ประกาศ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ที่ 010 / 64เรื่อง นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

กลุ่มบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (กลุ่ม GPSC) ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่(อาทิ การควบรวมกิจการ การเข้าถือสิทธิ์ และการร่วมทุน เป็นต้น) ประกอบด้วย พนักงาน ลูกค้า ชุมชน สังคม คู่ค้า และคู่ธุรกิจตลอดสายโซ่อุปทานของกลุ่ม GPSC ยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และไม่กระทำการใดที่จะก่อให้เกิดการละเมิดหรือสร้างผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งไม่ส่งเสริมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้

  1. การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน - กลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่ จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากล อันประกอบด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และปฏิญญาว่าด้วย หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) โดยมุ่งมั่นยับยั้งการบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก นอกจากนี้ยังรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองเสรีภาพในการสมาคมค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานทุกคน รวมถึงสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน
  2. การไม่เลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด - กลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่ จะต้องป้องกันและต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศรวมถึงการล่วงละเมิดอื่นๆ อย่างเคร่งครัด ตลอดจนการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านเชื้อชาติถิ่นกำเนิด ศาสนาความเชื่อเพศ สีผิว / ภาษา สถานะ.... ภาษา สถานะทางสังคม หรือความแตกต่างอื่นใด พนักงานของ GPSC จะต้องได้รับการฝึกอบรม ด้านการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดในสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจถึง กระบวนการและแนวทางป้องกันต่อเหตุการณ์การเลือกปฏิบัติ และการล่วงละเมิด
  3. การทวนสอบสถานะเพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) - ดำเนินการตามวิธีประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่ โดยจะต้องระบุ ประเมินและบรรเทาความเสี่ยง และผลกระทบ ที่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เด็ก ผู้พิการ ผู้หญิง ชนพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ แรงงานภายนอกชุมชนท้องถิ่น และอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจติดตาม และบริหารความเสี่ยงตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตน
  4. สนับสนุนและส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน - กลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่ สนับสนุนและส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเคารพและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
  5. สื่อสารเผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน - กลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนคู่ค้าและคู่ธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจที่เคารพและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
  6. สอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน กลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่เคารพ ไม่เพิกเฉยและละเลย ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อพบเห็นการกระทำที่อาจละเมิดสิทธิ มนุษยชน โดยต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือแจ้งผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ (Whistleblowing) ทั้งนี้ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องของกลุ่ม GPSC ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า และคู่ร่วมธุรกิจใหม่ต้อง รับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายฯ ฉบับนั้นโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564
(นายวรวัฒน์ พิทยศิริ)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

คุณอาจสนใจเมนูที่เกี่ยวข้องอื่นๆ