• หน้าหลัก
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ข้อมูลบริษัท
      • วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
      • คุณค่าขององค์กร
    • เหตุการณ์สำคัญ
    • สัญลักษณ์
    • โครงสร้างการถือหุ้น
    • โครงสร้างการจัดการ
      • โครงสร้างองค์กร
      • คณะกรรมการบริษัท
      • คณะกรรมการตรวจสอบ
      • คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
      • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
      • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี
      • คณะผู้บริหาร
    • บริษัทย่อย และบริษัทในเครือ
    • รางวัลแห่งความภูมิใจ
    • รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
    คณะกรรมการบริษัท
  • ธุรกิจของเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • โครงสร้างกลุ่มธุรกิจ
    • โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม / โคเจนเนอเรชั่น / พลังความร้อน
    • โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
    • โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
    • ธุรกิจเกี่ยวเนื่องและอื่น ๆ
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • รายงาน
      • รายงานความยั่งยืน
      • Sustainability Performance Data
    • จีพีเอสซี กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
      • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
      • การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
      • โครงสร้างการบริหารจัดการความยั่งยืน
      • กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืน
    • เศรษฐกิจ
      • การกำกับดูแล, การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
      • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
      • วิวัฒนาการธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต
      • ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
      • การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
      • การสนับสนุนต่อสมาคม / องค์กรทางธุรกิจต่างๆ
      • ความโปร่งใสด้านภาษี
    • สิ่งแวดล้อม
      • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
      • พลังงานสะอาดในอนาคตและการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      • ความหลากหลายทางชีวภาพ
    • สังคม
      • ความรับผิดชอบต่อสังคม
      • การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
      • สุขภาวะและความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการทำงาน
      • สิทธิมนุษยชน
    • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
    • นโยบาย
    • รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
    การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
    Stakeholder Engagement
    รายงานความยั่งยืน
    SD Report
  • นักลงทุนสัมพันธ์

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
    • ข้อมูลทางการเงิน
      • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
      • งบการเงิน
      • คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
      • อันดับความน่าเชื่อถือ
    • ข้อมูลราคาหลักทรัพย์
      • ราคาหลักทรัพย์
      • ราคาย้อนหลัง
      • เครื่องคำนวณการลงทุน
    • ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
      • ข้อมูลพื้นฐาน
      • รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
      • การประชุมผู้ถือหุ้น
      • ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มทุน (RO)
      • โครงการผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการ
      • นโยบายและการจ่ายเงินปันผล
      • ปฏิทินนักลงทุนสัมพันธ์
    • ข้อมูลหุ้นกู้
      • ข้อมูลหุ้นกู้
      • ข้อมูลหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • ห้องข่าว
      • ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
      • ข่าวแจ้งสื่อมวลชน
      • ข่าวจากสื่อสิ่งพิมพ์
    • เอกสารนำเสนอและภาพวิดีโอบริษัท
    • ข้อมูลนักวิเคราะห์
      • ติดต่อนักวิเคราะห์
      • บทวิเคราะห์หลักทรัพย์
    • เอกสารเผยแพร่
      • 56-1 One Report / รายงานประจำปี
      • แบบฟอร์ม 56-1
      • หนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์
      • ดาวน์โหลดเอกสารนักลงทุนสัมพันธ์
    • สอบถามข้อมูลและติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
      • ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
      • อีเมล์รับข่าวสาร
      • คำถามที่พบบ่อย
    ราคาหลักทรัพย์
    งบการเงิน
  • ข่าวและกิจกรรม

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ข่าวสาร
      • ข่าวประชาสัมพันธ์
      • ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม
    • วีดิทัศน์
      • วีดิทัศน์บริษัท
      • วีดิทัศน์โครงการ
      • สกู๊ปข่าว
      • พลังงานน่ารู้
    • เล่าเรื่องพลังงาน
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • นโยบายความเป็นส่วนตัว
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ
    • การตรวจสอบภายใน
    • การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
    • แจ้งเบาะแสการทุจริต
    • ติดต่อเลขานุการบริษัท
    • คู่มือแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่ม
  • ร่วมงานกับเรา

    GLOBAL BEST PRACTICE IN POWER BUSINESS

    • ตำแหน่งงานว่าง
    • ใบสมัครงานออน์ไลน์
  • ติดต่อเรา
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
Font
A+
A
Dark mode Light mode
Quick links
แจ้งเบาะแสการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้าง
ภาษา :
  • TH
  • EN
Recommended Searches
  • Energy forecast
  • Careers
  • Annual Report
  • Energy Storage System
Quick links
แจ้งเบาะแสการทุจริต การจัดซื้อจัดจ้าง
  • A+
    Increase Font
  • A
    Regular Font
  • Dark mode Light mode
  • EN
ย้อนกลับ

พลังงานทดแทน

09 พ.ย. 2564

พลังงานทดแทนคืออะไร

พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล อาทิ ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกและปัญหาโลกร้อน โดยทั่วไปแล้ว พลังงานทดแทนจะหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติและสามารถใช้ทดแทนพลังงานเดิมได้อย่างไม่จำกัด ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญและมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานและช่วยลดปัญหามลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พลังงานหลากหลายรูปแบบจากแหล่งที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือได้จากกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองหรือสามารถผลิตเพื่อนำมาใช้ได้อย่างไม่จำกัด พลังงานทดแทนมักถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่ในความเป็นจริง มนุษย์ได้นำเอาพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดความร้อน แสงสว่าง การคมนาคม และประโยชน์ด้านอื่น ๆ มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ในช่วงประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา มนุษย์นิยมใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินมากกว่า อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนนั้นไม่ใช่พลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน

หลักการทำงานของพลังงานทดแทน

พลังงานทดแทนสามารถไปใช้ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การนำไปใช้โดยตรง เช่น การใช้พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์เพื่อถนอมอาหาร การใช้พลังงานลมเพื่อแล่นเรือในทะเลและขับเคลื่อนกังหันลมเพื่อบดเมล็ดพืช การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ความอบอุ่นในตอนกลางวันและช่วยจุดไฟในตอนกลางคืน เป็นต้น และการนำพลังงานไปเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานจลน์ พลังงานกล หรือพลังงานศักย์ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นต้น

ประเภทของพลังงานทดแทน

พลังงานทดแทนสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

พลังงานลม (Wind Energy)

พลังงานทดแทนที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ การหมุนของโลก หรือแรงกดดันจากชั้นบรรยากาศ ปัจจุบัน พลังงานลมมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นพลังงานอื่น ๆ ได้หลากหลาย รวมถึงกระแสไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีของกังหันลม ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีลักษณะเป็นใบพัดรับแรงเคลื่อนที่ของลม และเปลี่ยนพลังงานจลน์ (Kinetic Energy) จากการเคลื่อนที่ของลมให้กลายเป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) ในการหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อเปลี่ยนพลังงานลมเป็นพลังงานไฟฟ้าและนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การสูบน้ำ การบดหรือสีเมล็ดพันธุ์พืช หรือกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยกังหันลมแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ กังหันลมแบบแกนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) กังหันลมแบบแกนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานทดแทนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบทั้งทางตรง เช่น การฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำร้อนที่ได้จากพลังงานความร้อนผ่านแสงแดด หรือการเลี้ยงสาหร่ายที่สังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ และการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ซึ่งเป็นการนำแสงหรือความร้อนที่แผ่จากรังสีดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม พลังงานที่เกิดจากดวงอาทิตย์สามารถเปลี่ยนเป็นรูปแบบพลังงานได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ แอคทีพโซลาร์ (Active Solar) โดยใช้วิธีการโฟโตโวลตาอิคส์ (Photovoltaic) เพื่อเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และพาสซีฟโซลาร์ (Passive Solar) โดยใช้แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในทางอ้อม

พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)

พลังงานที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรม เช่น ต้นไม้ ฟางข้าว ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด วัชพืช ถ่าน ฟืน แกลบ จนไปถึงขยะและมูลสัตว์ ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถนำไปผ่านกระบวนการให้เกิดพลังงานใน 2 รูปแบบ คือ กระบวนการให้ความร้อนเพื่อแปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบแท่งเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง และกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการนำของเสียมาหมักในสภาพไร้ออกซิเจนเพื่อทำให้เกิดการย่อยสลาย และเกิดเป็นแก๊สชีวภาพ (Biogas Energy) และสารเพิ่มคุณภาพดิน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในประเทศเกษตรกรรม เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้มากกว่า

พลังงานน้ำ (Water Energy)

พลังงานทดแทนที่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติ สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ในปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่อาศัยหลักการเคลื่อนที่ของน้ำในรูปแบบของเขื่อนเพื่อสะสมกำลังในการสร้างพลังงานศักย์ โดยจะมีการผันน้ำเข้าสู่กังหันน้ำเพื่อให้พลังงานน้ำดันใบพัดกังหันหมุนเพลาที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า และหากใช้กับเครื่องกลพลังน้ำก็จะทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็วและควบคุมปริมาณการผลิตพลังงานได้ตามที่ต้องการ ที่สำคัญเครื่องกลพลังน้ำจะมีความสึกหรอน้อยกว่าอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ จึงทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นตามไปด้วย

พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)

พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือ พลังงานอุณหธรณี คือ พลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ดินหรือบริเวณแกนกลางของโลก ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส โดยพลังงานความร้อนใต้พิภพเกิดจากการที่น้ำไหลซึมเข้าไปอยู่ตามชั้นหินที่อุ้มน้ำ ส่วนความร้อนใต้ผิวโลกจะทำให้น้ำระเหยเป็นไอ แต่ไอน้ำบางส่วนนั้นไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้ จึงทำให้มีไอน้ำบางส่วนถูกกักเก็บไว้ใต้ชั้นหิน ซึ่งเราสามารถนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยการเจาะหลุมลึกใต้ดินเพื่อนำเอาไอน้ำแรงดันสูงไปหมุนกังหันและให้พลังงานสู่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบางแหล่งยังมีก๊าซธรรมชาติประกอบอยู่ด้วย สามารถแยกก๊าซออกมาใช้ประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง

การนำพลังงานทดแทนไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบัน เราสามารถนำพลังงานทดแทนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมของโลก รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ ดังนั้น พลังงานทดแทน จึงเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ข้อดีของการใช้พลังงานทดแทน

  • เป็นพลังงานทดแทนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้เพื่อการอุปโภคและสาธารณูปโภคแทนแหล่งพลังงานเดิมใหม่ได้เรื่อย ๆ โดยไม่มีวันหมดไป
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดผลกระทบ มลภาวะ และมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกระบวนการแปรรูปเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
  • ทำให้สภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศดีขึ้น เนื่องจากสามารถผลิตพลังงานใช้เองได้ และสามารถกระจายรายได้ไปสู่ประชากรอย่างดี
  • ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ เนื่องจากประชาชนหันมาใช้ผลผลิตจากแหล่งธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
  • ช่วยในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมลพิษต่าง ๆ เนื่องจากพลังงานจำพวกปิโตรเลียมถูกใช้น้อยลง
  • ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นจากการลดลงของผลกระทบต่าง ๆ ในการใช้พลังงาน ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้อย่างคาดไม่ถึง

Ref:

https://www.nrdc.org/stories/renewable-energy-clean-facts
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/renewable-resources/
https://www.nrcan.gc.ca/our-natural-resources/energy-sources-distribution/renewable-energy/about-renewable-energy/7295

แชร์ข่าวสารนี้:

555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร B ชั้น 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

  • อีเมล: corporate@gpscgroup.com
  • โทรศัพท์: 0 2140 4600
  • โทรสาร: 0 2140 4601
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ธุรกิจของเรา
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ข่าวและกิจกรรม
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายการใช้คุกกี้
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • Webmail
  • การจัดซื้อจัดจ้าง
  • GLOW
  • HHPC

© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

  • แผนผังเว็บไซต์
ติดตามเรา