบบฟอร์ม 56-1
      • หนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์
      • ดาวน์โหลดเอกสารนักลงทุนสัมพันธ์
    • สอบถามข้อมูลและติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
      • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
      • อีเมล์รับข่าวสาร
      • คำถามที่พบบ่อย
    ราคาหลักทรัพย์
    งบการเงิน
  • ข่าวและกิจกรรม

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ข่าวสาร
      • ข่าวประชาสัมพันธ์
      • ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม
    • วีดิทัศน์
      • วีดิทัศน์บริษัท
      • วีดิทัศน์โครงการ
      • สกู๊ปข่าว
      • พลังงานน่ารู้
    • เล่าเรื่องพลังงาน
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ
    • การตรวจสอบภายใน
    • การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
    • แจ้งเบาะแสการทุจริต
    • ติดต่อเลขานุการบริษัท
    • คู่มือแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม
  • ร่วมงานกับเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ตำแหน่งงานว่าง
    • ใบสมัครงานออนไลน์
    • การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
  • ติดต่อเรา
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
Font
A+
A
Dark mode Light mode
Quick links
แจ้งเบาะแสการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้าง
ภาษา :
  • TH
  • EN
Recommended Searches
  • Energy forecast
  • Careers
  • Annual Report
  • Energy Storage System
Quick links
แจ้งเบาะแสการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้าง
  • A+
    Increase Font
  • A
    Regular Font
  • Dark mode Light mode
  • EN
ย้อนกลับ

GPSC ปรับกลยุทธ์ใหม่ รับเทรนด์พลังงานสะอาดโลก ก้าวสู่ 1 ใน 3 บริษัทนวัตกรรมพลังงานในภูมิภาคอาเซียน

09 ก.ย. 2564

GPSC จัดทัพธุรกิจ ปรับกลยุทธ์ใหม่ ชู 4S สอดรับทิศทางพลังงานโลก และแผนพลังงานชาติของไทย ที่เตรียมยกระดับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ป้องกันโลกร้อน มุ่งสู่พลังงานสะอาด เร่งเดินหน้าขยายพอร์ตพลังงานสีเขียว (Green energy) มากกว่า 50% ของกำลังการผลิตรวมภายใน 10 ปี ครอบคลุมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โฟกัส อินเดีย เวียดนาม และไต้หวัน เดินหน้าสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ 1 ใน 3 บริษัทนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ GPSC ได้ทำการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเปลี่ยนแปลงทิศทางพลังงานโลกและแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ของไทยที่มุ่งไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อลดภาวะโลกร้อนที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก หรือ 4S ที่จะขับเคลื่อนให้ GPSC ก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมพลังงานเพื่อความยั่งยืน 1 ใน 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“GPSC มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดในพอร์ตการลงทุนให้มีสัดส่วนมากกว่า 50% จากกำลังการผลิตรวมของบริษัทฯ ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2573 พร้อมทั้งก้าวสู่นวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) ด้วยเทคโนโลยีเซมิโซลิด (SemiSolid) เพื่อต่อยอดสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยบริษัทฯ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์พลังงานโลก ที่มุ่งสู่การพัฒนาพลังงานสะอาดมากขึ้น ส่งผลให้ GPSC ปรับกลยุทธ์ใหม่ ที่สอดรับกับเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติในปีนี้ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ที่จะผลักดันให้ประเทศต่างๆ ไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดทำแผนพลังงานชาติให้สอดรับกับทิศทางดังกล่าว โดยจะนำมาสู่การปรับแผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ (PDP 2565) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานชาติ ที่จะจัดทำเสร็จในปี 2565 โดยเน้นพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น” นายวรวัฒน์กล่าว

สำหรับกลยุทธ์ 4S ประกอบด้วย S1: Strengthen and expand the Core การสร้างความแข็งแกร่ง พร้อมขยายการให้บริการในธุรกิจหลัก ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตที่มีเสถียรภาพในระดับสากล สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อขยายไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง S2: Scale – up Green energy การเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน S3: S-Curve & Batteries การพัฒนานวัตกรรมพลังงานและธุรกิจแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน การพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าและยานพาหนะอื่นๆ รวมถึงการต่อยอดธุรกิจเชิงนวัตกรรม และ S4: Shift to Customer – centric Solutions บริการโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการผลิตไฟฟ้าและสาธารณูปโภค โดยใช้นวัตกรรมพลังงานทั้งโรงไฟฟ้าหลักและโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ด้วยระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงเสนอโซลูชั่นที่สามารถบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน

“กลยุทธ์ใหม่จะเน้นการขยายโอกาสในการพัฒนาพลังงานที่เป็นแพลตฟอร์ม สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานในรูปแบบความร่วมมือ และการเข้าไปศึกษาความเป็นไปได้กับ Local partner ในประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะ อินเดีย เวียดนามและไต้หวัน ที่จะนำมาสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรในองค์กรในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 7,102 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในสัดส่วน 37% ก๊าซธรรมชาติ 48% ถ่านหิน 11% และอื่น ๆ 4%” นายวรวัฒน์กล่าว

อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ 4S เกิดจากกรอบการทำงานของ GPSC ที่มุ่งเน้น 3D+1C ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความยั่งยืนอย่างเข้มข้น ซึ่งประกอบด้วย Decarbonize การเพิ่มประสิทธิในกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ Decentralize การกระจายเชื้อเพลิง กระจายโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด Digitalize การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการพลังงาน และ Convergence ระบบการกระจายการผลิตไฟฟ้าที่ทุกคนเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า

แชร์ข่าวสารนี้:

555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร B ชั้น 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

  • อีเมล: corporate@gpscgroup.com
  • โทรศัพท์: 0 2140 4600
  • โทรสาร: 0 2140 4601
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ธุรกิจของเรา
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ข่าวและกิจกรรม
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • Webmail
  • การจัดซื้อจัดจ้าง
  • GLOW
  • HHPC
  • CHPP

© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

  • แผนผังเว็บไซต์
ติดตามเรา