กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ
GRI 2-15, 2-23, 2-24, 3-3

แนวทางการจัดการด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจมีดังนี้:

กลยุทธ์
  • นโยบายและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Corporate Governance Manual and Code of Conduct)
  • นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-Fraud and Corruption)
  • นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบบริษัทฯ (Compliance Policy)
  • นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง (Whistleblowing and Complaints Handling Policy)
  • ระเบียบปฏิบัติงานระดับองค์กร (Corporate Procedure) : ขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • นโยบายการจัดการทรัพย์สิน การรักษาความลับ และการใช้ข้อมูลของบริษัทฯ อย่างถูกต้อง
  • นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่กระบวนการก่อการร้าย
  • แนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Management)
กระบวนการ
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร
  • แนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เรื่อง การรับ – ให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่น
  • แบบรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องและหลักเกณฑ์การรายงานฯ โดยแบ่งออกเป็น หลักเกณฑ์สำหรับการรายงานครั้งแรก การรายงานการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการมีส่วนได้เสียประจำไตรมาส และการรายงานข้อมูลที่มีส่วนได้เสียประจำปี
  • แบบรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยให้มีการจัดทำรายงานครั้งแรก (เข้าทำงาน/รับตำแหน่งครั้งแรก) / รายงานประจำปี / รายงานตามเหตุการณ์ (ถ้ามี)
  • การส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กรรมการ พนักงาน ผู้บริหาร ผู้แทนจากบริษัทในเครือฯ คู่ค้า และบุคคลภายนอกกลุ่มอื่นๆ
การจัดเก็บและรายงานผลการดำเนินงาน
  • การจัดเก็บและรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ
  • การจัดเก็บและรายงานข้อมูลการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง
  • การจัดเก็บบันทึกรายการของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน การรับ – ให้ของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด
  • การจัดเก็บและรายงานเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัทฯ
สามารถศึกษาการผลประเมินผลกระทบของประเด็นสำคัญได้ที่ Link
การกำกับดูแลด้านการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
GRI 2-24, 2-27

หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรเป็นส่วนงานที่อยู่ภายใต้ฝ่ายเลขานุการบริษัทและกำกับกิจการองค์กร ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติงานระดับองค์กร : ขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรมีหน้าที่รวบรวมและติดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ GPSC โดยพิจารณาความเกี่ยวข้องและสอดคล้องของกฎหมาย เพื่อให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยหน่วยงานจะกำกับให้มีการสอบทานประจำปี หากตรวจสอบพบความไม่สอดคล้อง จะรายงานผลความไม่สอดคล้องให้ผู้บริหารหน่วยงานรับทราบเพื่อพิจารณาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง นอกจากนี้ ผลการสอบทานทั้งหมดและผลการแก้ไขจะรายงานให้ผู้บริหารรับทราบ ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวบังคับใช้กับบุคลากรทุกคน หากพบว่ามีการไม่ปฏิบัติตามและเกิดความเสียหาย จะมีการพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับการทำงานของ GPSC

ปัจจุบันหน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรมีเครื่องมือในการสอบทานความสอดคล้องของกฎหมาย หรือ Compliance Monitoring System (CMS) โดยกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ จะขึ้นทะเบียนเข้าระบบ CMS ประกอบด้วยรายละเอียดหรือกระบวนการที่ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ กำหนด โดยสอบทานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบ CMS ว่าได้มีการดำเนินการตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว

ในปี 2566 ได้ดำเนินการต่อเนื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) และมีการติดตามการประกาศใช้กฏหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งหน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรดำเนินการสอบทานการปฏิบัติตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กับหน่วยงานทีเกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน ซึ่งผลการสอบทานคือ GPSC สามารถดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดได้ครบถ้วน รวมถึงดำเนินการขอความยินยอมสำหรับกิจกรรมการประมวลผลที่เข้าข่ายต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการติดตามกรณีมีการแจ้งเหตุละเมิดต่างๆ

นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรยังได้จัดให้มีการสื่อความผ่าน Email และการฝึกอบรมให้แก่พนักงานผ่านทาง E-learning เกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบปฏิบัติงานระดับองค์กร (Corporate Procedure) : ขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ด้วย

การดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ GPSC (Corporate Governance &Code of Conduct)
GRI 2-15, 2-24

บุคลากรทุกคนของบริษัทฯ มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ GPSC (Corporate Governance Manual and Code of Conduct) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความยั่งยืนตามแนวทางหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ซึ่งเทียบเท่ากับแนวปฏิบัติสากล บริษัทฯ ส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ โดยกำหนดให้เป็นหนึ่งในค่านิยมองค์กร คือ Integrity โดยส่งเสริมผ่านกิจกรรมและช่องทางต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ ได้กำหนดให้คณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ลงนามรับทราบในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ GPSC นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดทำรายงานเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษัทฯ ซึ่งบุคลากรของบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและรายงานทุกครั้งในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถูกระบุอยู่ในหลักจรรยาบรรณว่าด้วยการมีส่วนได้เสียและผลประโยชน์ขัดกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

พนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท เนื่องจากการปฏิบัติตามดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับการพิจารณาค่าตอบแทนพนักงาน ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน GPSC บูรณาการเข้ากับระบบการปฏิบัติตามและจรรยาบรรณผ่านการวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยระบบ Performance Management System (PMS) ดังแสดงด้านล่าง

เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วมมีประสิทธิภาพตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับต่างๆ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ บริษัทได้ออกนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและการคุ้มครอง (Whistleblowing and Complaints Handling Policy) และประกาศกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและให้การคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกลไกในการติดตามและตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน รวมถึงให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนโดยสุจริต และลงโทษทางวินัยสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม

โดยผลของการลงโทษทางวินัยสำหรับการกระทำใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามนโยบายไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่ GPSC กำหนด (Zero Tolerance Policy) หรือมีโทษตามกฎหมาย บทลงโทษสำหรับบุคลากรที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบยังรวมถึงการเลิกจ้างด้วย

การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
GRI 2-24, 2-26, 205-1, 205-2

บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจและการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ไม่ยอมรับการคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจน พร้อมร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย "Thai Private Sector Collective Action against Corruption (CAC)" นับตั้งแต่ปี 2561 นอกจากนี้ ในปี 2566 บริษัท ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาในส่วนของนิยามในนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-Fraud and Corruption Policy) และแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เรื่องการรับ-ให้ของขวัญ การเลี้ยงหรือประโยชน์อื่นใด หรือ No Gift Policy เพื่อกำหนดให้บุคลากรของบริษัทฯ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นแบบสำหรับการตรวจประเมินโดยจะยื่นแบบประเมินตนเองต่อ CAC ภายในสิ้นปี 2566 เพื่อคงไว้ซึ่งการรับรองที่ต่อเนื่อง ซึ่งการรับรองเดิมจะสิ้นสุดอายุในวันที่ 31 มีนาคม 2567 นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรยังได้จัดให้มีการอบรมเรื่องดังกล่าวแก่พนักงาน ในรูปแบบ E-learning

นอกจากนี้ ระบบการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ GPSC ยังได้รับการรับรอง/ตรวจสอบ/รับรองโดยบุคคลที่สาม (บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด) โดยมีการดำเนินการขั้นตอนการประเมินความถูกต้องของหลักการดำเนินธุรกิจของบริษัทในการต่อต้านการติดสินบน เครื่องมือในการประเมินเรียกว่าเครื่องมือประเมินตนเอง (SET) ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามประเมินตนเอง เปรียบเทียบเอกสารอ้างอิงดังกล่าวกับตัวชี้วัดหลักในตลาดหลักทรัพย์ฯ สอบถามและหารือกับทีมประสานงานของ GPSC และพัฒนารายงาน เพื่อยื่นต่อ CAC กระบวนการเหล่านี้ได้ดำเนินการร่วมกับตัวบ่งชี้หลักในแต่ละประเด็น ได้แก่ หลักการ การพัฒนาโปรแกรมสำหรับการต่อต้านการติดสินบน รูปแบบเฉพาะของการติดสินบน และข้อกำหนดในการดำเนินโครงการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก CAC กรุณาเยี่ยมชม:

กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง

GRI 2-24, 2-25, 2-26, 2-27

เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างโปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ บริษัทฯ จึงได้ออกนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครอง (Whistleblowing and Complaints Handling Policy) พร้อมประกาศกระบวนการในการรับเรื่องร้องเรียนและการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง พร้อมกลไกในการติดตามและตรวจสอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมไปถึงให้คุ้มครองแก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนด้วยความสุจริต (https://www.gpscgroup.com/th/cg/whistle-blowing-measures)

ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistleblowing) เกี่ยวกับการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรยังได้จัดให้มีการอบรมเรื่องดังกล่าวแก่พนักงานใหม่ทุกคนผ่านการปฐมนิเทศ

การส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

GRI 2-26, 205-2

บริษัทฯ ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้และจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบ ตระหนักเข้าใจในหลักการจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรมสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินธุรกิจ ในปี 2566 จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

กิจกรรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เพื่อสื่อสารความรู้ ความเข้าใจในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

ประชาสัมพันธ์จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของ GPSC และแนวปฏิบัติที่ดีผ่านช่องทางสื่อสารภายในบริษัทแก่บุคลากรของบริษัทในหัวข้อต่างๆดังนี้

  1. การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
  2. การปฏิบัติต่อลูกค้าและผู้บริโภค

นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับกฎหมายและกฎระเบียบองค์กรยังได้จัดให้มีการอบรมเรื่องดังกล่าวแก่พนักงาน ในรูปแบบ E-learning

กิจกรรม PTT Group CG Day 2023 ภายใต้แนวคิด "Good to Great : CG Empowering for the Future" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566

กิจกรรม GPSC KM Day โดยร่วมออกบู๊ทให้ความรู้แก่ผู้บริหารและพนักงาน เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 66

กิจกรรม GPSC Supplier Day ซึ่งเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของบริษัท และนโยบายการร้องเรียน รวมถึงช่องทางการร้องเรียนของบริษัท ต่อคู่ค้าเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 66

ประชาสัมพันธ์การไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) ให้กับบุคลากร GPSC และบุคคลภายนอก

ปรับปรุง ณ เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2567

เนื้อหาข้างต้นจัดทำตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน โดย The Global Reporting Initiative (GRI Standards) ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานภายนอกและให้ความเชื่อมั่นข้อมูลการรายงานในระดับจำกัด (Limited Assurance)